รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
22 กรกฎาคม 2563
ข่าวเด่น
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ คิดค้นและพัฒนา “รถกองหนุน” หรือ “รถความดันบวก” (Positive Pressure) ปลอดเชื้อ 100% อีกหนึ่งนวัตกรรมเสริมความเข้มแข็งให้กลไกการดูแลประชาชนที่ต้องกักตัวอยู่ใน State Quarantine และ Local Quarantine มีประสิทธิภาพ เป็นตัวช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถดูแลได้อย่างใกล้ชิด และเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้ที่ต้องมาพำนักชั่วคราว
ศ.ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า “การนำนวัตกรรมเข้ามาเสริมในกระบวนการการดูแลพี่น้องประชาชนที่ต้องเข้ามาอยู่ใน State Quarantine หรือ Local Quarantine จะยิ่งช่วยให้การบริหารจัดการการป้องกันการแพร่เชื้อเข้ามาในประเทศไทยมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และส่งผลโดยตรงให้สถานการณ์การแพร่ระบาดภายในประเทศดีขึ้นเป็นลำดับ ซึ่งแน่นอนว่าต้องดำเนินควบคู่ไปกับมาตรการการจัดการภายในประเทศต่างๆ ที่รัฐบาลรณรงค์ขอความร่วมมือให้ทุกภาคส่วน ตลอดจนพี่น้องประชาชนร่วมกันปฏิบัติเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการระบาดซ้ำระลอกใหม่ จุฬาฯ ในฐานะสถาบันการศึกษาจึงได้นำองค์ความรู้ที่มีเร่งพัฒนาต่อยอดเป็นนวัตกรรมที่พร้อมใช้งานได้จริง รถ CU กองหนุนเป็นนวัตกรรมที่นำเข้ามาสนับสนุนการทำงานจริงใน State Quarantine และ Local Quarantine ของหน่วยงานภาครัฐ”
ด้าน ผศ.ดร.จุฑามาศ รัตนวราภรณ์ ประธานหลักสูตรสหสาขาวิศวกรรมชีวเวช จุฬาฯผู้พัฒนานวัตกรรม กล่าวว่า “เราพัฒนารถกองหนุนเพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถใกล้ชิด เข้าตรวจทำหัตถการและพูดคุยซักถามอาการของผู้กักตัวได้ใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น รถความดันบวกนี้จะมาพร้อมระบบสื่อสารผ่านไมโครโฟนแบบไร้สาย ทำให้เกิดความมั่นใจและลดความวิตกกังวลไปได้มาก”
“รถกองหนุน” หรือ “รถความดันบวก” อีกหนึ่งนวัตกรรมจุฬาฯ ที่เป็นมากกว่าสิ่งประดิษฐ์ ที่มีส่วนช่วยทำให้สถานการณ์การแพร่ระบาดระลอกใหม่ไม่เกิดขึ้นเร็วจนเกินไป
รับชมวิดีโอสัมภาษณ์ https://youtu.be/7xJzkban3Ys
ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.facebook.com/107542200880708/posts/170840344550893/
คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ แถลงข่าวเปิดตัวโครงการ “1 ครอบครัว 1 ซอฟต์พาวเวอร์ (OFOS)” เปิดคอร์สออนไลน์และกิจกรรมเสริมทักษะการผลิตภาพยนตร์
จุฬาฯ จัดงาน Chulalongkorn University’s Open House for International Programs 2025 แนะนำหลักสูตรภาษาอังกฤษของจุฬาฯ สู่การเป็นผู้นำทางการศึกษาระดับนานาชาติ
ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ ปัตตานี คว้ารางวัลระดับชาติ โล่ประกาศเกียรติคุณ “ผู้มีคุณูปการต่อเยาวชนมุสลิมดีเด่นแห่งชาติ” สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ศ.ดร.นพ.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล อดีตรองอธิการบดีจุฬาฯ ได้รับรางวัลบุคคลดีเด่น ประเภทบริหาร ด้านการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม ประจำปี 2567 จากกระทรวงสาธารณสุข
จุฬาฯ เปิดโครงการอบรมครู “พิพิธภารัต 2567” และพิธีลงนาม MOU ส่งเสริมการสอนภาษาฮินดี
เชิญชวนนิสิตร่วมโครงการประเมินผลการเรียนการสอนออนไลน์ผ่านระบบ myCourseVille ปีการศึกษา 2567
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้