รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
24 มิถุนายน 2563
ข่าวเด่น
จากงาน Redesigned Symposium เวทีการนำเสนอและแลกเปลี่ยนบทเรียนการทำงานของครู คณาจารย์ และนักการศึกษาในเครือข่าย Thai Civic education ในหัวข้อ “ครูผู้สร้างพลเมืองกับการออกแบบและจัดการเรียนรู้ใหม่ในสถานการณ์ COVID-19″ ซึ่งศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับโครงการ Learning Redesigned in the New Normal และเครือข่าย Thai Civic Education จัดขึ้นเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2563 มีงานเสวนาย่อย 3 หัวข้อ โดยคุณวรเชษฐ แซ่เจีย ผู้ช่วยวิจัยประจำศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ ได้สรุปสาระสำคัญของงานเสวนาดังนี้
– Remote and Online Learning ออนไลน์? ทางไกล? ไหวไม่ไหว ยังไงต้องไหวคุณครู 7 ท่านจาก 6 โรงเรียน และหลากหลายภูมิภาคได้แลกเปลี่ยนแนวทางการจัดการเรียนรู้ทางออนไลน์ทั้งในระหว่างการทดลองเรียนทางไกลช่วง 6 สัปดาห์ที่ผ่านมา และการวางแผนเตรียมการจัดการเรียนรู้ช่วงเปิดเรียน พบว่าทุกโรงเรียนจะเริ่มต้นด้วยการสำรวจข้อมูลความพร้อมของทางบ้านก่อน จากนั้นจึงมีการทบทวนแนวการจัดการเรียนรู้ ออกแบบการเรียนรู้ใหม่ที่สามารถส่งเสริมการเรียนตนเอง และการสร้างปฏิสัมพันธ์แบบช่องทางออนไลน์ โดยตัดสินใจเลือกแพลตฟอร์มที่ตอบโจทย์บริบทของผู้เรียน และเลือกเครื่องมือสนับสนุนการเรียนรู้ผ่านโลกออนไลน์ที่เหมาะสมกับบทเรียนที่ออกแบบใหม่ และเมื่อโรงเรียนจะเปิดเรียนในภาคเรียนที่ 1 ในเดือนกรกฎาคมนี้ ก็ได้มีแผนการดำเนินงานรองรับไว้แล้ว โดยบางโรงเรียนจัดให้เรียนแบบสลับวันประกอบการการจัดตารางเรียนแบบเหลื่อมเวลา บางโรงเรียนก็จัดให้เรียนแบบสลับเวลา รวมถึงการวางแผนการสนับสนุนการสอนด้วยการจับบัดดี้ครูช่วยกันสอน โดยแผนงานทั้งหมดคำนึงถึงข้อจำกัดด้านสาธารณสุขและข้อมูลความพร้อมของนักเรียนทุกคนแล้ว
– Learning Package for Offline Mode ถึงมือ ถึงบ้าน ใบงานและชุดการเรียนรู้ด้วยตนเองยังมีโรงเรียนในอีกหลายบริบทที่ไม่พร้อมที่จะเรียนออนไลน์แบบเต็มรูปแบบ คุณครูและศึกษานิเทศก์ได้บอกเล่าถึงความท้าทายของการจัดการเรียนรู้ทางไกลในช่วงที่ผ่านมาในบริบทสังคมที่แตกต่างกัน ทั้งเศรษฐสถานะ ความพร้อมในการเรียนรู้ ความคิดความเชื่อที่มีต่อการศึกษา เป็นต้น ทำให้ครูต้องปรับตัวและออกแบบการเรียนรู้ออฟไลน์ ในลักษณะใบงาน และชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยสำรวจ ออกแบบ และนำส่งถึงมือผู้เรียน โดยคำนึงถึงกิจกรรมที่หลากหลายและเหมาะสมกับระดับความสามารถตามช่วงวัย ความพร้อมของนักเรียน และผู้ปกครองในการสนับสนุนผู้เรียนเป็นรายบุคคล นอกจากครูยังมีบทบาทในการเป็นสื่อกลางสร้างความเข้มแข็งของความร่วมมือกับระหว่างโรงเรียน ชุมชน และครอบครัวที่มุ่งมั่นที่จะสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียนทุกคน
– Adapt, Connect and Collaborate บทบาทใหม่ของคณาจารย์มหาวิทยาลัยในภาวะ New Normalไม่เพียงแต่การศึกษาขั้นพื้นฐานในโรงเรียนเท่านั้น แม้แต่การศึกษาในระดับอุดมศึกษาก็ได้รับผลกระทบจากการต้องย้ายการเรียนรู้แทบทั้งหมดขึ้นไปอยู่บนแพลตฟอร์มออนไลน์และช่องทางสื่อสารทางไกลเช่นกัน โดยคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีและวิทยาเขตหาดใหญ่ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี และมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ได้มาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างกะทันหัน การวางแผนการจัดการเรียนรู้ในปีการศึกษาใหม่ท่ามกลางแนววิถีใหม่ การเตรียมความพร้อมให้นิสิตที่จะฝึกสอนและนิสิตที่เข้าโครงการครูคืนถิ่น นอกจากนี้ ยังมีการบอกเล่าประสบการณ์การทำงานกับชุมชนทั้งในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของวิชาเรียน และกิจกรรมที่จัดให้นักศึกษาเป็นอาสาสมัครการศึกษา เพื่อช่วยเหลือการเรียนรู้ทางไกลของเด็กในชุมชนใกล้บ้านด้วย
ในช่วงท้ายมีข้อคำถามชวนคิดที่น่าสนใจจากผู้เข้าร่วมงานถึงบทบาทของกระทรวงศึกษาธิการในการช่วยเหลือคุณครู เช่น อยากให้บุคลากรทางการศึกษาในทุกภาคส่วนมีอิสระในการออกแบบการบริหารจัดการมากขึ้นและไม่ถูกจำกัดด้วยระเบียบที่เกินจำเป็น ส่วนกลางไม่ควรมุ่งเน้นข้อมูลที่สะท้อนภาพความสำเร็จของมาตรการหรือการจัดการของโรงเรียน แต่ควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาแนวปฏิบัติที่จะช่วยเหลือนักเรียนได้อย่างรอบด้าน
ผู้สนใจติดตามข้อมูลโดยละเอียดจากการนำเสนอและเสวนาในแต่ละหัวข้อได้ตลอดทั้งสัปดาห์นี้ และชมวิดีโอบันทึกการถ่ายทอดสดได้ที่
(https://www.facebook.com/watch/live/?v=326336305025855&ref=watch_permalink)
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์พระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตจุฬาฯ ปีการศึกษา 2566 เป็นวันที่สอง
การประชุมวิชาการ “พระเสด็จโดยแดนชล” วัฒนธรรมเห่เรือในวรรณคดีและศิลปกรรมไทย และพิธีมอบรางวัลการประกวดบทร้อยกรองประเภทกาพย์เห่ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 72 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
อาสาสมัครกาชาดจากจุฬาฯ ร่วมกิจกรรมช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์
ความประทับใจของบัณฑิตจุฬาฯ ในรั้วจามจุรี และพิธีพระราชทานปริญญาบัตรที่ภาคภูมิใจ
นิสิตคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมแสดงผลงานแฟชั่นและสิ่งทอในงาน centralwOrld Thailand Graduate Fashion Week 2024
วิศวฯ จุฬาฯ เชิญร่วมบริจาคโลหิตถวายเป็นพระราชกุศลเนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 72 พรรษา
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้