รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
21 กรกฎาคม 2563
ข่าวเด่น
สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ในช่วงเวลาที่ผ่านมาซึ่งหลายคนต้องทำงาน Work from Home ส่งผลให้การเรียนรู้ทางออนไลน์เป็นที่นิยมเป็นอย่างยิ่ง เช่นเดียวกับหลักสูตร CHULA MOOC ภายใต้การดำเนินงานของศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้ จุฬาฯ ซึ่งเปิดคอร์สเรียนออนไลน์ในวิชาต่างๆ มาตั้งแต่ปี 2560 ก็ได้รับความสนใจจากประชาคมจุฬาฯ และผู้สนใจทั่วไปอย่างล้นหลามเช่นกัน หลายวิชาใน CHULA MOOC มีผู้สมัครเรียนเต็มจำนวนในเวลาอันรวดเร็ว รวมถึงในปัจจุบันก็ยังคงมีผู้สมัครเข้าเรียนออนไลน์ในวิชาต่างๆ เป็นจำนวนมาก
ดร.ภัทรชาติ โกมลกิติ ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้ จุฬาฯ เปิดเผยว่า CHULA MOOC เป็น Lifelong Learning สำหรับคนทั่วไป รวมไปถึงการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้จริง ในช่วงที่มีการระบาดของ COVID-19 โดยเฉพาะในเดือนเมษายน มีการเปิดวิชาต่างๆ ใน CHULA MOOC ให้ผู้สนใจเรียนเพิ่มขึ้น จากเดิมที่เคยเปิดเดือนละ 5 วิชา เปิดเพิ่มเป็นสัปดาห์ละ 5 วิชา รวมเป็น 25 วิชาในเดือนเมษายน ผลตอบรับที่ได้คือทุกวิชาในเดือนนั้น 5,000 ที่นั่งเต็มหมด หลังจากเริ่มคลาย Lockdown คนเริ่มกลับมาทำงานตามปกติ แต่วิชาต่างๆ ของ CHULA MOOC ก็ยังเป็นที่นิยมค่อนข้างสูงเนื่องจากคนเริ่มเปิดใจกับการเรียนออนไลน์มากขึ้น
“วิชาในหมวดภาษาจะเต็มเร็วมาก บางครั้งเปิดไป 3 ชั่วโมงก็เต็มแล้ว แม้จะเปิดรับผู้เรียนในหมวดวิชานี้เพิ่มขึ้นเป็น 10,000 ที่นั่ง ผู้เรียนก็ยังเต็มเหมือนเดิม เราเพิ่งปรับปรุงเว็บไซต์ CHULA MOOC ไปเมื่อเดือนมิถุนายน ซึ่งในเว็บไซต์ใหม่มีความสวยงาม ใช้งานง่ายขึ้น มีการแบ่งวิชาอย่างชัดเจนสำหรับกลุ่มประชาชนทั่วไปและวิชาที่เปิดเป็นพิเศษสำหรับนิสิตและบุคลากรจุฬาฯ ในทุกๆ เดือนจะมีการเปิดวิชาใหม่โดยเฉลี่ยประมาณ 2 วิชา ดังนั้นจะมีวิชาใหม่ผสมวิชาเก่าที่เปิดให้เรียนออนไลน์ทุกเดือนๆ ละ 5 วิชา วิชาที่ได้รับความนิยมจะนำมาเปิดให้เรียนใหม่ทุกๆ 3-4 เดือน ปัจจุบันมีการเปิดวิชาต่างๆ ใน CHULA MOOC ไปแล้วมากกว่า 70 วิชา ซึ่งจะมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อีกประมาณ 30 วิชา เพื่อตอบสนองนโยบายของมหาวิทยาลัยในการสร้างคลังความรู้ดิจิตอลสำหรับประชาชนทั่วไป” ดร.ภัทรชาติ กล่าว
ในส่วนของหลักสูตร CHULA MOOC Achieve ดร.ภัทรชาติ เผยว่า เป็นหลักสูตรเพื่อให้ผู้เรียนในภาคธุรกิจนำไปใช้ประกอบกิจการหรือทำงานในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ปัจจุบันมีวิชาที่เปิดสอนในหลักสูตรเพิ่มขึ้น มีการเปิดสอนด้วย Pathway ต่างๆ โดยในปี 2563 มีการเปิดตัว Pathway ที่มีชื่อว่า “Thinking Like a Programmer” เนื่องจากในโลกยุคดิจิทัลเช่นปัจจุบัน ทักษะเรื่อง Coding มีความสำคัญ จึงมีการพัฒนาเป็นวิชาเกี่ยวกับ Coding ผู้เรียนจะเริ่มต้นจากพื้นฐานการพัฒนาการเขียนโปรแกรม ซึ่งได้รับเสียงตอบรับที่ดีพอสมควร
ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้ จุฬาฯ ให้ข้อมูลว่า ทุกวันนี้การเรียนออนไลน์ มีทั้งการจัดการเรียนสอนออนไลน์ในรายวิชาต่างๆ ในมหาวิทยาลัย ซึ่งศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้รับผิดชอบงานในส่วนนี้ด้วย นับเป็นความท้าทายอย่างยิ่งเนื่องจากเป็นการเปลี่ยนกระบวนการการจัดเรียนการสอนใหม่ อีกส่วนหนึ่งคือการให้ความรู้ผ่านสื่อออนไลน์ ซึ่งได้เริ่มรับความนิยมอย่างมาก จุดเด่นที่ชัดเจนของ CHULA MOOC ก็คือ การเป็น Platform มีการประเมินผลที่แตกต่าง นอกจากการเรียนแล้วยังมีกิจกรรมให้ทำ ผู้เรียนต้องตอบคำถาม ความรู้ จะเกิดขึ้นไม่ได้จากการรับฟังอย่างเดียวแต่ต้องลงมือปฏิบัติด้วย นอกจากนี้แต่ละบทเรียนย่อยของ CHULA MOOC เป็นบทเรียนที่ผ่านการออกแบบล่วงหน้าว่าจาก 1 ถึง 10 ผู้เรียนจะเดินตามเส้นทางที่ออกแบบไว้ โดยมีกรรมการตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา
“การเรียนออนไลน์เป็นสิ่งสำคัญ และน่าจะเป็นวิธีการที่ง่ายที่สุดในการที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้ทั้ง ในแง่ของข้อจำกัดเรื่องการเดินทาง รวมไปถึงวัฒนธรรมที่เริ่มปรับเปลี่ยน คนเริ่มเปิดใจกับการเรียนออนไลน์ มากขึ้น มหาวิทยาลัยส่งเสริมให้คณาจารย์นำเนื้อหาวิชาที่มีความจำเป็นในการตอบโจทย์กับสังคมไทยมาเปิดสอนใน CHULA MOOC ปัจจุบันจุฬาฯ มีเนื้อหาวิชาที่เกี่ยวกับนวัตกรรมอยู่พอสมควร รวมทั้งมีจัดการเรียนการสอนแบบ Blended Learning คณาจารย์ผู้สอนสามารถนำ content มาพัฒนาเป็นรายวิชาที่เป็นออนไลน์ และนำมาปรับเปลี่ยนกระบวนการจัดการเรียนการสอนให้ทันสมัย สามารถเข้าถึง content ที่ไหนเมื่อไหร่ก็ได้” ดร.ภัทรชาติ กล่าวในที่สุด
ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมการเปิดหลักสูตรต่างๆ ของ CHULA MOOC ได้ที่ https://mooc.chula.ac.th/
การประชุมวิชาการ “พระเสด็จโดยแดนชล”และพิธีมอบรางวัลการประกวดบทร้อยกรองประเภทกาพย์เห่ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 72 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
อาสาสมัครกาชาดจากจุฬาฯ ร่วมกิจกรรมช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์
ความประทับใจของบัณฑิตจุฬาฯ ในรั้วจามจุรี และพิธีพระราชทานปริญญาบัตรที่ภาคภูมิใจ
นิสิตคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมแสดงผลงานแฟชั่นและสิ่งทอในงาน centralwOrld Thailand Graduate Fashion Week 2024
วิศวฯ จุฬาฯ เชิญร่วมบริจาคโลหิตถวายเป็นพระราชกุศลเนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 72 พรรษา
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์พระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตจุฬาฯ ปีการศึกษา 2566
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้