ข่าวสารจุฬาฯ

คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ แนะตระหนักอย่าตระหนก กับโรค Echinococosis ที่มีสาเหตุจากพยาธิในสุนัข

จากข่าวที่ปรากกฎในสื่อสังคมออนไลน์ รายงานว่ามีผู้ป่วยเป็นโรค Echinococosis จนสร้างความตื่นตระหนกในหมู่ผู้เลี้ยงสุนัขนั้น คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย รศ.น.สพ.ดร. ปิยนันท์ ทวีถาวรสวัสดิ์ หน่วยปรสิตวิทยา ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้ชี้แจงและให้คำแนะนำเบื้องต้นเกี่ยวกับโรค Echinococosis ว่า มีสาเหตุมาจากพยาธิตืด Echinococcus granulosus พบได้ทั่วโลก เช่น ในทวีปแอฟริกา ยุโรป เอเชีย ตะวันออกกลาง อเมริกากลาง และอเมริกาใต้ แต่พบได้น้อยในทวีปอเมริกาเหนือ ซึ่งรายงานส่วนใหญ่ในปัจจุบันจะพบในต่างประเทศ ส่วนในประเทศไทยยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจน ซึ่งพยาธิชนิดนี้มีสุนัขเป็นโฮสต์สุดท้าย และมีสัตว์เคี้ยวเอื้องขนาดเล็ก เช่น แพะ แกะ เป็นโฮสต์กึ่งกลาง

อ้างอิงจาก https://www.cdc.gov/parasites/echinococcosis/biology.html

เมื่อพยาธิตัวเต็มวัยที่อาศัยอยู่ในลำไส้เล็กของสุนัขซึ่งเป็นโฮสต์แท้ ปล่อยปล้องสุกปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม ไข่จะบรรจุอยู่ภายในของปล้องสุกซึ่งจะปะปนอยู่ในอุจจาระสุนัข เมื่อโฮสต์กึ่งกลางได้รับไข่ที่มีตัวอ่อนระยะที่ 1 เข้าไปโดยการกิน ตัวอ่อนจะเคลื่อนที่ไปตามกระแสเลือดไปยังอวัยวะต่างๆ โดยเฉพาะที่ตับและปอด และมีการพัฒนาไปเป็นตัวอ่อนระยะที่ 2 ที่เรียกว่า Echinococcus cyst ซึ่งเป็นตัวอ่อนระยะติดต่อ เมื่อสุนัขได้รับตัวอ่อนระยะที่ 2 นี้เข้าไปจะสามารถเจริญเติบโตเป็นตัวตัวเต็มวัยที่ลำไส้เล็ก เป็นการครบวงจรชีวิตของพยาธิชนิดนี้ ใช้ระยะเวลาประมาณ 6-8 สัปดาห์

สำหรับในคนมีโอกาสติดโดยการกินไข่พยาธิที่ปนเปื้อนออกมากับอุจจาระสุนัข และตัวอ่อนจะเคลื่อนที่ไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายผ่านระบบหมุนเวียนโลหิตไปยังอวัยวะภายในส่วนต่างๆ เช่น ปอด ตับ เป็นต้น และพัฒนาไปเป็นตัวอ่อนระยะที่ 2 ซึ่งมีลักษณะเป็นถุงน้ำขนาดใหญ่ภายในมีตัวอ่อนอยู่ภายใน

ดังนั้นจากวงจรชีวิตที่ได้กล่าวไปแล้วโอกาสที่สุนัขจะติดพยาธิตืด  Echinococcus จึงเป็นไปค่อนข้างยากสำหรับการเลี้ยงสัตว์เลี้ยงในประเทศไทย ซึ่งไม่เหมือนกับพยาธิตืดหมัด ( Dipylidium caninum) ที่มีหมัดเป็นโฮสต์กึ่งกลาง จึงมีโอกาสติดพยาธิตืดชนิดนี้มากกว่า

การรักษาและป้องกัน

  • ใช้ยาถ่ายพยาธิ Praziquantel รับประทานขนาด 5 mg/kg มีประสิทธิภาพสูงในการกำจัดตัวเต็มวัยที่เกาะอยู่ในผนังของลำไส้เล็กในสุนัข
  • ควรสวมถุงมือในการเก็บอุจจาระสุนัขและควรล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง
  • ควรมีการถ่ายพยาธิให้สุนัขอย่างสม่ำเสมอ เพราะโรคพยาธิในระบบทางเดินอาหารไม่ได้มีเฉพาะพยาธิตืด แต่ยังมีพยาธิปากขอ พยาธิแส้ม้า ซึ่งอาจจะทำให้สัตว์เลี้ยงของเราสุขภาพไม่สมบูรณ์ แข็งแรงได้ รวมไปถึงยังช่วยลดโอกาสการติดโรคสัตว์สู่คนที่มาจากสัตว์เลี้ยงของเราได้

ข้อมูลเพิ่มเติม: https://www.facebook.com/vetchulalongkorn/

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า