รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
26 สิงหาคม 2563
ภาพข่าว
จุฬาฯ เปิดตัว “ศูนย์ปฏิบัติการศิลปกรรมดิจิทัล” (FAAMAI Digital Arts Hub) สร้างองค์ความรู้ เร่งพัฒนาศักยภาพบุคลากรไทย ยกระดับประเทศไทยสู่ฮับดิจิทัลอาร์ตของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมมือสำนักงานจัดการทรัพย์สินจุฬาฯ และปิโก (ไทยแลนด์) จัดตั้ง “ศูนย์ปฏิบัติการศิลปกรรมดิจิทัล” หรือ FAAMAI Digital Arts Hub เป็นศูนย์รวมองค์ความรู้ด้านดิจิทัลอาร์ตของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ผนวกองค์ความรู้ด้านศิลปะ และเทคโนโลยีด้านดิจิทัล สร้างกระแสตื่นตัวด้านดิจิทัลอาร์ตให้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง เร่งสร้างคน เติมเต็มความต้องการบุคลากรด้านดิจิทัลอาร์ตที่กำลังขาดแคลนทั่วโลก
อ.จนัธ เที่ยงสุรินทร์ ผู้อํานวยการศูนย์ปฏิบัติการศิลปกรรมดิจิทัล หรือ FAAMAI Digital Arts Hub เปิดเผยว่า “ดิจิทัลอาร์ตคือการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะของศิลปิน ควบคู่ไปกับเทคโนโลยี ในบางครั้ง ยังรวมผู้ชมเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์กับผลงานได้อีกด้วย เทคโนโลยีดิจิทัลได้เปิดพรมแดนศิลปะแบบใหม่ให้ทั้ง ตัวศิลปินและผู้ชมได้สัมผัสประสบการณ์ใหม่ซึ่งศิลปะแบบดั้งเดิมไม่สามารถทำได้ ในประเทศไทยดิจิทัลอาร์ตเป็นสาขาวิชาที่ยังมีโอกาสเติบโตอีกมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างงานในลักษณะข้ามสาขา ไม่ว่าจะเป็นงานด้านภาพ เสียง หรือศิลปะการแสดง
จนัธ กล่าวว่าโครงการศูนย์ปฏิบัติการศิลปกรรมดิจิทัล หรือ FAAMAI (Fine and Applied Arts Multidisciplinary Art Innovation Program) เป็นโครงการที่ริเริ่มโดยคณาจารย์ในคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับการสนับสนุนด้านเงินทุนและความช่วยเหลือด้านการบริหารจัดการจากโครงการสร้างเสริมพลังจุฬาฯ กองทุนศตวรรษที่ 2 (C2F) ภายใต้การดูแลของคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ได้ลงนามความตกลงความร่วมมือกับสำนักงานจัดการทรัพย์สินจุฬาฯ (PMCU) ซึ่งให้ความอนุเคราะห์เรื่องสถานที่ตั้ง ณ บริเวณพื้นที่ด้านข้างอุทยาน 100 ปี จุฬาฯ ตลอดจนสาธารณูปโภคพื้นฐาน และบริษัทปิโก (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) ให้ความอนุเคราะห์ในเรื่องโครงสร้างโดมยักษ์ FAAMAI Dome ซึ่งเป็นโดมเส้นผ่านศูนย์กลาง 35 เมตร ความสูง 17.5 เมตร เป็นโดมที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และเอเชียแปซิฟิก ตั้งอยู่บริเวณด้านหลังอุทยาน 100 ปี จุฬาฯ รวมทั้งถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาผสานกับผลงานศิลปะ ทำให้ดิจิทัลอาร์ตน่าสนใจมากยิ่งขึ้น ตลอดจนพัฒนาองค์ความรู้ด้านดิจิทัลอาร์ตผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น โครงการประกวด และเวิร์คช็อปต่างๆ
“FAAMAI Digital Arts Hub เป็นศูนย์รวมองค์ความรู้ และงานด้านดิจิทัลอาร์ตของนิสิต นักศึกษา นักวิจัย ศิลปินไทยและต่างประเทศ ตลอดจนบุคคลทั่วไป เพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพของนิสิตและคณาจารย์ในด้านดิจิทัลอาร์ตให้ทัดเทียมกับระดับนานาชาติ ทั้งในแง่ของการสร้างสรรค์ผลงานและความรู้ในด้านเทคโนโลยีใหม่ ในระยะยาวก่อให้เกิดการขับเคลื่อนด้านเศรษฐกิจของประเทศนอกจากกิจกรรมทางศิลปะแล้ว พื้นที่นี้ ยังเปิดให้บริการแก่หน่วยงานและองค์กรภายนอก เพื่อใช้สำหรับจัดกิจกรรมต่างๆ เช่น นิทรรศการ อีเว้นท์ งานประชุม ฯลฯ เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจ และสร้างภาพลักษณ์ให้สินค้าและบริการให้มีความเป็นนวัตกรรม ตื่นเต้น และทันสมัย รวมทั้งเพื่อกระตุ้นให้เกิดกิจกรรมในชุมชน สร้างความตื่นตัวและสีสัน สร้างการมีส่วนร่วมและความภาคภูมิใจให้คนในชุมชน ตลอดจนสร้างรายได้ให้กับร้านค้าในชุมชนอีกด้วย” ผู้อำนวยการโครงการฯ กล่าวเสริม
ศ.ดร.บุษกร บิณฑสันต์ คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เปิดเผยว่า คณะฯ มีพันธกิจในการผลิตศิลปินบัณฑิตที่มีความรู้ความชำนาญด้านทักษะและความคิดสร้างสรรค์ เป็นผู้ริเริ่ม บุกเบิก แสวงหา คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น เพื่ออนุรักษ์ส่งเสริมและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมเพื่อสังคมไทยสืบไป
“เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไปสู่ยุคดิจิทัล เราจึงควรใช้ประโยชน์จากสื่อดิจิทัลในมิติของการอนุรักษ์และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมของชุมชนให้เต็มที่ ซึ่งแต่ละชุมชนก็จะมีศิลปวัฒนธรรมและประเพณีอันเป็นเอกลักษณ์ และมีเสน่ห์เป็นของตัวเอง ดังนั้นเมื่อเกิดดิจิทัลอาร์ตขึ้นจะช่วยให้ง่ายต่อการสร้างการรับรู้ การส่งต่อและเผยแพร่ศิลปะในวงกว้าง ในขณะเดียวกันยังช่วยเปิดโลกทัศน์ในการเรียนรู้สิ่งใหม่ สร้างความรื่นรมย์ ผ่อนคลาย ตลอดจนสร้างความภาคภูมิใจให้กับคนในชุมชนอีกด้วย” ศ.ดร.บุษกร กล่าว
ศ.ดร.บุษกร กล่าวเพิ่มเติมว่า บุคลากรและศิลปินด้านดิจิทัลอาร์ตแขนงต่างๆ ในประเทศไทยถือว่ายังมีน้อยเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ แต่เราก็มีบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญและมีศิลปินที่มีชื่อเสียงในระดับโลกด้วยเช่นกัน ดังนั้นในฐานะที่คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เป็นแหล่งบ่มเพาะและสร้างศิลปินแขนงต่างๆ จึงควรสนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดการตื่นตัวด้านดิจิทัลอาร์ตในประเทศไทยอย่างเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น เพราะศาสตร์ด้านนี้จะเข้ามามีบทบาทที่สำคัญต่อโลกของเรา หากเราสามารถพัฒนาบุคลากรเพื่อเข้าสู่อุตสาหกรรมนี้ได้ ก็จะส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ปัจจุบันนักเรียน นิสิตนักศึกษาให้ความสนใจเข้ามาเรียนเกี่ยวกับดิจิทัลอาร์ตเพิ่มมากขึ้น เพราะคนไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีบุคลากรที่มีความสามารถและศักยภาพสูง ดังนั้นหากเรายิ่งกระตุ้นให้เยาวชนไทยเห็นความสำคัญของดิจิทัลอาร์ต เราก็จะมีบุคลากรและศิลปินที่ เข้ามาทำงานในตลาดดิจิทัลอาร์ตเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น
คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จึงมุ่งสร้างพันธมิตรและเครือข่ายทั้งกับภาครัฐและเอกชน รวมทั้งระดับสากลมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นทางด้านองค์ความรู้ทางวิชาการ ด้านเทคโนโลยี และนวัตกรรมใหม่ๆ ตลอดจนศิลปินผู้ผลิตผลงานดิจิทัลอาร์ต โดยร่วมมือกับ Bauhaus University มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงด้านดิจิทัลอาร์ตระดับโลก วางแผนร่วมจัดเวิร์คช็อป ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้นิสิตนักศึกษาและบุคลากรของไทย
อาจารย์และนิสิตสถาปัตย์ จุฬาฯ ร่วม Workshop กับอาจารย์และนักศึกษา Tokyo Metropolitan University ที่ญี่ปุ่น
อาจารย์และนิสิตภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วม Workshop กับอาจารย์และนักศึกษาจาก Faculty of Urban Environmental Sciences, Tokyo Metropolitan University ประเทศญี่ปุ่น (TMU)
จุฬาฯ ร่วมพิธีวางพวงมาลาถวายสักการะและจัดพิธีบำเพ็ญกุศลอุทิศถวายพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรเนื่องใน “วันนวมินทรมหาราช”
ละครนิเทศจุฬาฯ 2567 “ด้ายแดงเป็นเหตุ Unfortunate Love”
24 - 26 มกราคม 2568
ณ โรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศ ชั้น 7 อาคารสยามสแควร์
จุฬาฯ ต้อนรับคณะศึกษาดูงานด้านการบริหารความเสี่ยงจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แบ่งปันประสบการณ์การพัฒนาระบบบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัย
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ จัดอบรมเรื่อง “กัญชาทางการแพทย์: ความรู้ที่ต้องมีสำหรับเภสัชกรยุคใหม่”
11 ธ.ค. 67 เวลา 09.00 – 12.15 น.
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ และ Zoom
คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดอบรมโครงการ “Next-Gen Arts: พัฒนาศักยภาพครูศิลปะด้วย Soft Power”
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้