รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
21 สิงหาคม 2563
ข่าวเด่น, ความภูมิใจของจุฬาฯ
จากปัญหาที่พบในเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาซึ่งได้รับความเสียหายค่อนข้างมากจากโรคเหงือกเน่าในปลา โดยไม่มีวิธีการรักษา เป็นแรงบันดาลใจให้ สพ.ญ.สิริกร กิติโยดม นิสิตปริญญาเอก คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ พัฒนางานวิจัยเพื่อแก้ไขและป้องกันโรคเหงือกเน่าให้กับเกษตรกร จึงเป็นที่มาของงานวิจัย “วัคซีนแช่นาโนแบบเกาะติดเยื่อเมือกต้านโรคเหงือกเน่าในปลา” ซึ่งได้รับรางวัลชนะเลิศระดับดีเด่น และเหรียญทองจากการประกวดผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษา 2563 และรางวัลระดับดี การประกวดข้อเสนอโครงการนวัตกรรมสายอุดมศึกษา 2563 กลุ่มการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร จากการประกวดผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษา ประจำปี 2563 จัดโดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
สพ.ญ.สิริกร เปิดเผยว่าผลงานนวัตกรรมนี้เป็นความร่วมมือระหว่างคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กับศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ เพื่อช่วยแก้ปัญหาให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาจากอาการเหงือกเน่าในปลา ซึ่งทำลายระบบการหายใจ ทำให้ปลาตายและเกิดความเสียหายเป็นอย่างมาก ซึ่งในขณะที่ปลาป่วย การใช้ยาหรือสารเคมีไม่สามารถช่วยรักษาปลาได้ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาวัคซีนเพื่อใช้ในการป้องกัน
สพ.ญ.สิริกร กล่าวถึงจุดเด่นของผลงานวิจัยที่ทำให้ได้รับรางวัลว่า เป็นนวัตกรรมที่สามารถนำไปใช้ได้จริงโดย กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงปลา ซึ่งสามารถช่วยป้องกันและลดความเสียหายได้ อีกทั้งมีการใช้นาโนเทคโนโลยีมาพัฒนาทำให้สามารถใช้ได้ง่ายมาก เพียงแค่ใส่ลงไปในน้ำแช่ปลา 30 นาที ตัววัคซีนก็สามารถให้ผลในการป้องกันปลาจากโรคเหงือกเน่าได้ ซึ่งต่างจากวัคซีนปลาในรูปแบบเดิมที่จะต้องทำการฉีดให้กับปลาทีละตัว
“งานวิจัยนี้ช่วยพัฒนาในเรื่องของอุตสาหกรรมการเลี้ยงปลา ช่วยลดความเสียหายกับเกษตรกรผู้เลี้ยงปลา นอกจากนี้ยังทำให้ผู้บริโภคเนื้อปลาได้รับประทานปลาที่ไม่มีสารตกค้างจากการใช้ยาหรือสารเคมี โดยใช้วัคซีนป้องกันแทนการรักษาด้วยยาหรือสารเคมีต่างๆ รวมถึงยังช่วยในเรื่องของสิ่งแวดล้อมในเรื่องของน้ำเน่าเสียที่เกิดจากปลาตายด้วยโรคเหงือกเน่า และยังช่วยลดการใช้ยาหรือสารเคมีในแหล่งน้ำอีกด้วย” สพ.ญ.สิริกร กล่าว
สำหรับการพัฒนาต่อยอดงานวิจัยในอนาคต สพ.ญ.สิริกร เผยว่าจะพัฒนาเพื่อให้สามารถนำวัคซีนชนิดนี้ไปใช้กับปลาชนิดอื่นๆ ในอุตสาหกรรมการเลี้ยงปลา โดยมีภาคเอกชนได้ขออนุญาตนำไปใช้ในอุตสาหกรรมการเลี้ยงปลาขนาดใหญ่แล้ว นอกจากนี้จะพัฒนาวัคซีนเพื่อขยายให้ครอบคลุมไปถึงเชื้อ Aeromonas และ Streptococcosis เพื่อให้อุตสาหกรรมการเลี้ยงปลามีวัคซีนป้องกันโรคได้ทั้งหมด ซึ่งในขณะนี้กลุ่มเกษตรกรเลี้ยงปลากะพง ปลาสวยงามให้ความสนใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากในบ้านเรานอกจากปลาที่นำมาบริโภคแล้ว ยังมีการส่งออกปลาสวยงามต่างๆ อีกด้วย สพ.ญ.สิริกร ฝากทิ้งท้ายถึงนักวิจัยรุ่นใหม่ว่า “การวิจัยให้ประสบความสำเร็จต้องมีความตั้งใจ หลายครั้งที่ในการวิจัยต้องพบเจอปัญหาต่างๆ มากมาย ความตั้งใจเท่านั้นจะทำให้สามารถแก้ไขปัญหาเพื่อให้เกิดความสำเร็จได้ รวมถึงทีมงานร่วมวิจัยก็มีส่วนสำคัญที่จะให้งานราบรื่นและประสบความสำเร็จ”
คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ แถลงข่าวเปิดตัวโครงการ “1 ครอบครัว 1 ซอฟต์พาวเวอร์ (OFOS)” เปิดคอร์สออนไลน์และกิจกรรมเสริมทักษะการผลิตภาพยนตร์
จุฬาฯ จัดงาน Chulalongkorn University’s Open House for International Programs 2025 แนะนำหลักสูตรภาษาอังกฤษของจุฬาฯ สู่การเป็นผู้นำทางการศึกษาระดับนานาชาติ
ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ ปัตตานี คว้ารางวัลระดับชาติ โล่ประกาศเกียรติคุณ “ผู้มีคุณูปการต่อเยาวชนมุสลิมดีเด่นแห่งชาติ” สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ศ.ดร.นพ.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล อดีตรองอธิการบดีจุฬาฯ ได้รับรางวัลบุคคลดีเด่น ประเภทบริหาร ด้านการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม ประจำปี 2567 จากกระทรวงสาธารณสุข
จุฬาฯ เปิดโครงการอบรมครู “พิพิธภารัต 2567” และพิธีลงนาม MOU ส่งเสริมการสอนภาษาฮินดี
เชิญชวนนิสิตร่วมโครงการประเมินผลการเรียนการสอนออนไลน์ผ่านระบบ myCourseVille ปีการศึกษา 2567
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้