รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
14 กรกฎาคม 2563
ข่าวเด่น
อาจารย์นักวิจัยคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ค้นพบ “กะท่างน้ำดอยภูคา” กะท่างน้ำชนิดใหม่ของโลก บริเวณอุทยานแห่งชาติดอยภูคา จังหวัดน่าน บนแนวเทือกเขาหลวงพระบาง โดยตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่สถานที่พบสัตว์ชนิดนี้คืออุทยานแห่งชาติดอยภูคา จังหวัดน่าน จัดเป็นกะท่างน้ำชนิดที่ 5 ที่มีรายงานการตั้งชื่อในประเทศไทย โดยได้รับการตีพิมพ์ในวารสารทางวิทยาศาสตร์ “Tropical Natural History”
อ.ดร.ปรวีร์ พรหมโชติ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ เปิดเผยว่า กะท่างน้ำเป็นสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกอยู่ในกลุ่มเดียวกับกบ ในประเทศไทยสามารถค้นพบได้ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ในต่างประเทศ ค้นพบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และทวีปเอเชีย ตนพร้อมด้วยคณะผู้วิจัย ได้แก่ ผศ.ดร.วิเชฏฐ์ คนซื่อ และ อ.ดร.ภาณุพงศ์ ธรรมโชติ มีความสนใจศึกษาว่ามีกะท่างน้ำที่ดอยภูคาจริงตามที่มีเรื่องเล่าหรือไม่ โดยทำเรื่องผ่านกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธ์ุพืช และได้รับความอนุเคราะห์จากหัวหน้าอุทยานแห่งชาติดอยภูคาในการลงพื้นที่ไปสำรวจ รวมทั้งได้รับความร่วมมือจากนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น และจากประเทศฝรั่งเศส ภายใต้การสนับสนุนโดยศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค ที่จังหวัดน่าน
อ.ดร.ปรวีร์ เล่าว่า คณะนักวิจัยและคณะผู้นำทางต้องปีนขึ้นบนยอดดอยที่สูงชัน ผ่านป่าดิบที่สมบูรณ์ เพื่อค้นหาแอ่งน้ำที่เป็นแหล่งอาศัยของกะท่าง จนไปถึงแอ่งน้ำบนดอยหญ้าหวาย มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 1,795 เมตร โดยธรรมชาติของกะท่างนั้นจะอาศัยในแอ่งน้ำบริเวณหุบบนยอดเขา มีขนาดประมาณ 200 ตารางเมตร และเป็นน้ำที่ปกคลุมด้วยหญ้าที่มีความสูงไม่มากนัก มีก้อนหินขนาดใหญ่อยู่กลางแอ่งน้ำและนอกจากนั้นยังมีขอนไม้ล้มที่มีโพรงจมอยู่กับพื้นของแอ่งน้ำที่มีความลึกไม่มากนัก หรือประมาณครึ่งหน้าแข้ง จนกระทั่งค้นพบกะท่างน้ำดอยภูคากว่า 50 ตัวปีนอยู่ตามกอหญ้า ขอนไม้และก้อนหินกลางแอ่งน้ำ ส่วนใหญ่เป็นตัวผู้ เมื่อสำรวจทั้งแอ่งน้ำและริมตลิ่ง พบว่ากะท่างน้ำดอยภูคากำลังมุ่งหน้าเข้าผืนป่า คาดว่าเป็นช่วงปลายของฤดูผสมพันธุ์ ธรรมชาติของกะท่างน้ำ เมื่อผสมพันธุ์กันแล้ว ตัวเมียจะวางไข่หลัง และทิ้งไข่ปล่อยให้ปรับตัวไปตามธรรมชาติ ส่วนตัวพ่อและแม่นั้นจะมุ่งหน้ากลับผืนป่า เพราะโดยธรรมชาติของกะท่างจะใช้ชีวิตอยู่บนบกยกเว้นช่วงเวลาผสมพันธุ์เท่านั้น
“ลักษณะพิเศษของกะท่างน้ำดอยภูคามีสีน้ำตาลแถบส้ม มีสันกระดูกบนหัวที่ยาว เรียว และมีลักษณะเป็นแฉกรูปตัว V ที่หัว จากการตรวจแถบรหัสพันธุกรรมทำให้ทราบว่ากระท่างน้ำที่ค้นพบนี้ถือเป็น กะท่างน้ำสายพันธุ์ใหม่ของโลก ที่สำคัญยังแสดงให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของพื้นป่าบริเวณนี้ เพราะกะท่างน้ำดอยภูคาเป็นสัตว์ที่สามารถใช้เป็นตัวชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่าในบริเวณที่พบได้เป็นอย่างดี เนื่องจากทั้งไข่ ตัวอ่อน และตัวเต็มวัยของกะท่างจะอยู่อาศัยในบริเวณผืนป่าสมบูรณ์ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงและไม่ถูกทำลาย รวมถึงพื้นที่นั้นๆ ต้องไม่มีสารเคมีปนเปื้อน 100%” อ.ดร.ปรวีร์ กล่าว
“กะท่างน้ำจะมีฝนเป็นตัวกระตุ้นในการให้มารวมตัวกันตามแหล่งน้ำ สืบพันธุ์ และวางไข่ ซึ่งปัจจุบันภาวะโลกร้อนทำให้ฝนทิ้งช่วง เกิดความแห้งแล้งเพิ่มมากขึ้นทุกปี ส่งผลต่อสัตว์ประเภทนี้อย่างแน่นอน นอกจากนี้การที่ชาวบ้านนำปลาเข้าไปปล่อยในแหล่งน้ำอาจเป็นการทำลายแหล่งสืบพันธุ์ของกะท่างได้ ในอนาคตจะพยายามผลักดันให้สัตว์ในกลุ่มนี้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองต่อไป” อ.ดร.ปรวีร์ กล่าวในที่สุด
โครงการ Dogcoola กิจกรรมดี ๆ ที่สร้างสรรค์โดยนิสิตสัตวแพทย์ จุฬาฯ เชิญชวนบริจาคโลหิตช่วยชีวิตคนและส่งเสริมสวัสดิภาพสัตว์
นายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเปิดการประชุมวิชาการนานาชาติด้านวิทยาศาสตร์สาธารณสุข ครั้งที่ 24 Public Health 360: From Policy to Practice
เชิญร่วมกิจกรรม Chula Lunch Talk : GenAI x งานวิจัย: 1 ปี ที่เปลี่ยนไป! ความท้าทายใหม่ ที่นักวิจัยต้องรู้
CU Top 10 News กรกฎาคม – กันยายน 2567
เปิดมิติใหม่ความร่วมมือ จุฬาฯ และ AFP ขยายโอกาสนิสิตไทยในวงการสื่อสารระดับโลก
คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ “รักษาฟันฟรี” ถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เนื่องในวันทันตสาธารณสุขแห่งชาติ
17 ต.ค. 67 เวลา 08.00 น.
อาคารบรมนาถศรีนครินทร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้