รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
3 สิงหาคม 2563
ความภูมิใจของจุฬาฯ, ภาพข่าว
เมื่อวันอาทิตย์ที่ 2 สิงหาคม 2563 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ ศ.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กล่าวรายงานการจัดงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2563 (Thailand Research Expo 2020)” ทั้งนี้ พิธีเปิดงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2563 ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระกนิษฐา ธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นประธานเปิดงานในวันที่ 4 สิงหาคม 2563 เวลา 09.00 น.
รศ.สรนิต ศิลธรรม ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวเปิดงานภาคการประชุมและปาฐกถาพิเศษในหัวข้อเรื่อง “พลังขับเคลื่อนประเทศไทยด้วยวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” พร้อมมอบโล่และประกาศนียบัตรรับรองคุณภาพคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ (National Ethics Committee Accreditation System of Thailand : NECAST) และพิธีมอบเกียรติบัตรรับรองเป็น “วิทยากรหลักสูตรการพัฒนานักวิจัย” (Training for the trainers) โดยมี ศ.ดร.จักรพันธ์ สุทธิรัตน์ รองอธิการบดี เป็นตัวแทนจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในการรับมอบเกียรติบัตร และในการเสวนาภาคบ่าย ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ เป็นวิทยากรร่วมเสวนาในหัวข้อเรื่อง “พลิกวิกฤต โควิด-19 ด้วยนวัตกรรมการแพทย์ (วิศวกรรมชีวเวชและปัญญาประดิษฐ์)
“มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2563” จัดขึ้นระหว่าง 2-6 สิงหาคม 2563 เป็นเวทีนำเสนอผลงานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรมระดับชาติ ซึ่งจัดอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 15 ปี เพื่อเชื่อมโยงบูรณาการองค์ความรู้ไปสู่การใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศ ทั้งในมิติเชิงนโยบาย วิชาการ สังคม/ชุมชน และพาณิชย์/อุตสาหกรรม ภายใต้ความร่วมมือของหน่วยงานเครือข่ายวิจัยทั่วประเทศ โดยปี 2563 จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “วิจัยเพื่อพัฒนาประเทศสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” มี Mascot ประจำปี ได้แก่ น้องแกล้งดิน โดยภายในงานจัดแบ่งการนำเสนอเป็น 5 กลุ่มงานวิจัย ได้แก่ งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อพัฒนากำลังคนและสถาบันความรู้ งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ท้าทายของสังคม งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถ การแข่งขัน งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อน BCG Economy Model
นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมภาคการประชุมอื่นๆ เช่น กิจกรรม Highlight Stage, กิจกรรม Thailand Research Symposium 2020, กิจกรรมประกวดผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษา 2563, กิจกรรม Thailand Research Expo 2020 Award, กิจกรรม Research Clinic และการแสดง/จำหน่ายผลิตภัณฑ์จากภาคเอกชนและภูมิภาคท้องถิ่น ทั้งนี้ผลงานของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดแสดงในนิทรรศการ Research University Network Thailand: RUN ได้แก่ คลัสเตอร์โรโบติกส์ คลัสเตอร์อาเซียน คลัสเตอร์สุขภาพ และผลงานวิจัยเด่น: สเปรย์เพิ่มประสิทธิภาพหน้ากากผ้า
เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จึงมีมาตรการคัดกรองผู้เข้าร่วมนิทรรศการอย่างเข้มงวดตามข้อกำหนดของกระทรวงสาธารณสุข จัดให้มีการเข้าร่วมงาน 2 รูปแบบ ได้แก่ Onsite และ Online โดยรักษาระยะห่าง จำกัดผู้เข้าชมนิทรรศการ และสวมหน้ากากอนามัย/หน้ากากผ้าตลอดการร่วมงาน ตามนโยบายเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) และงดการลงทะเบียนหน้างาน หรือ Walk in ทุกกรณี
ละครนิเทศจุฬาฯ 2567 “ด้ายแดงเป็นเหตุ Unfortunate Love”
24 - 26 มกราคม 2568
ณ โรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศ ชั้น 7 อาคารสยามสแควร์
จุฬาฯ ต้อนรับคณะศึกษาดูงานด้านการบริหารความเสี่ยงจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แบ่งปันประสบการณ์การพัฒนาระบบบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัย
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ จัดอบรมเรื่อง “กัญชาทางการแพทย์: ความรู้ที่ต้องมีสำหรับเภสัชกรยุคใหม่”
11 ธ.ค. 67 เวลา 09.00 – 12.15 น.
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ และ Zoom
คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดอบรมโครงการ “Next-Gen Arts: พัฒนาศักยภาพครูศิลปะด้วย Soft Power”
นิสิตเก่าจุฬาฯ พัฒนาโฟมล้างมือแบบเม็ดฟู่ “Fongdoo” ลดขยะพลาสติก ภายใต้การสนับสนุนของ CU Innovation Hub
วิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดเสวนา “เข้าใจน้ำท่วม แนวคิดวิศวกร” เผยแพร่องค์ความรู้ใหม่รับมืออุทกภัยในอนาคต
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้