รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
3 กันยายน 2563
ข่าวเด่น, ความภูมิใจของจุฬาฯ
คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ ริเริ่ม “LawLAB” นวัตกรรมห้องปฏิบัติการทางกฎหมาย แพลตฟอร์มใหม่การเรียนกฎหมายจากประสบการณ์จริง โดยได้จัดงานเปิดตัว “LawLAB” เมื่อวันพุธที่ 2 กันยายนที่ผ่านมา ณ ห้องประชุมสุรเกียรติ์ เสถียรไทย ชั้น 4 อาคารเทพทวาราวดี คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ
ผศ.ดร.ปารีณา ศรีวนิชย์ คณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ เปิดเผยว่า “LawLAB” เป็นโครงการที่นิสิตได้เรียนรู้ผ่านการทำงานร่วมกับสำนักงานทนายความ เพื่อตอบโจทย์และให้ความรู้ด้านกฎหมายสำหรับบริษัท Startup ปกติมหาวิทยาลัยต่างๆ จะมีโครงการที่เรียกว่า Mentoring Program ที่ให้น้องๆ นิสิตได้เจอกับรุ่นพี่ที่ประสบความสำเร็จในวิชาชีพ เพื่อเป็นแรงบันดาลใจในการทำงาน ในขณะเดียวกันก็จะมีกิจกรรมฝึกงาน จึงเป็นโอกาสอันดีที่เราจะสามารถผสมผสานสองโครงการนี้เข้าด้วยกัน เกิดเป็นโครงการ LawLAB ทำให้นิสิตได้รับแรงบันดาลใจพร้อมๆ กับการเรียนรู้ในเรื่องของการปฏิบัติงานในวิชาชีพไปพร้อมๆ กัน
อ.ดร.อาร์ม ตั้งนิรันดร รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่าการจัดการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์จริงของนิสิตนอกเหนือจากการเรียนในห้องเรียนในรูปของการจัดโครงการ LawLAB ถือได้ว่าเป็นประวัติศาสตร์ของการเรียนกฎหมาย เป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่มีการเรียนเชิงปฏิบัติการภายในคณะนิติศาสตร์ และเป็นนวัตกรรมในด้านการเรียนการสอนอย่างแท้จริง
อ.ดร.ภูมิศิริ ดำรงวุฒิ ผู้ช่วยคณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ ในฐานะผู้ดูแลโครงการฯ ให้ข้อมูลว่าโครงการนี้ทำให้นิสิตมีพัฒนาการด้านการเรียนรู้หลักๆ ถึง 3 ด้าน ได้แก่ ทักษะที่เป็น Softskill การเรียนรู้อย่างเป็นองค์รวม และการเข้าใจปัญหาด้านกฎหมาย จนได้ทางเลือกในการแก้ปัญหาที่เป็นประโยชน์และใช้ได้จริงกับ Startup ซึ่งตนรู้สึกภูมิใจมาก
คุณชวลรรค ศิวยาธร อาราเนตา ทนายความที่ปรึกษาจากบริษัทที่ปรึกษากฎหมาย ธนาธิป แอนด์ พาร์ทเนอร์ส จำกัด กล่าวว่า ตนในฐานะนิสิตเก่า ถือเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาบุคลากร นิสิตของคณะ ถือเป็นนวัตกรรมใหม่ที่ช่วยติดอาวุธให้นิสิตเมื่อจบออกไปแล้วสามารถสร้างอาชีพและช่วยเหลือสังคมได้ เป็นการบูรณาการอย่างครบถ้วน ดึงศักยภาพของนิสิตออกมา และสามารถตอบโจทย์ได้อย่างแท้จริง
คุณนภัทร ตติยารัตน์ ตัวแทน Startup แพลตฟอร์ม “แสนดี” เผยถึงประสบการณ์ที่ได้รับจากการเข้าร่วมโครงการฯ ครั้งนี้ว่า รู้สึกขอบคุณอาจารย์และน้องๆ นิสิต รวมถึงพี่ๆ ทีมที่ปรึกษาทางด้านกฎหมาย ผลลัพธ์ที่ได้ถือว่าเกินความคาดหมายมากๆ ข้อกังวลทางกฎหมายทุกอย่างได้รับการแก้ไขในที่สุด
ด้านความเห็นของนิสิตที่เข้าร่วมโครงการ LawLAB กันตา สุเมธโชติเมธา นิสิตชั้นปีที่ 4 กล่าวว่า “LawLAB เป็นโครงการที่ดีมาก เปิดโอกาสให้นิสิตได้เรียนรู้การทำงาน ทั้งการใช้กฎหมาย การวิจัย การติดต่อกับ Startup ซึ่งเปรียบเสมือนการทำงานกับลูกความจริงๆ ตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนถึงขั้นสุดท้าย โดยตนทำงานร่วมกับบริษัทแสนดีซึ่งเป็นธุรกิจ Donation Platform ก่อนการทำงานจริงทางคณะฯ ได้จัดอบรมให้ความรู้ในเรื่องกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ Startup แก่นิสิตด้วย”
ภัทรานิษฐ์ พรหมอารักษ์ นิสิตชั้นปี 4 เผยว่า “รู้สึกดีใจและมองว่าเป็นโอกาสพิเศษมากๆ ที่ได้มีส่วนร่วมกับโครงการ ส่วนตัวได้เรียนรู้หลายอย่างมาก เพราะปกติแล้วตนได้เรียนเฉพาะตัวกฎหมาย แต่ยังไม่เคยได้นำไปปรับใช้ในด้านธุรกิจจริงๆ หรือทราบว่าความรู้ทางด้านกฎหมายสามารถช่วยให้ธุรกิจ Startup เติบโตอย่างยั่งยืนได้อย่างไร ซึ่งเป็นการเปิดโลกทัศน์ต่อตัวเองอย่างมาก”
พสิน ฉันทชัยวัฒน์ นิสิตชั้นปีที่ 2 กล่าวว่า “LawLAB ทำให้นิสิตได้เห็นภาพที่แท้จริงของกฎหมายในแง่ธุรกิจได้ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งการเรียนในห้องเรียนอาจจะยังไม่เห็นภาพของงานที่นิสิตจะเข้าไปทำงานจริงๆ ว่านิสิตควรที่จะมีทักษะอะไรบ้างที่จำเป็นต่อการทำงานในศตวรรษที่ 21 โครงการนี้ช่วยให้นิสิตมีมุมมองต่อธุรกิจและสังคมกว้างขวางขึ้นจากประสบการณ์ที่ได้รับจริงๆ”
คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ ได้ริเริ่มโครงการห้องปฏิบัติการทางกฎหมาย (LawLAB) ขึ้น เพื่อให้นิสิตได้เรียนรู้ปัญหากฎหมายและการทำงานด้านกฎหมาย โดยเน้นกฎหมายที่กำลังเข้ามามีความสำคัญกับเศรษฐกิจและสังคมไทยในอนาคต LawLAB จึงเป็นแพลทฟอร์มการเรียนกฎหมายรูปแบบใหม่ของนิสิตจากการปฏิบัติจริงร่วมกับนักกฎหมายมืออาชีพ คณาจารย์ ภาคธุรกิจ และหน่วยงานต่างๆ เป็นนวัตกรรมทางกฎหมายที่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคมไทย
ในปี 2562 ซึ่งเป็นปีแรกที่มีการก่อตั้ง LawLAB คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ ได้นำร่องโครงการ LawLAB โดยเปิดเป็น LawLAB for Startup หรือห้องปฏิบัติการกฎหมายสำหรับวิสาหกิจเริ่มต้น (Startups) เป็นห้องปฏิบัติการแรก ซึ่งกระบวนการการทำงานเริ่มจากนิสิตเข้ารับการอบรมความรู้เบื้องต้นในประเด็นกฎหมายสำหรับภาคธุรกิจ หลังจากนั้นนิสิตต้องทำงานร่วมกับ Startups แลกเปลี่ยนเรียนรู้และสกัดประเด็นปัญหาทางกฎหมายที่ภาคธุรกิจประสบอยู่มาวิเคราะห์ ค้นคว้า และหาคำตอบภายใต้การให้คำปรึกษาของโค้ชซึ่งเป็นทนายความผู้มีประสบการณ์ที่ทำงานในบริษัทที่ปรึกษากฎหมาย แล้วนำเสนอแก่บริษัท Startups โครงการนำร่องในรุ่นแรกนี้มีนิสิตเข้าร่วมโครงการจำนวน 10 ทีม ประกอบด้วย นิสิต 19 คน ทนายความจากบริษัทที่ปรึกษากฎหมายจำนวน 10 แห่ง และ Startup อีกจำนวน 10 แห่ง ซึ่งดำเนินธุรกิจที่หลากหลาย เช่น แพลตฟอร์มการบริจาค ศูนย์แลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิตอล แพลตฟอร์มมวยไทย หรือแอปพลิเคชั่นการเรียนภาษาโดยภาพเสมือนจริง เป็นต้น ทั้งหมดนี้ภายใต้การควบคุมอย่างใกล้ชิดของอาจารย์ผู้รับผิดชอบโครงการ
สำหรับในปีการศึกษา 2563 คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ ได้เปิดตัว LawLAB ในรูปแบบแพลตฟอร์มอย่างเป็นทางการ ซึ่งไม่ได้มีแค่ LawLAB for Startups เท่านั้น โดยจะมีห้องปฏิบัติการหลายๆ ห้อง เพื่อให้นิสิตได้ทำงานในหัวข้อที่หลากหลาย และสอดคล้องกับความต้องการของเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน ทั้งนี้แต่ละห้องปฏิบัติการจะมีวิธีการและขั้นตอนการดำเนินงานแตกต่างกัน แต่ทุกห้องปฏิบัติการมุ่งให้นิสิตมีโอกาสทำงานกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน หรือภาคประชาชนจริงๆ เพื่อเรียนรู้ปัญหา วิเคราะห์ ศึกษาค้นคว้า และหาทางแก้ไข โดยมีนักกฎหมายมืออาชีพ และคณาจารย์ ให้คำปรึกษาแนะนำและกำกับอย่างใกล้ชิด ผลงานที่นิสิตสร้างขึ้นจากการทำงานร่วมกับภาครัฐ ภาคเอกชน หรือภาคประชาชน เป็นการนำความรู้ทางด้านกฎหมายไปใช้ประโยชน์จริง
เสวนาประเด็นสิ่งแวดล้อม (Green Talk) ครบรอบ 50 ปี สถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน จุฬาฯ
PMCU จับมือ ‘POP MART CHARITY MINI CONCERT’ ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม
จุฬาฯ จัดงานขอบคุณชาวจุฬาฯ ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จ “Great Hearts, Great Success”
สถาบันวิจัยสังคม จุฬาฯ จัดงาน Mekong Environment Resilience Week ขับเคลื่อนการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
จุฬาฯ จัดเสวนาวิชาการ Chula The Impact ครั้งที่ 25 “แพลตฟอร์มจุฬาฯ ฝ่าพิบัติ: Digital War Room” นวัตกรรมทำนายพื้นที่น้ำท่วมและแนวดินถล่มจากอุทกภัย
นิสิต BBA จุฬาฯ กวาดรางวัลจากเวทีระดับโลก ASEAN-CHINA-INDIA Youth Leadership Summit 2024
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้