ข่าวสารจุฬาฯ

จุฬาฯ จับมือ กสทช. จัดงานแสดงผลงานการทดลอง/ทดสอบ Use cases“Chula 5G for REAL”

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จัดงาน

Chula 5G งานแสดงผลงานการทดลอง/ทดสอบ Use cases ต่างๆ เพื่อไปใช้งานจริง บนเครือข่าย 5G ภายใต้แนวคิด “5G for REAL” เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2563 ณ 5G AI/IOT Innovation Center ชั้น M อาคาร จุฬาพัฒน์ 14 โดยได้รับความร่วมมือทั้งจากสถาบันการศึกษาอื่นๆ ในประเทศไทย พร้อมกับผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ และผู้ผลิตอุปกรณ์ระบบโทรคมนาคมชั้นนำ โครงการดังกล่าว จัดขึ้นภายใต้ความร่วมมือทางวิชาการระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับ กสทช. โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนวิจัยและพัฒนา กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) เพื่อจัดตั้งศูนย์ทดลอง/ทดสอบ 5G ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

           ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประธานกล่าวเปิดงาน ได้เน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นของจุฬาฯ ที่ให้ความสำคัญในการสร้างคน โดยมีการลงทุนในการพัฒนาคน พัฒนางานวิจัย เพื่อสร้าง Future Leaders และสร้าง Impactful Research and Innovation เพื่อออกไปรับใช้สังคม ดังนั้นเทคโนโลยี 5G จึงมีบทบาทสำคัญที่จะช่วยให้สิ่งที่เราวางแผนเอาไว้เกิดขึ้นได้ ตามปณิธานของจุฬาฯ คือ ‘Innovations for Society’  

“ถือเป็นการเริ่มต้นที่ดีที่มีการเริ่มต้น 5G ที่นี่ ผมเชื่อว่า 5G จะเป็นเทคโนโลยีที่มีบทบาทสำคัญที่จะช่วยให้เกิดการพัฒนาประเทศต่อไปในอนาคตได้อย่างรวดเร็ว” ศ.ดร.บัณฑิต กล่าว

ด้าน ศ.ดร.บุญไชย สถิตมั่นในธรรม ประธานคณะกรรมการบริหารโครงการฯ เปิดเผยว่า โครงการนี้ ได้รับทุนสนับสนุนจาก กสทช. เป็นระยะเวลา 2 ปี นับตั้งแต่ 11 ธันวาคม 2561 เป็นต้นมา และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน และสถาบันการศึกษาต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งผู้ผลิตอุปกรณ์โทรคมนาคม และผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ เพื่อร่วมกันจัดทำ Open Platform สำหรับการทดสอบ ทดลอง วิจัย เทคโนโลยีสำหรับการใช้งานจริงภายใต้ Sandbox เป็นเวลา 5 ปี จนถึงวันที่ 10 ธันวาคม 2567 ครอบคลุมพื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทั้งหมด

ศ.ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า เทคโนโลยี 5G ถือเป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญที่จะหลอมรวมการสื่อสารในโลกดิจิทัลเข้าด้วยกัน รวมทั้งโลกกายภาพและโลกเสมือนด้วย ขอขอบคุณ กสทช. ที่ให้โอกาสจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยเฉพาะคณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้ร่วมเป็นผู้นำในการพัฒนาเทคโนโลยีดังกล่าว และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าสิ่งนี้จะนำไปสู่การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน นำคุณภาพชีวิตที่ดีมาสู่สังคมไทยในที่สุด

สำหรับผลงาน Use cases ต่างๆ ที่นำมาแสดงในงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยและพัฒนาในปีที่หนึ่ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการทดลอง/ทดสอบการใช้งานอุปกรณ์การสื่อสารบนเครือข่าย 5G ทั้งนี้ นักวิจัยจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ และผู้ผลิตอุปกรณ์ระบบโทรคมนาคมชั้นนำได้ร่วมกันจัดทำแพลตฟอร์มเปิด สำหรับทดสอบ/ทดลอง วิจัยเทคโนโลยี การใช้งานจริง พร้อมทั้งพัฒนาบุคลากรเพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยี 5 G

นอกจากนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังได้ดำเนินการขอเป็นผู้ประสานพื้นที่กำกับดูแลเป็นการเฉพาะ และ กสทช. ได้อนุญาตโดยกำหนดระยะเวลาอนุญาตตั้งแต่ 11 ธันวาคม 2562 – 10 ธันวาคม 2567 เป็นเวลา 5 ปี ครอบคลุมพื้นที่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อให้ใช้คลื่นความถี่ 5G ย่านต่างๆ เพื่อให้มีการพัฒนาและทดสอบนวัตกรรมเทคโนโลยี 5G ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ รวมถึงการทดสอบการรบกวนกันหรือการร่วมใช้คลื่นความถี่ระหว่างเทคโนโลยี 4G และ 5G เป็นต้น

สำหรับผู้เข้าร่วมงานแสดงผลงาน ประกอบด้วย คณาจารย์และนักวิจัยจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ สถาบันวิจัยและนวัตกรรมดิจิทัล มหาวิทยาลัยสงขลา-นครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ (ม.อ.)  ผู้บริหาร จากผู้ผลิตอุปกรณ์ระบบโทรคมนาคม และผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ได้แก่ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จํากัด (มหาชน) บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จํากัด (มหาชน) บริษัท อีริคสัน (ประเทศไทย) จำกัด  บริษัท หัวเว่ยเทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด  และบริษัท โนเกีย ประเทศไทย จำกัด

โครงการวิจัยทั้งหมดประกอบด้วย โครงการจัดตั้งศูนย์ทดสอบ 5G ที่สามารถทดสอบอุปกรณ์ไร้สาย และโครงข่ายของผู้ให้บริการ และงานวิจัยอื่นๆ ใน 3 กลุ่ม ได้แก่

ด้าน healthcare จำนวน 2 โครงการ ได้แก่

  • โครงการส่งข้อมูลภาพการตรวจโรคตาทางไกลผ่านระบบสื่อสารแบบไร้สายเพื่อการผ่าตัด
  • โครงการพัฒนาการสื่อสารและส่งถ่ายข้อมูลการตรวจวัดคุณภาพอากาศในโรงพยาบาล

ด้าน smart living และ connected society จำนวน 8 โครงการ ได้แก่

  • โครงการการพัฒนาและควบคุมหุ่นยนต์บริการผ่านโครงข่าย 5G
  • โครงการจัดสร้างระบบเครือข่ายเซนเซอร์ตรวจวัดสภาพฝุ่นละอองติดตั้งบน smart pole และรถ pop bus รวมถึงการติดตั้งและทดสอบระบบ CCTV บนรถประจำทาง เพื่อเพิ่มความปลอดภัยและประสิทธิภาพการใช้งานของผู้โดยสาร CU Pop Bus
  • โครงการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีความจริงเสมือนในพื้นที่มหาวิทยาลัยบนเครือข่าย 5G
  • โครงการพัฒนาต้นแบบยานยนต์อัตโนมัติ และการเคลื่อนย้ายรถระหว่างจุดจอด
  • โครงการติดตั้งและทดสอบระบบการใช้งานเสาไฟยุคหน้าบนเทคโนโลยี 5G
  • โครงการสร้างมิเตอร์อัจฉริยะเฟสเดียวโดยใช้เทคโนโลยี NB-IoT, LoRa และ 5G
  • โครงการติดตั้งระบบควบคุมไฟถนนอัจฉริยะ
  • โครงการวิเคราะห์และประมวลภาพ VDO แบบเวลาจริงด้วย cloud computing

ประเภทอื่นๆ จำนวน 2 โครงการ ได้แก่

  • โครงการ PolluSmartCell การวิจัยที่อาศัยปรากฏการณ์ทางคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในโครงข่ายการสื่อสารเพื่อประเมินการเกิด Temperature Inversion ในชั้นบรรยากาศ
  • โครงการอบรมให้ความรู้ความชำนาญในการทดลอง/ทดสอบระบบเครือข่าย 5G และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างประเทศ

นอกจากการแสดงผลงานต่างๆ ผ่านทาง VTR และบูธแสดงผลงานแล้ว ยังมีการนำเสนอผลงานเด่นๆ ด้วยการบรรยายบนเวที อาทิ การบรรยายส่งตรง real-time ผ่าน zoom มาจาก Ministry of Internal Affairs and Communications (MIC) ประเทศญี่ปุ่น ภายใต้หัวข้อ “5G Frequency and Network Regulation Policy in Japan” / และจาก NTT DOCOMO ภายใต้หัวข้อ “5G cross border” use case connecting Japan and Thailand / และการบรรยายภายใต้หัวข้อ Tele-dentistry in aging world โดย ทันตแพทย์หญิง ดร.อรุณี ลายธีระพงศ์ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ / การตรวจร่างกายด้วยเทคโนโลยี AI ผ่านบริการแพทย์ทางไกล โดยนพ.ดร.ชัยภัทร ชุณหรัศมิ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และสภากาชาดไทย / Autonomous vehicles โดยผศ.ดร.นักสิทธิ์ นุ่มวงษ์ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ / และ Massively Interactive Online Group Participation โดยผศ.ดร.วีระ เหมืองสิน ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จะเห็นได้ว่าการจัดงานในวันนี้ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ และเสริมสร้างประสบการณ์ เพื่อพัฒนาให้เป็นบริการนำร่อง และนำเสนอบริการดังกล่าวต่อสาธารณชน เป็นประโยชน์ต่อเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมการสื่อสารโทรคมนาคมในประเทศไทยต่อไป


ทั้งนี้ ท่านสามารถชมการแสดงผลงาน 5G ย้อนหลังได้ทาง Facebook Fan page: CHULA 5G หรือติดต่อเราได้ที่ www.5G.chula.ac.th โทร. 02 218 6496

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า