รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
27 มีนาคม 2563
ข่าวเด่น
สื่อชั้นนำอย่าง Los Angeles Times รายงานข่าวชื่นชมการทำงานของกลุ่มอาสาสมัครศิลปะบำบัด จากคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ นำโดย ศาสตราจารย์ ดร.บุษกร บิณฑสันต์ คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ที่เดินทางไปทำกิจกรรมเยียวยารักษาจิตใจให้ผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์กราดยิงในห้างสรรพสินค้า จ.นครราชสีมา ด้วยศิลปะบำบัด
แม้ว่าคนไทยจะเคยผ่านเหตุการณ์รัฐประหาร การประท้วง และภัยพิบัติทางธรรมชาติต่าง ๆ แต่ไม่เคยพบเหตุการณ์กราดยิงอย่างอุกอาจในห้างสรรพสินค้าอย่างที่เกิดขึ้นใน จ.นครราชสีมา มาก่อน รวมไปถึงภาพเหตุการณ์ต่าง ๆ การที่ผู้ก่อเหตุออกมาพูดถ่ายทอดสดหลังก่อเหตุ ปรากฎบนสื่อโซเชียล และสื่อมวลชนมากมายต่างกระหายไปทำข่าว แต่ภายหลังจากเหตุการณ์กราดยิง กลับไม่มีการพูดถึงเรื่องการดูแลสภาพจิตใจของผู้รอดชีวิตในเหตุการณ์ครั้งนั้น ซึ่งสิ่งนี้ยังเป็นเรื่องใหม่ของคนไทย
สื่อชั้นนำของต่างประเทศอย่าง Los Angeles Times รายงานข่าวว่า กลุ่มอาสาสมัครที่ศึกษาเกี่ยวกับศิลปะบำบัด จากคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ได้เดินทางเข้าไปพูดคุยทำกิจกรรมเยียวยาสภาพจิตใจให้ผู้รอดชีวิต ในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา รวมระยะเวลา 2 วัน ซึ่งมีผู้สนใจหลายสิบคนเข้าร่วมทำกิจกรรมวาดภาพ และดนตรีบำบัด ด้วยการตีกลอง
“ตอนแรกเราคิดว่า คนอื่นจะพูดว่า มันแปลกนะ แต่กลับมีคนสนใจมาเข้าร่วมมากมายจนเราต้องทำงานเป็นสองเท่า” ศาสตราจารย์ ดร.บุษกร บิณฑสันต์ คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ผู้นำจัดกิจกรรมกล่าว
จากการทำกิจกรรมดังกล่าวพบว่า ผู้รอดชีวิตพยายามจะเพิกเฉยกับอาการความรู้สึกที่เกิดขึ้น ไม่แสดงความรู้สึกออกมา โดยคิดว่ามันเป็นแค่ฝันร้าย ซึ่งคงจะหายไปสักวัน และพวกเขาก็ไม่รู้วิธีการรับมือกับอารมณ์ความรู้สึกที่เข้ามากระทบกระเทือนจิตใจ จนอาจทำให้กลายเป็นรอยแผลในจิตใจ ดังนั้น การที่พวกเขามาร่วมพูดคุยทำกิจกรรม พวกเขาจะได้รับความช่วยเหลือ ได้แสดงออกถึงความรู้สึก โดยไม่ต้องเก็บเอาไว้คนเดียว
ศาสตราจารย์ ดร.บุษกร เป็นที่รู้จักในฐานะนักดนตรีบำบัดและได้ทำงานร่วมกับ ศาสตราจารย์ ราเชล เลฟ วีเซล มหาวิทยาลัยไฮฟา เพื่อจัดทำหลักสูตรอบรมศิลปะบำบัดและตีพิมพ์เผยแพร่งานวิจัย ในปีหน้านี้ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จะเปิดหลักสูตรปริญญาโททางด้านศิลปะบำบัด ซึ่งเป็นหลักสูตรปริญญาโทหลักสูตรแรกในประเทศไทย
ขอบคุณภาพและข่าวจาก https://www.latimes.com/world-nation/story/2020-03-16/mass-shooting-thailand-therapy
เชิญชวนนิสิตร่วมโครงการประเมินผลการเรียนการสอนออนไลน์ผ่านระบบ myCourseVille
อาจารย์และนิสิตสถาปัตย์ จุฬาฯ ร่วม Workshop กับอาจารย์และนักศึกษา Tokyo Metropolitan University ที่ญี่ปุ่น
อาจารย์และนิสิตภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วม Workshop กับอาจารย์และนักศึกษาจาก Faculty of Urban Environmental Sciences, Tokyo Metropolitan University ประเทศญี่ปุ่น (TMU)
จุฬาฯ ร่วมพิธีวางพวงมาลาถวายสักการะและจัดพิธีบำเพ็ญกุศลอุทิศถวายพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรเนื่องใน “วันนวมินทรมหาราช”
ละครนิเทศจุฬาฯ 2567 “ด้ายแดงเป็นเหตุ Unfortunate Love”
24 - 26 มกราคม 2568
ณ โรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศ ชั้น 7 อาคารสยามสแควร์
จุฬาฯ ต้อนรับคณะศึกษาดูงานด้านการบริหารความเสี่ยงจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แบ่งปันประสบการณ์การพัฒนาระบบบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัย
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ จัดอบรมเรื่อง “กัญชาทางการแพทย์: ความรู้ที่ต้องมีสำหรับเภสัชกรยุคใหม่”
11 ธ.ค. 67 เวลา 09.00 – 12.15 น.
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ และ Zoom
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้