รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
15 มิถุนายน 2563
ข่าวเด่น
ผศ.นพ.สมเกียรติ แสงวัฒนาโรจน์ หัวหน้าสาขาวิชาโรคหัวใจและหลอดเลือด ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวถึงความเสี่ยงของผู้สูงอายุและคนอ้วนกับโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ว่า ผู้สูงอายุวัย 65 ขึ้นไปจะมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 มากขึ้น รวมถึงผู้ที่โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคอ้วน โรคหัวใจ หลอดเลือด หรือแม้แต่โรคมะเร็ง และคนที่กินยากดภูมิก็มีโอกาสติดเชื้อโควิด-19ได้ง่าย ซึ่งเมื่อติดเชื้อแล้วจะทำให้โรคมีความรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ง่าย
จากการศึกษาของประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่า ในผู้สูงอายุที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญในการติดเชื้อโควิด-19 เกี่ยวข้องกับโรคความดันโลหิตสูง รองลงมาเป็นโรคหัวใจหลอดเลือด ส่วนความอ้วนเป็นสาเหตุอันดับ 3 แต่ในกลุ่มที่อยู่วัยทำงาน อายุระหว่าง 18 – 49 ปี โรคอ้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงอันดับ 1 ผู้ที่มีดัชนีมวลกายมากกว่า 30 ขึ้นไป โดยเฉพาะคนที่มีอายุน้อยกว่า 60 ปี มีโอกาสที่จะป่วยเพิ่มมากขึ้น 2 – 3 เท่า นอกจากนี้ผลการศึกษาของชาวเมืองนิวยอร์คกว่า 7,000 คน พบว่าคนอ้วนป่วยเป็นโควิด-19 ถึง 40% และเป็นโรคเบาหวาน 34% ส่วนที่ประเทศจีน โดยเฉพาะคนที่เป็นโรคหัวใจอยู่แล้ว และมีดัชนีมวลกายมากกว่า 25 มีโอกาสเสียชีวิต 88% แต่ถ้าดัชนีมวลกายไม่ถึง 25 มีโอกาสเสียชีวิตแค่ 12% โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่ติดเชื้อโควิด-19 แล้วตรวจพบว่ามีไขมันพอกตับด้วยก็จะยิ่งเพิ่มโอกาสความรุนแรงของโรคได้มากขึ้น
ผศ.นพ.สมเกียรติ กล่าวต่อไปว่า คนอ้วนเมื่อได้รับเชื้อโควิด -19 เชื้อจะเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ ทำให้เกิดการอักเสบขึ้นในร่างกาย ซึ่งในคนอ้วน เซลล์ไขมันในร่างกายจะมีตัวรับเชื้อโควิด-19 มากกว่าในปอด นอกจากนี้ความอ้วนถือเป็นการอักเสบเรื้อรัง หากเกิดการอักเสบเฉียบพลันจากโควิด-19 หรือปอดอักเสบก็จะรุนแรงกว่าคนอื่น ซึ่งเกี่ยวพันกับการเป็นโรคเบาหวาน ความดัน และหัวใจด้วย
“ถ้ามีทั้งโรคอ้วนและเบาหวาน ความเสี่ยงก็จะเพิ่มมากขึ้น ส่วนความดันโลหิตสูงกับเบาหวานมีความสัมพันธ์กันทำให้เกิดปอดอักเสบรุนแรงจากโควิด-19 ได้ถึง 1.8 – 2.3 เท่า เชื้อโควิดจะเป็นตัวกระตุ้นให้การอักเสบรุนแรงมากขึ้นจนลามไปยังอวัยวะต่างๆ เช่น ไตวาย หัวใจล้มเหลว ปอดล้มเหลว และสุดท้ายอาจทำให้เสียชีวิตได้” ผศ.นพ.สมเกียรติ กล่าว
ผศ.นพ.สมเกียรติ แนะนำในเรื่องภาวะโรคอ้วนว่าให้คำนวณจากดัชนีมวลกาย โดยการเอาส่วนสูงเป็นเมตรยกกำลังสอง x 25 ตัวเลขที่ออกมาจะเป็นน้ำหนัก ถ้าเกิน 25 กก./ตรม. ถือว่าอ้วน หรือใช้สายวัดรอบเอวตรงสะดือ หายใจตามปกติ ถ้าเกิน 85 เซนติเมตรในผู้หญิง หรือเกิน 90 เซนติเมตรในผู้ชาย ก็ถือว่าอ้วน ซึ่งอาจส่งผลต่อการติดเชื้อและเพิ่มความรุนแรงของโรคโควิด-19 ได้ โดยเฉพาะในรายที่มีไขมันพอกตับร่วมด้วย อย่างไรก็ตาม หากรู้ว่าอ้วนแล้วขอแนะนำว่าอย่าเพิ่งรีบไปออกกำลังกายแบบหนักๆ ควรเริ่มจากการเดินก่อน ไม่ต้องเดินเร็ว จะช่วยให้ภูมิต้านทานโรคต่างๆ จะดีขึ้นและช่วยคลายเครียด อีกส่วนหนึ่งคือ การเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น พริกซึ่งมีสารช่วยป้องกันการอักเสบ ผักผลไม้ ปลา ถั่วงา การอดอาหารโดยเฉพาะมื้อเย็นช่วยทำให้ภูมิต้านทานของเราดีขึ้น ตามสูตรที่ว่า “2 มื้อ หมื่นก้าว ซาวน่า เจริญเมตตา สมาธิ” เป็นการดูแลทั้งกายและใจป้องกันได้ทั้งโรคโควิด -19 รวมถึงเบาหวาน ความดัน หัวใจ ไขมัน
ละครนิเทศจุฬาฯ 2567 “ด้ายแดงเป็นเหตุ Unfortunate Love”
24 - 26 มกราคม 2568
ณ โรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศ ชั้น 7 อาคารสยามสแควร์
จุฬาฯ ต้อนรับคณะศึกษาดูงานด้านการบริหารความเสี่ยงจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แบ่งปันประสบการณ์การพัฒนาระบบบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัย
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ จัดอบรมเรื่อง “กัญชาทางการแพทย์: ความรู้ที่ต้องมีสำหรับเภสัชกรยุคใหม่”
11 ธ.ค. 67 เวลา 09.00 – 12.15 น.
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ และ Zoom
คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดอบรมโครงการ “Next-Gen Arts: พัฒนาศักยภาพครูศิลปะด้วย Soft Power”
นิสิตเก่าจุฬาฯ พัฒนาโฟมล้างมือแบบเม็ดฟู่ “Fongdoo” ลดขยะพลาสติก ภายใต้การสนับสนุนของ CU Innovation Hub
วิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดเสวนา “เข้าใจน้ำท่วม แนวคิดวิศวกร” เผยแพร่องค์ความรู้ใหม่รับมืออุทกภัยในอนาคต
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้