ข่าวสารจุฬาฯ

เปิดใจอธิการบดีจุฬาฯ เบื้องหลังความสำเร็จ มหาวิทยาลัย Top 100 ของโลก ด้านชื่อเสียงทางวิชาการ

จุฬาฯ ภูมิใจที่ได้เป็นตัวแทนของคนไทยขึ้นสู่ Top 100 ของโลกด้านชื่อเสียงทางวิชาการ จากการจัดอันดับโดย QS World University Rankings 2021ซึ่งมีสถาบันอุดมศึกษาร่วมการจัดอันดับกว่า 1,600 แห่งจากทั่วโลก สะท้อนการทำงานหนักของชาวจุฬาฯ ที่เป็นมหาวิทยาลัยระดับโลกโดยไม่ทอดทิ้งสังคมไทยไว้ข้างหลัง ภายใต้แนวคิดการสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อสังคมที่ยั่งยืน

ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ ซึ่งได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีจุฬาฯ อีกวาระหนึ่งตั้งแต่วันที่ 18 พฤษภาคม 2563  เปิดเผยว่า “จุฬาฯ มุ่งเป็นมหาวิทยาลัยอันดับโลก แต่จุฬาฯ จะไม่ทอดทิ้งสังคมไทย ไม่ทิ้งปัญหาของคนไทย โดยจุฬาฯ มุ่งเน้นการสร้างสรรค์องค์ความรู้และนวัตกรรมเพื่อปรับเปลี่ยนสังคมไทยให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืน การที่จุฬาฯ ได้ก้าวสู่อันดับที่ 96 ของโลกในด้านมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงทางวิชาการ (Academic Reputation) จากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกโดย Quacquarelli Symonds (QS) World University Rankings 2021 เป็นสิ่งสะท้อนถึงการพัฒนาการเรียนการสอน และการทำงานวิจัยอย่างไม่หยุดนิ่งโดยประชาคมจุฬาฯ เพื่อพัฒนาคน พร้อมกับการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่จะช่วยนำพาประเทศไทยออกจากกับดักรายได้ปานกลางอย่างยั่งยืน ทำให้วันนี้ จุฬาฯ เป็นต้นแบบมหาวิทยาลัยที่สรรสร้างนวัตกรรมที่หลากหลายเพื่อสังคม ซึ่งสามแกนหลักที่จุฬาฯ มุ่งผลักดันพัฒนาให้ถึงขีดสุด คือ “การพัฒนาผู้นำแห่งอนาคต การสร้างงานวิจัยและนวัตกรรมที่ส่งผลกระทบสูง และมุ่งความยั่งยืนทางสังคม”

“การพัฒนาผู้นำแห่งอนาคต บัณฑิตจุฬาฯ ต้องเป็นพลเมืองที่มีคุณค่าของประเทศและโลก ดังนั้น จุฬาฯ จึงสร้างบัณฑิตให้มีทักษะทันสมัยของศตวรรษที่ 21 โดยมีหลักสำคัญสามประการ ได้แก่ มีความรู้พื้นฐานเชิงวิชาการ (Fundamental literacy) มีสมรรถนะในการแข่งขันแก้ปัญหาของสังคมโลกที่ซับซ้อน และต้องรู้จักคิด สงสัย หลอมรวม และกล้าที่จะท้าทายความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ซึ่งผมคิดว่า ทักษะเหล่านี้ควรมีอยู่ในระบบการศึกษาทุกระดับของไทยด้วย” ศ.ดร.บัณฑิต กล่าว

ในด้านการการสร้างงานวิจัยและนวัตกรรมที่ส่งผลกระทบสูง อธิการบดีจุฬาฯ เผยว่านวัตกรรมของจุฬาฯ เกิดขึ้นจากความคิดที่ต้องการใช้นวัตกรรมมาช่วยแก้ปัญหาของสังคมไทย ในวันที่สังคมไทยมีปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จุฬาฯ ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ เรานำองค์ความรู้มาสร้างนวัตกรรมอย่างเป็นระบบ เริ่มตั้งแต่การป้องกัน – ตรวจสอบ – และแก้ไข กล่าวคือ จุฬาฯ ได้ผลิตนวัตกรรมป้องกันโควิด-19 ได้แก่ สเปรย์ฉีดเพิ่มประสิทธิภาพหน้ากากอนามัย หน้ากากป้องกันใบหน้า (Face Shield) ดีไซน์ใหม่ที่เบาเป็นพิเศษ และเครื่องพ่นละอองไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ส่วนนวัตกรรมการตรวจสอบโควิด-19 ได้แก่ Chula COVID-19 Strip Test ตู้ความดันลบ และเครื่องตรวจโควิด-19 อัตโนมัติที่รู้ผลเร็ว และแม่นยำถึง 99% นอกจากนี้ในแง่การแก้ไขผลกระทบจากโควิด-19 จุฬาฯ ไม่เพียงเป็นผู้นำการพัฒนาวัคซีนป้องกันโควิด-19 ชนิด mRNA และวัคซีนป้องกันโควิด-19 จากใบยาสูบแห่งแรกของประเทศไทย แต่จุฬาฯ ยังมองไกลถึงผลกระทบเชิงเศรษฐกิจและสังคมซึ่งทำให้คนว่างงานเป็นจำนวนมาก จุฬาฯ จึงเปิดคอร์สเรียนออนไลน์ฟรีแก่คนทั่วไป ได้แก่ Chula MOOC,  Quick MBA และ Coursera เพื่อเพิ่มทักษะคนอย่างรอบด้าน เพื่อให้พวกเขาแข็งแรงและกลับมาเป็นกำลังในการพัฒนาประเทศได้อีกครั้ง

นอกจากนี้ ในแง่การพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน ศ.ดร.บัณฑิต กล่าวว่า จุฬาฯ กำหนดให้ “การพัฒนาที่ยั่งยืน” หรือ Sustainable Development Goals (SDGs) เป็นหลักคิดในการดำเนินนโยบายของมหาวิทยาลัยตลอด 3-4 ปีที่ผ่านมา จุฬาฯ ได้เริ่มต้นการพัฒนาอย่างยั่นยืนด้วยการจัดการสิ่งแวดล้อม สาธารณูปโภค และการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และได้ขยายขอบเขตการทำงานไปสู่การยกระดับงานวิจัยให้สอดคล้องกับหลัก SDGs อีกทั้งยังทำงานในเชิงโครงสร้างนโยบายของมหาวิทยาลัยด้วย จนทำให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับการจัดอันดับเป็นที่หนึ่งของประเทศไทย และที่ 45 ของโลกด้านบทบาทในการพัฒนาระบบนิเวศทางบกอย่างยั่งยืน ในการประกาศผลการจัดอันดับของ The Times Higher Education University Impact Rankings 2020 (THE University Impact Rankings 2020) ซึ่งเป็นการประเมินบทบาทและคุณูปการของมหาวิทยาลัยตามกรอบเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ของสหประชาชาติ

อธิการบดีจุฬาฯ กล่าวทิ้งท้ายว่า “ผมขอเป็นตัวแทนชาวจุฬาฯ ขอบคุณทุก ๆ คน ที่มีส่วนร่วมอย่างสำคัญทำให้จุฬาฯ ได้รับเกียรติเป็นตัวแทนของประเทศไทยในการครองตำแหน่ง Top100 ของโลกในด้านมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงทางวิชาการ (Academic Reputation) จากการจัดอันดับโดย QS World University Rankings 2021 ผมขอย้ำว่า จุฬาฯ จะเป็นมหาวิทยาลัยอันดับโลกของคนไทยทุกคน เราพร้อมนำนวัตกรรมมายกระดับคุณภาพชีวิตของสังคมไทยและโลกให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน”

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า