ข่าวสารจุฬาฯ

วิศวฯ จุฬาฯ ลงนามความร่วมมือทางวิชาการกับหัวเว่ย ยกระดับงานวิจัยและสิ่งประดิษฐ์ ด้วยเทคโนโลยี 5G, Cloud, AI

เมื่อวันอังคารที่ 4 สิงหาคม 2563 ศ.ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการกับนายแม็ค หม่า รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ทางวิศวกรรม ด้วยเทคโนโลยี 5G, AI และ Cloud พร้อมเร่งขับเคลื่อนสู่การนำประเทศไทยปรับเปลี่ยนเข้าสู่ยุคดิจิทัลทรานสฟอร์เมชันที่สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น

ศ.ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า “การผนึกความร่วมมือกับบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด ในครั้งนี้ นับเป็นก้าวสำคัญในการร่วมมือทางวิชาการเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ในเชิงปฎิบัติการร่วมกับหน่วยงานภาคเอกชน ซึ่งเป็นบริษัทผู้นำเทคโนโลยีด้าน 5G และโซลูชันระดับโลก เป็นการต่อยอดผลงานให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งในการเรียนการสอน การวิจัย และการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ โดยเฉพาะการพัฒนาระบบหุ่นยนต์และระบบควบคุมอัตโนมัติ รวมถึงเนื้อหาเพื่อการเรียนการสอนออนไลน์ในรูปแบบโลกจำลองเสมือนจริง (Virtual Reality) หรือระบบ VR ซึ่งโครงการความร่วมมือนี้จะสามารถนำไปสู่การแลกเปลี่ยนและเสริมสร้างองค์ความรู้และยกระดับการศึกษาด้านเทคโนโลยีให้สอดรับกับการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล ช่วยทำให้หุ่นยนต์ที่พัฒนาขึ้นในระดับห้องปฏิบัติการของคณาจารย์และนิสิตของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ พัฒนาต่อยอดให้มีความอัจฉริยภาพมากขึ้น หรือเป็นหุ่นยนต์กลไกสมองอัจฉริยะ AI ที่พร้อมด้วยระบบสื่อสาร โครงการนี้จะเป็นการเตรียมความพร้อมอีกระดับหนึ่งให้แก่นิสิตและนักวิจัยมุ่งไปสู่โลกนวัตกรรมแห่งอนาคต

นายแม็ค หม่า รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวเสริมว่า หัวเว่ยพร้อมให้การสนับสนุนอุปกรณ์ เทคโนโลยี การอบรม และทำงานร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ด้วยการนำเทคโนโลยี 5G, Cloud, AI มายกระดับด้านการวิจัยและพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ พร้อมนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ขับเคลื่อนความสามารถด้านนวัตกรรมของไทย ผ่านการศึกษาซึ่งเป็นรากฐานการพัฒนาประเทศที่สำคัญ

การนำเทคโนโลยี 5G, Cloud และ AI ของหัวเว่ยมาประยุกต์ใช้ ภายใต้บันทึกข้อตกลงในครั้งนี้เป็นระยะเวลา 5 ปี จะช่วยเสริมศักยภาพและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสิ่งประดิษฐ์ทางวิศวกรรมของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ได้แก่ ระบบหุ่นยนต์และระบบควบคุมอัตโนมัติ ให้สามารถควบคุมทางไกล ส่งข้อมูลและประมวลผลได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

นอกเหนือจากบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการในครั้งนี้ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ได้นำผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและโซลูชั่นระดับโลกมาร่วมทำงานและจัดอบรมเพื่อถ่ายทอดความรู้ความชำนาญให้กับคณาจารย์ นิสิต และนักวิจัย เพื่อขยายศักยภาพงานด้านวิชาการโดยใช้เทคโนโลยีได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า