รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
13 สิงหาคม 2563
ข่าวเด่น, ความภูมิใจของจุฬาฯ, ภาพข่าว
เมื่อวันพุธที่ 5 สิงหาคม 2563 ศ.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานมอบรางวัล “ผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษา ประจำปี 2563” ในงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2563 (Thailand Research Expo 2020)” ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-6 สิงหาคม 2563ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ
ผลงานจากนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับรางวัล 11 ผลงานจากการประกวด 2 ประเภท ได้แก่
1. รางวัลการเขียนข้อเสนอโครงการ การประกวดผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษา ประจำปี 2563กลุ่มการการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตรรางวัลระดับดีมาก ผลงานเรื่อง “เซ็นเซอร์ฐานกระดาษแบบพกพาสำหรับตรวจวัดโลหะหนักในอาหารกระป๋องจากผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร”รางวัลระดับดี ผลงานเรื่อง “วัคซีนแช่นาโนแบบเกาะติดเยื่อเมือกต้านโรคเหงือกเน่าในปลา”กลุ่มการสาธารณสุข สุขภาพ และเทคโนโลยีทางการแพทย์รางวัลระดับดีมาก ผลงานเรื่อง “ชุดตรวจวัณโรคดื้อยาหลายขนานแบบอ่านผลด้วยตาเปล่าอย่างรวดเร็ว”กลุ่มการพัฒนาเทคโนโลยี ปัญญาประดิษฐ์อุปกรณ์อัจฉริยะ พลังงานและสิ่งแวดล้อมรางวัลระดับดี ผลงานเรื่อง “ชุดกล้อง “MicrosisDCN” วิเคราะห์จุลชีพด้วยโครงข่ายประสาทสำหรับสวมท่อเลนส์ใกล้ตาของกล้องจุลทรรศน์”กลุ่มพัฒนาคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจสร้างสรรค์รางวัลระดับดี ผลงานเรื่อง “เกมการศึกษาเพื่อการส่งเสริมการเรียนรู้เรื่องวงจรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์”
2. รางวัลผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษา ประจำปี 2563กลุ่มการการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตรรางวัลระดับดีเด่น ผลงานเรื่อง “วัคซีนแช่นาโนแบบเกาะติดเยื่อเมือกต้านโรคเหงือกเน่าในปลา”รางวัลระดับดี ผลงานเรื่อง “เซ็นเซอร์ฐานกระดาษแบบพกพาสำหรับตรวจวัดโลหะหนักในอาหารกระป๋องจากผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร”กลุ่มการสาธารณสุข สุขภาพ และเทคโนโลยีทางการแพทย์รางวัลระดับดีมาก ผลงานเรื่อง “ที่นั่งอัจฉริยะเพื่อป้องกันโรคปวดคอและหลังจากการนั่งเป็นระยะเวลานาน”รางวัลระดับดี ผลงานเรื่อง “ชุดตรวจวัณโรคดื้อยาหลายขนานแบบอ่านผลด้วยตาเปล่าอย่างรวดเร็ว”กลุ่มการพัฒนาเทคโนโลยี ปัญญาประดิษฐ์อุปกรณ์อัจฉริยะ พลังงานและสิ่งแวดล้อมรางวัลระดับดีเด่น ผลงานเรื่อง “ชุดกล้อง “MicrosisDCN” วิเคราะห์จุลชีพด้วยโครงข่ายประสาทสำหรับสวมท่อเลนส์ใกล้ตาของกล้องจุลทรรศน์”กลุ่มพัฒนาคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจสร้างสรรค์รางวัลระดับดี ผลงานเรื่อง “นวัตกรรมสิ่งทอโลหะรีไซเคิลสู่การสร้างสรรค์ตราสินค้าเครื่องแต่งกายสตรีรูปแบบอาวองการ์ด”
การประกวดผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษาจัดขึ้นเพื่อบ่มเพาะความรู้สร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชนที่สนใจเป็นนักวิจัย/นักประดิษฐ์ที่มีคุณภาพและมีศักยภาพ อีกทั้งเป็นเวทีนำเสนอผลงานนวัตกรรมที่สามารถเผยแพร่สู่สาธารณชนได้ และส่งเสริมให้นิสิตนักศึกษาระดับอุดมศึกษาได้มีเครือข่ายด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมระหว่างสถาบันการศึกษา รวมถึงภาคเอกชนที่สนใจ โดยในปี 2563 ได้กำหนดกลุ่มเรื่องผลงานสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมให้มีความสอดคล้องกับเรื่อง Thailand 4.0 และ BCG โดยแบ่งเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มการการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร, กลุ่มการสาธารณสุข สุขภาพ และเทคโนโลยีทางการแพทย์, กลุ่มการพัฒนาเทคโนโลยี ปัญญาประดิษฐ์อุปกรณ์อัจฉริยะ พลังงานและสิ่งแวดล้อม และกลุ่มพัฒนาคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ซึ่งปีนี้มีผลงานจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเข้าร่วมจัดแสดงทั้งสิ้น 11 ผลงาน ได้แก่1. กลุ่มการการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตรรางวัลเหรียญทอง “วัคซีนแช่นาโนแบบเกาะติดเยื่อเมือกต้านโรคเหงือกเน่าในปลา”รางวัลเหรียญทอง “เซ็นเซอร์ฐานกระดาษแบบพกพาสำหรับตรวจวัดโลหะหนักในอาหารกระป๋องจากผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร”2. กลุ่มการสาธารณสุข สุขภาพ และเทคโนโลยีทางการแพทย์รางวัลเหรียญทอง “นั่งอัจฉริยะเพื่อป้องกันโรคปวดคอและหลังจากการนั่งเป็นระยะเวลานาน”รางวัลเหรียญทอง “ชุดตรวจวัณโรคดื้อยาหลายขนานแบบอ่านผลด้วยตาเปล่าอย่างรวดเร็ว”3. กลุ่มการพัฒนาเทคโนโลยี ปัญญาประดิษฐ์อุปกรณ์อัจฉริยะ พลังงานและสิ่งแวดล้อมรางวัลเหรียญทอง “ชุดกล้อง “MicrosisDCN” วิเคราะห์จุลชีพด้วยโครงข่ายประสาทสำหรับสวมท่อเลนส์ใกล้ตาของกล้องจุลทรรศน์”รางวัลเหรียญเงิน “เด็กไทยยุคใหม่ใส่ใจเรื่องเงินไปกับ Fins”4. กลุ่มพัฒนาคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจสร้างสรรค์รางวัลเหรียญทอง “เกมการศึกษาเพื่อการส่งเสริมการเรียนรู้เรื่อง วงจรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์”รางวัลเหรียญทอง “นวัตกรรมสิ่งทอโลหะรีไซเคิลสู่การสร้างสร้างสรรค์ตราสินค้าเครื่องแต่งกายสตรีรูปแบบอาวองการ์ด”รางวัลเหรียญทอง “โครงการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้แรงบันดาลใจจากพหุวัฒนธรรม ในย่านเมืองเก่า จังหวัดสงขลา”รางวัลเหรียญทอง “การสร้างอัตลักษณ์แฟชั่นสำหรับยูนิฟอร์มโรงแรมในประเทศไทย”รางวัลเหรียญทอง “เขลางค์ซิตี้อาร์ต”
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ จัดงานเสวนา “ชวนคุยชวนคิด ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร”
17 ต.ค. 67 เวลา 18.00 น.
Facebook Live
เตือนภัย : ข่าวปลอม!! กรุณาอย่ากดลิงก์ใดๆ!!
คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ แถลงข่าวเปิดตัวโครงการ “1 ครอบครัว 1 ซอฟต์พาวเวอร์ (OFOS)” เปิดคอร์สออนไลน์และกิจกรรมเสริมทักษะการผลิตภาพยนตร์
จุฬาฯ จัดงาน Chulalongkorn University’s Open House for International Programs 2025 แนะนำหลักสูตรภาษาอังกฤษของจุฬาฯ สู่การเป็นผู้นำทางการศึกษาระดับนานาชาติ
ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ ปัตตานี คว้ารางวัลระดับชาติ โล่ประกาศเกียรติคุณ “ผู้มีคุณูปการต่อเยาวชนมุสลิมดีเด่นแห่งชาติ” สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ศ.ดร.นพ.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล อดีตรองอธิการบดีจุฬาฯ ได้รับรางวัลบุคคลดีเด่น ประเภทบริหาร ด้านการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม ประจำปี 2567 จากกระทรวงสาธารณสุข
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้