รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
12 กรกฎาคม 2563
ข่าวเด่น, ภาพข่าว
ความคืบหน้าในการพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ชนิด mRNA ที่มีชื่อว่า “CU-Cov19” ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ได้ดำเนินการในขั้นตอนต่างๆ มาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวิจัยในสัตว์ทดลองซึ่งเป็นข่าวดีที่ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ โดยได้มีการจัดแถลงข่าว “ความคืบหน้าการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ผลการทดสอบวัคซีนโควิด-19 ในลิงเข็มที่สอง เตรียมพร้อมเดินหน้าทดสอบในมนุษย์เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2563 ณ ห้องประชุม 1210 ชั้น 12 อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
ศ.นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กล่าวว่า จากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในประเทศไทยที่ผ่านมา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้เตรียมความพร้อมของสถานที่ แพทย์ พยาบาล บุคลากร เทคโนโลยีต่างๆ ที่ทันสมัย มีมาตรฐาน นำมาใช้ในการตรวจคัดกรองประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ทางด้านศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับความร่วมมือจากนักวิจัยทางการแพทย์ และวิทยาศาสตร์ทั้งในระดับประเทศและระดับโลกร่วมกันเดินหน้าพัฒนา วิจัย ต่อยอด การคิดค้น ผลิตวัคซีน เพื่อใช้ในการป้องกันโรคต่างๆ ให้กับประชาชนมาอย่างต่อเนื่อง
ล่าสุด ศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย พัฒนาวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ชนิด mRNA ที่มีชื่อว่า “CU-Cov19” ผลการทดสอบวัคซีนโควิด-19 ในลิงเข็ม ที่สอง พบว่าลิงสร้างภูมิคุ้มกันได้ในระดับสูง มีสุขภาพดี พร้อมเดินหน้าทดสอบในมนุษย์ต่อไป
ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม ผู้อำนวยการบริหารโครงการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่าการพัฒนาวัคซีนนี้ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) สถาบันวัคซีนแห่งชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเงินบริจาคกองทุนวิจัยวัคซีน ซึ่งวัคซีน CU-Cov19 เป็นวัคซีนชนิด mRNA ที่ผลิตจากสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่บางส่วน ซึ่งเมื่อชิ้นส่วนของสารพันธุกรรมนี้ถูกฉีดเข้าไปในร่างกายจะถูกเปลี่ยนเป็นโปรตีนเพื่อกระตุ้นให้เกิดการสร้างภูมิคุ้มกันชนิดแอนติบอดีที่ช่วยต่อสู้กับไวรัสได้
สำหรับความคืบหน้าล่าสุด ผลการตรวจเลือดลิงหลังจากได้รับการฉีดวัคซีน CU-Cov19 กระตุ้นเข็มที่สอง ที่ศูนย์วิจัยไพรเมทแห่งชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นเวลาสองสัปดาห์ พบว่าลิงที่ได้รับวัคซีนทุกตัวมีระดับภูมิคุ้มกันที่เพิ่มขึ้น โดยมีระดับภูมิคุ้มกันที่สูงมากในกลุ่มที่ได้รับวัคซีนโดสสูง นอกจากนี้ยังพบว่าลิงทุกตัวมีสุขภาพแข็งแรง และไม่มีผลข้างเคียงจากการได้รับวัคซีน
จากผลการทดสอบนี้ ศูนย์วิจัยวัคซีนฯ จะเริ่มผลิตวัคซีนเพื่อให้พร้อมสำหรับการทดสอบในมนุษย์ตามแผนประมาณเดือนตุลาคม-ธันวาคมนี้ โดยการทดสอบในมนุษย์ระยะที่ 1 จะเริ่มทดสอบทางคลินิกในอาสาสมัครกลุ่มแรกจำนวน 100 คน อายุ 18 – 60 ปี ซึ่งผ่านเกณฑ์ในเรื่องสุขภาพความปลอดภัยแล้ว หลังจากนั้นจะทดสอบในมนุษย์ ระยะที่ 2 ในกลุ่มอาสาสมัครจำนวน 500 – 1,000 คน ระหว่างเดือนธันวาคม 2563 – มีนาคม 2564 ทั้งนี้การรับสมัครอาสาสมัครเพื่อทดสอบวัคซีนจะเริ่มได้ก็ต่อเมื่อวัคซีนนี้ได้รับการรับรองความปลอดภัยจาก อย. และผ่านการพิจารณาของกรรมการจริยธรรมของคณะแพทยศาสตร์แล้ว
จากขั้นตอนทั้งหมดได้วางแผนการผลิตวัคซีนไว้ที่ 10,000 โดส ซึ่งจะใช้ได้ประมาณ 5,000 คน หากทุกอย่างเป็นไปตามแผน คาดว่าคนไทยจะได้ใช้วัคซีนในช่วงไตรมาสที่ 3 หรือไตรมาส 4 ในปี 2564
เชิญร่วมกิจกรรม Chula Lunch Talk : GenAI x งานวิจัย: 1 ปี ที่เปลี่ยนไป! ความท้าทายใหม่ ที่นักวิจัยต้องรู้
CU Top 10 News กรกฎาคม – กันยายน 2567
เปิดมิติใหม่ความร่วมมือ จุฬาฯ และ AFP ขยายโอกาสนิสิตไทยในวงการสื่อสารระดับโลก
คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ “รักษาฟันฟรี” ถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เนื่องในวันทันตสาธารณสุขแห่งชาติ
17 ต.ค. 67 เวลา 08.00 น.
อาคารบรมนาถศรีนครินทร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ
เสวนา Chula the Impact ครั้งที่ 25 “แพลตฟอร์มจุฬาฯ ฝ่าพิบัติ: Digital War Room” นวัตกรรมจากจุฬาฯ ที่ใช้ชี้จุด คาดคะเน และให้ข้อมูลผู้ประสบภัยได้อย่างแม่นยำและทันสมัย
9 ต.ค. 67
ห้องประชุม 202 อาคารจามจุรี 4 จุฬาฯ
คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดการประชุมวิชาการ The 1st International Study Group on Creative Arts Therapy ดูแลสุขภาวะด้วยศิลปะบำบัด
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้