ข่าวสารจุฬาฯ

สองนิสิตคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับรางวัลผู้มีความประพฤติดี ประจำปี 2563 จากพุทธสมาคมแห่งประเทศไทยฯ

เป็นประจำทุกปีที่พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้มอบรางวัลแก่นิสิตนักศึกษาผู้มีความประพฤติดี โดยคัดเลือกจากนิสิตนักศึกษาทั่วราชอาณาจักร ในปีนี้สองนิสิตจุฬาฯ จากคณะครุศาสตร์ ณรงค์ชัย แสงอัคคี และศุภกร จิตรเจริญพร ได้รับรางวัลผู้มีความประพฤติดี ประจำปี 2563 ในฐานะพุทธศาสนิกชนที่ประพฤติดี มีผลงานการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ทางพุทธศาสนา เป็นแบบอย่างที่ดีของเยาวชนไทย นำความภาคภูมิใจมาสู่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นอย่างยิ่ง

          ศุภกร จิตรเจริญพร เป็นนิสิตที่สนใจทำกิจกรรมทางด้านพุทธศาสนามาโดยตลอด เช่น ปฏิบัติหน้าที่รับบาตรพระสงฆ์ในพิธีตักบาตรเนื่องในโอกาสขึ้นปีใหม่ของมหาวิทยาลัย เข้าร่วมการปฏิบัติธรรม เป็นพี่เลี้ยงในค่ายอาสาต่างๆ รับผิดชอบฝ่ายพิธีการในวันปิยมหาราช ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางวิชาการ เช่น เข้าร่วมการประกวดสุนทรพจน์ภาษาจีน เป็นประธานชมรมศิลปะการแสดงของคณะครุศาสตร์  ปีการศึกษา 2562 และร่วมกิจกรรมการทำละครเพื่อสังคม

            “ความประพฤติดีหมายถึงการมีความซื่อสัตย์ในจิตใจ เพราะความซื่อสัตย์คือพื้นฐานของความดี เมื่อเราคิดดี มีมโนธรรมและสำนึกที่ดี นอกจากจะทำให้เราประพฤติปฏิบัติในสิ่งที่ดีแล้ว ยังส่งผลต่อคนรอบข้างในสังคมด้วย สิ่งที่ผมปฏิบัติเสมอมาคือการแต่งกายชุดนิสิตจุฬาฯ ที่ถูกระเบียบ ปฎิบัติตนตามกฎระเบียบของสังคม มีวินัยในตนเอง ตั้งใจเรียน การเข้าร่วมกิจกรรมในมหาวิทยาลัยช่วยให้รู้จักการเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้การสวดมนต์ก่อนนอนยังทำให้จิตใจสงบ ช่วยให้สามารถทำสิ่งต่างๆ ได้อย่างราบรื่นและมีสติ” ศุภกร กล่าว

          ณรงค์ชัย แสงอัคคี เป็นนิสิตผู้มีความประพฤติดีอีกคนหนึ่งที่ทำกิจกรรมเพื่อประโยชน์ของสังคมมาโดยตลอด เช่น ได้รับพระราชทานรางวัลเยาวชนต้นแบบ คนดีของชุมชน จากทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ร่วมโครงการรณรงค์การใช้ภาษาไทยดีเด่น การเผยแพร่นวัตกรรมแก่นักเรียนในชนบท ฯลฯ

            หลักธรรมที่สำคัญที่สุดที่ณรงค์ชัยยึดถือเป็นหลักประจำใจคือความกตัญญูกตเวที ณรงค์ชัยมองว่าการประพฤติดีสามารถทำได้ง่ายๆ เพียงแค่เราปฏิบัติตามกฎระเบียบและบรรทัดฐานของสังคม ปฏิบัติตามหลักศีล 5 เพียงเท่านี้ก็ทำให้สังคมเป็นระเบียบเรียบร้อย

            “ทุกคนมีความเก่งอยู่กับตัวอยู่แล้ว แต่สิ่งที่สำคัญก็คือจะทำอย่างไรจึงจะนำความเก่งนั้นมาสร้างประโยชน์ให้แก่ผู้อื่น และนำไปต่อยอดได้ การเป็นผู้ให้เป็นสิ่งที่สำคัญกว่าผู้รับ เพราะทำให้เกิดความภาคภูมิใจทั้งต่อตนเองและครอบครัว” ณรงค์ชัย กล่าวทิ้งท้าย

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า