ข่าวสารจุฬาฯ

“SmartUHealth” แอปพลิเคชันประเมินการใช้งานสมาร์ทโฟน ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ

ในโลกยุคดิจิทัลที่การเชื่อมโยงกับเทคโนโลยีที่ทันสมัยและเข้าถึง Social Media เป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวัน การพบปะพูดคุยสื่อสารกันผ่าน Smartphone, Tablet, PC และ Laptop กลายเป็นส่วนสำคัญในชีวิตที่หลายคนไม่อาจปฏิเสธได้ ซึ่งการใช้อุปกรณ์ต่างๆ เหล่านี้อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยที่เราไม่รู้ตัว หากคุณเป็นผู้หนึ่งที่ต้องการทราบถึงผลกระทบจากการใช้งานสมาร์ทโฟนต่อสุขภาพของคุณ  SmartUHealth แอปพลิเคชันประเมินความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตนในการใช้งานสมาร์ทโฟนที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพสามารถช่วยคุณได้

รศ.ดร.วัฒนสิทธิ์ ศิริวงศ์ รองคณบดีวิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาฯ เปิดเผยถึงที่มาของการพัฒนาแอปพลิเคชัน SmartUHealth (Smart User Health) ว่า ปัจจุบันจำนวนผู้ใช้งานสมาร์ทโฟนในประเทศไทยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะคนในกลุ่มอายุ 18 – 24 ปี เป็นกลุ่มที่ใช้งานสมาร์ทโฟนมากที่สุด โดยเฉลี่ยใช้งานสมาร์ทโฟน  6 ชั่วโมงต่อวัน จากการสำรวจผลกระทบของสมาร์ทโฟนต่อสุขภาพ ในกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนิสิต นักศึกษา ระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด อายุ 18 -24 ปี จำนวน 500 คน ด้วยการส่งแบบสอบถามและลงพื้นที่สัมภาษณ์ด้วยตัวเอง ผลที่ได้น่ากังวลและห่วงใยว่าผู้ใช้งานสมาร์ทโฟนมีความเสี่ยงต่อสุขภาพที่เกิดจากการใช้งานเป็นจำนวนมาก ดังนั้นการพัฒนาแอปพลิเคชัน SmartUHealth จะช่วยตอบโจทย์ผู้ใช้งานสมาร์ทโฟนให้เข้าถึงการประเมินความเสี่ยงสุขภาพของตนเองได้ง่ายขึ้น ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถประเมินความรู้ ทัศนคติ การปฏิบัติตนในการใช้งานสมาร์ทโฟน รวมถึงประเมินความเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้ ไม่ว่าจะเป็นทางกาย ใจ และสังคม ที่เกิดจากการใช้งานสมาร์ทโฟนได้ด้วยตนเองและสามารถทราบผลได้ทันที นอกจากนี้แอปพลิเคชันนี้ยังมีส่วนสำคัญในการแนะนำการปฏิบัติตัวที่เหมาะสมกับการใช้งานสมาร์ทโฟน เพื่อลดความเสี่ยงทางด้านสุขภาพที่จะเกิดขึ้นได้

รศ.ดร.วัฒนสิทธิ์ กล่าวต่อไปว่า แอปพลิเคชัน Smart U Health เป็นแอปแรกของประเทศไทยที่ทำกับกลุ่มนิสิต นักศึกษา เพราะเป็นกลุ่มเสี่ยงที่มีจำนวนชั่วโมงในการใช้โทรศัพท์ในแต่ละวันสูง  เพื่อประเมินผลกระทบได้ด้วยตนเองว่าผลกระทบต่อสุขภาพอยู่ในระดับใด และจะมีคำแนะนำประกอบการประเมินว่าผลกระทบทางกายจะเป็นอย่างไร และต้องทำอย่างไรเพื่อลดผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อสุขภาพ นอกจากนี้ยังมีการทดสอบความรู้ในการใช้โทรศัพท์มือถือด้วยว่าผู้ใช้งานมีความรู้ความเข้าใจในการใช้โทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์สื่อสารอิเล็กโทรนิกส์อื่นๆ อย่างปลอดภัยหรือไม่ รวมถึงทัศนคติของการใช้งานว่ารู้สึกอย่างไรเมื่อมีการใช้โทรศัพท์มือถือ และประเมินการปฏิบัติตนที่ถูกต้อง ทำให้เกิดการตระหนักต่อการใช้โทรศัพท์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

“แอปพลิเคชันนี้ถูกออกแบบให้เป็น Friendly Application เหมาะกับผู้ใช้งานในกลุ่มบุคคลทั่วไป เริ่มต้นจากผู้ใช้งานสามารถตั้งชื่อ เลือกรูปโปรไฟล์การ์ตูนแทนตัวเองได้ จะมีตัวการ์ตูนเจ้าเหมียวเป็นตัวดำเนินเรื่อง ทำให้การใช้งานแอปพลิเคชันนี้ไม่น่าเบื่อ การตอบแบบประเมินแต่ละส่วนจะทำให้เจ้าเหมียวทำภารกิจนั้นๆ ได้สำเร็จ เมื่อผู้ใช้งานตอบแบบประเมินแต่ละส่วนเรียบร้อยแล้วผู้ใช้งานจะมีสิทธิ์ดาวน์โหลดวอลเปเปอร์ลายน่ารักๆ ที่เราออกแบบไว้ไปใช้งานได้ ทั้งนี้ในหน้าจอที่แสดงผลการประเมินนั้นจะทำให้ผู้ประเมินเห็นระดับความเสี่ยงของตัวเองได้อย่างชัดเจน” รศ.ดร.วัฒนสิทธิ์ กล่าวเสริม

อย่างไรก็ตาม  รศ.ดร.วัฒนสิทธิ์ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมถึงสิ่งที่จะต่อยอดต่อไปในแอปพลิเคชันนี้ว่า จะทำเป็นโปรแกรมเทรนนิ่งออนไลน์ ให้ผู้ประเมินได้รับข้อมูลที่ถูกต้องในการใช้โทรศัพท์มือถือ เช่น ระหว่างวันควรใช้โทรศัพท์มือถือไม่เกิน 20 นาที พักสายตา 20 วินาที  หรือถ้ามีอาการนิ้วล็อกควรทำอย่างไร จะมีการเตือนว่าเมื่อใช้โทรศัพท์ไปได้เท่าใดควรหยุดพักเพื่อทำกิจกรรมอย่างอื่นบ้าง จะเป็นการเทรนนิ่งไปเรื่อยๆ จนครบ 1 เดือน ทำให้ผู้ใช้เกิดความชินและปฏิบัติตัวตามคำแนะนำต่างๆ ที่แอปพลิเคชันส่งไปอัตโนมัติให้กับผู้ใช้ และมีการตอบกลับว่าทำได้อย่างคำแนะนำหรือไม่  ซึ่งน่าจะทำให้สุขภาวะของผู้งานดียิ่งขึ้น  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มนิสิตนักศึกษา แอปพลิเคชันนี้จะช่วยลดปัญหาต่างๆ จากการใช้งานโทรศัพท์สมาร์ทโฟน ช่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น

“อยากให้ดาวน์โหลดมาใช้กัน เพื่อประเมินผลกระทบทางด้านสุขภาพจากการใช้โทรศัพท์มือถือ ซึ่งบางครั้งเราคิดว่าเป็นปัญหาเล็กๆ  แต่พอมองลึกลงไปแล้ว มันไม่ใช่แค่ปัญหาสุขภาพร่างกาย แต่อาจส่งผลกระทบทางด้านจิตใจและลามไปถึงสังคมได้อีกด้วย ปัญหาเล็กๆ ก็สามารถทำให้เกิดปัญหาใหญ่ขึ้นได้ ไม่มีใครที่จะรู้ตัวเองได้ดีเท่ากับตัวเรา ซึ่งเมื่อเรารู้ตัวเองก็จะสามารถดูแลป้องกันเพื่อไม่เกิดปัญหาขึ้นกับตัวเราได้” รศ.ดร.วัฒนสิทธิ์ กล่าวทิ้งท้าย

                 แอปพลิเคชัน SmartUHealth  เปิดให้ดาว์นโหลดฟรีแล้ว ทั้งโทรศัพท์สมาร์ทโฟนระบบ IOS และ ANDROID

                IOS DOWNLOAD: https://apps.apple.com/us/app/smart-u-health/id1513492948?l=th&ls=1

                ANDROID DOWNLOAD: https://play.google.com/store/apps/details?id=th.co.progaming.smartuhealth

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า