รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
1 มิถุนายน 2563
ข่าวเด่น
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผนึกกำลังพันธมิตรปูพรมตรวจภูมิคุ้มกันก่อนคลายล็อกให้ชาวปัตตานีนับหมื่นด้วยชุดตรวจว่องไว ยก “ปัตตานีโมเดล” ต้นแบบจัดการชุมชนควบคุม โควิด-19 หนุนรัฐทำ Big Data รับมือระยะยาว
งานแถลงข่าว “จุฬาฯ ผนึกกำลังพันธมิตรเปิดตัว “ปัตตานีโมเดล” นวัตกรรมเสริมความมั่นใจให้ชีวิตวิถีใหม่ในยุคโควิด-19” จัดขึ้นเมื่อวันจันทร์ที่ 1 มิถุนายน 2563 ที่สมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ (สนจ.) โดยมี ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ ผู้รักษาการแทนอธิการบดีจุฬาฯ นายไกรศร วิศิษฎ์วงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี ศ.นพ.ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล ผู้รักษาการแทนรองอธิการบดีจุฬาฯ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ นพ.วิพุธ พูลเจริญ เลขาธิการมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนานโยบาย นพ.ชัยรัตน์ ลำโป นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดปัตตานี นพ.อุดมเกียรติ พูลสวัสดิ์ นายแพทย์เชี่ยวชาญ ด้านเวชกรรมป้องกัน และ นพ.อรัญ รอกา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลทุ่งยางแดง ร่วมในงานแถลงข่าวครั้งนี้
ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ ผู้รักษาการแทนอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า “ปัตตานีโมเดลเป็นโครงการที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและจังหวัดปัตตานีร่วมกันพัฒนาขึ้น เรียนรู้จากงานระบาดวิทยาชุมชนของปัตตานีในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา โดยใช้นวัตกรรมชุดตรวจแบบว่องไว Baiya Rapid Covid-19 IgM IgG Test Kit ผลงานของคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ และบริษัทสตาร์ทอัพ จุฬาฯ ‘ใบยา ไฟโตฟาร์ม’ นำร่องตรวจภูมิคุ้มกันให้ชาวปัตตานีเป้าหมายจำนวนหมื่นรายก่อนเปิดเมือง เพื่อเก็บข้อมูลจัดทำระบบ Big Data ระดับชุมชน นำมาใช้วางแนวทางสร้างนวัตกรรมเชิงป้องกันให้คนไทยตรวจ ทั้งประเทศเพื่อให้ทราบสภาวะการติดเชื้อโควิด-19 รองรับการระบาดระลอกต่อไปที่อาจเกิดขึ้นได้ทัน และเป็นข้อมูลในระยะยาวให้รัฐใช้วางแนวทางการบริหารจัดการ เช่น กลุ่มใดควรได้รับวัคซีนก่อน กลุ่มใดควรได้รับวัคซีนเป็นกลุ่มต่อมา กลุ่มใดมีภูมิแล้ว กลุ่มใดควรตรวจก่อน ซึ่งถือเป็นการนำนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้สู้กับวิกฤติโควิด-19 มาต่อยอดให้เกิดประโยชน์กับคนไทย ตามวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ที่จุฬาฯ พร้อมเป็นมหาวิทยาลัยแห่งชาติในระดับโลกที่สร้างสรรค์องค์ความรู้และนวัตกรรม เพื่อสร้างเสริมสังคมไทยสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน
“ชุดตรวจ Baiya Rapid COVID-19 Test เป็นการตรวจภูมิคุ้มกันในร่างกายจากผลเลือด เป็นการนำชุดทดสอบนี้ไปรับใช้สังคมที่จังหวัดปัตตานีซึ่งเป็นจังหวัดที่มีการเดินทางเข้าออกจากประเทศเพื่อนบ้าน รวมถึงมีผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด-19 ทางคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ จึงได้ประสานงานกับผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี และสาธารณสุขจังหวัดปัตตานีในการตรวจคัดกรองผู้ป่วยจนได้ผลเป็นที่น่าพอใจทำให้ในวันนี้ปัตตานีไม่มีผู้ป่วยโควิด-19 รายใหม่กว่า 40 วันแล้ว แสดงให้เห็นว่าการรับมือโควิด-19 อย่างเป็นระบบ มีข้อมูลชุดความรู้ที่ชัดเจน โมเดลจากปัตตานีสามารถขยายผลสู่จังหวัดอื่นๆ ที่มีความพร้อมหากมีการระบาดของโควิด-19 ในระลอกต่อไป เพื่อให้ประชาชนกลับมาดำเนินชีวิตตามปกติได้เร็วที่สุด” ศ.ดร.บัณฑิต กล่าว
นายไกรศร วิศิษฎ์วงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี กล่าวว่า ปัตตานีวางระบบคัดกรอง ค้นหาผู้ป่วยและกักกันที่เข้มข้น นับว่าครอบคลุมที่สุดจังหวัดหนึ่งในประเทศไทย เนื่องจากพื้นที่ของเรามีความเสี่ยงสูง มีการเดินทางเข้า-ออกจากต่างประเทศทั้งอินโดนีเซียและมาเลเซีย ทำให้ที่ผ่านมาเรามีจำนวนผู้ติดเชื้อยืนยัน 92 ราย เสียชีวิต 1 ราย เราจึงออกนโยบายค้นหาผู้ป่วยเชิงรุกในชุมชนแบบเข้มข้น เอ็กซเรย์เต็มพื้นที่เสี่ยง และมีความพยายามแสวงหาวิธีการทางห้องปฏิบัติการที่ยืนยันผลในการคัดกรองคนจำนวนมาก ภายใต้ความคุ้มค่า ประหยัด และปลอดภัย จึงได้ประสานงานกับจุฬาฯ ขอใช้นวัตกรรมชุดตรวจว่องไวนี้นำมาใช้ตรวจร่วมกับ RT-PCR คัดกรองผู้ป่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการหาภูมิคุ้มกันในชุมชนเพื่อช่วยเหลือประชาชนให้ผ่านวิกฤติครั้งนี้ได้อย่างปลอดภัย รวดเร็ว และมีหลักฐานทางชีวภาพ จากปัตตานีโมเดลจะทำให้เราได้รูปแบบการดูแลชุมชนให้อยู่ร่วมกับโควิด-19 ได้อย่างมั่นใจ และจะขยายผลไปยังชุมชนอื่น ๆ ในจังหวัดของเราต่อไป
ศ.นพ.ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล ผู้รักษาการรองอธิการบดีจุฬาฯ กล่าวว่า ปัตตานีโมเดล เป็นการพัฒนานวัตกรรมการจัดการความไม่แน่นอน (Uncertainty Management) อันเกิดจากโรคระบาด โควิด-19 แห่งแรกในประเทศไทยที่เป็นระบบ ผลการศึกษาที่ได้จากปัตตานีโมเดลทำให้เราสามารถใช้ Rapid Test เสริมความมั่นใจในช่วงที่สังคมยังมีความไม่แน่นอน ควบคู่ไปกับ RT-PCR ได้ โดยเฉพาะกับการคัดกรองผู้ที่เดินทางเข้ามาจากต่างประเทศที่มีความเสี่ยงสูง นอกจากนี้ Rapid Test ยังช่วยลดระยะเวลากักตัวใน Local Quarantine จากเดิม 14 วัน ให้สามารถกลับไปกักตัวที่บ้านได้เร็วขึ้น เป็นการ ลดภาระงานให้กับเจ้าหน้าที่และบุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องปฏิบัติหน้าที่ใน Local Quarantine เพื่อเสริมความมั่นใจให้กระบวนการการทำงานของผู้ปฏิบัติงานที่เป็นด่านหน้ารับกลุ่มเสี่ยงที่เดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทย
“จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยินดีที่จะขยายผลจากโครงการปัตตานีโมเดลสู่จังหวัดอื่นๆ ที่มีความพร้อม ซึ่งเริ่มมีหลายพื้นที่ติดต่อเข้ามา เช่น ที่ จ.สุรินทร์ ซึ่งเป็นพื้นที่ชายขอบประเทศไทย-กัมพูชา รวมถึงที่ จ.สตูล และภูเก็ต โดยจะต้องมีการหารือเตรียมความพร้อมเพื่อให้เป็นระบบที่นำไปใช้ประโยชน์อย่างแท้จริง” ศ.นพ.ดร.นรินทร์ กล่าวในที่สุด
เชิญชวนนิสิตร่วมโครงการประเมินผลการเรียนการสอนออนไลน์ผ่านระบบ myCourseVille
อาจารย์และนิสิตสถาปัตย์ จุฬาฯ ร่วม Workshop กับอาจารย์และนักศึกษา Tokyo Metropolitan University ที่ญี่ปุ่น
อาจารย์และนิสิตภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วม Workshop กับอาจารย์และนักศึกษาจาก Faculty of Urban Environmental Sciences, Tokyo Metropolitan University ประเทศญี่ปุ่น (TMU)
จุฬาฯ ร่วมพิธีวางพวงมาลาถวายสักการะและจัดพิธีบำเพ็ญกุศลอุทิศถวายพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรเนื่องใน “วันนวมินทรมหาราช”
ละครนิเทศจุฬาฯ 2567 “ด้ายแดงเป็นเหตุ Unfortunate Love”
24 - 26 มกราคม 2568
ณ โรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศ ชั้น 7 อาคารสยามสแควร์
จุฬาฯ ต้อนรับคณะศึกษาดูงานด้านการบริหารความเสี่ยงจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แบ่งปันประสบการณ์การพัฒนาระบบบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัย
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ จัดอบรมเรื่อง “กัญชาทางการแพทย์: ความรู้ที่ต้องมีสำหรับเภสัชกรยุคใหม่”
11 ธ.ค. 67 เวลา 09.00 – 12.15 น.
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ และ Zoom
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้