รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
14 กันยายน 2563
ข่าวเด่น, ความภูมิใจของจุฬาฯ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดเสวนาวิชาการที่ส่งผลกระทบอย่างยิ่งต่อการแก้ปัญหาสังคม Chula The Impact ครั้งที่ 1 ในหัวข้อ “จุฬาฯ – ใบยาวัคซีน นวัตกรรมไทย ไขวิกฤติ Covid–19” นำเสนอความก้าวหน้าการผลิตวัคซีนป้องกัน COVID-19 จากใบพืช โดย “ใบยา ไฟโตฟาร์ม” บริษัทสตาร์ทอัพสัญชาติไทยที่ได้รับการบ่มเพาะจาก CU Innovation Hub เมื่อวันศุกร์ที่ 11 กันยายน 2563 ณ เรือนจุฬานฤมิต โดยมี ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ กล่าวเปิดงานและแสดงวิสัยทัศน์ด้านนโยบายนวัตกรรมขับเคลื่อนสังคมของจุฬาฯ และได้รับเกียรติจาก นพ.นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ ปาฐกถาพิเศษเรื่อง “บทบาทและการสนับสนุนศักยภาพการผลิตวัคซีนในประเทศไทย”
ในงานมีวิทยากรผู้เชี่ยวชาญร่วมเสวนาคับคั่ง ประกอบด้วย ศ.นพ.ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล รองอธิการบดีจุฬาฯ ศ.นพ.ธีรวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และ ผศ.ภญ.ดร.สุธีรา เตชคุณวุฒิ อาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ และ CEO & Co Founder บริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด ผู้ร่วมคิดค้นวัคซีนป้องกัน COVID-19 จากใบพืชตระกูลยาสูบ ดำเนินรายการโดย อ.ภก.ดร.วีระพงษ์ ประสงค์จีน คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ
ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ กล่าวว่า งานเสวนาในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าจุฬาฯ เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่พร้อมช่วยเหลือสังคมไทย วันนี้เป้าหมายของเราไม่ได้เน้นเฉพาะที่สังคมไทย แต่ขยายไปถึงสังคมโลก วัคซีนป้องกันโรค COVID-19 เป็นอีกนวัตกรรมที่จุฬาฯ มีความภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง โดยได้รับความร่วมมือจากภาคส่วนต่างๆ ที่ร่วมสนับสนุนให้ทีมวิจัยของบริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม ซึ่งเป็นอาจารย์จากคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ สามารถพัฒนาวัคซีนขึ้นมาได้ COVID-19 ไม่ได้สร้างปัญหาทางด้านสาธารณสุขเท่านั้น แต่ส่งผลต่อเนื่องทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม ซึ่งวิกฤตด้านเศรษฐกิจจะยังคงอยู่ยาวไปอีกอย่างน้อยอีก 2 ปี จนกว่าจะมีวัคซีนออกมา ดังนั้นวัคซีนจากบริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม หรือทีมวิจัยจากคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ จะเป็นอีกความหวังหนึ่งซึ่งสามารถผลิตตั้งแต่ต้นจนสิ้นสุดโครงการภายในประเทศได้สำเร็จ นอกจากนี้ จุฬาฯ ยังมีวัคซีน mRNA ซึ่งกำลังพัฒนาอย่างแข็งขันเช่นเดียวกัน เรากำลังวิ่งเข้าใกล้เส้นชัย แม้ว่าอาจจะยังต้องใช้เวลาอีกพอสมควร
นพ.นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ กล่าวว่า สถาบันวัคซีนแห่งชาติต้องขอบคุณจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่เป็นที่พึ่งในเรื่องวิชาการและนวัตกรรมด้านการพัฒนาวัคซีน COVID-19 ให้กับประเทศของเรา ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา สถาบันวิจัยวัคซีนแห่งชาติได้รวบรวมสรรพกำลังกับจุฬาฯ และหน่วยงานต่างๆ เพื่อที่จะวางแผนวิจัยพัฒนาวัคซีนร่วมกัน ผ่านมา 6 เดือนเศษ เราได้เห็นปรากฏการณ์ของความร่วมมือเป็นอย่างมาก ถือว่าพวกเรากำลังทำงานที่สำคัญของประเทศ เพื่อให้ประเทศของเราเดินหน้าต่อไปได้ ที่จริงแล้วการวิจัยและพัฒนาวัคซีนหนึ่งตัว ต้องใช้เวลานานนับสิบปี ซึ่งในระยะเวลา 6 เดือน ประเทศไทยมีนักวิจัยที่สามารถพัฒนาวัคซีนต้นแบบได้มากกว่า 20 ชนิด ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน เป็นการรวบรวมความรู้ความสามารถเพื่อเข้ามาช่วยกัน และหวังว่าเราจะสามารถพัฒนาต่อไปได้จนกระทั่งมีวัคซีน COVID-19 ที่เราผลิตได้เอง เพื่อความยั่งยืน พึ่งพาตัวเองได้ ในขณะเดียวกัน เราก็ต้องค้นหาความร่วมมือระหว่างประเทศไปพร้อมๆ กันด้วย เป้าหมายคือเพื่อให้ประชาชนคนไทยได้มีวัคซีน COVID-19 ไม่ช้าไปกว่านานาประเทศ
ศ.นพ.ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล รองอธิการบดีจุฬาฯ เปิดเผยว่า สถานการณ์การระบาดของโรค COVID-19 เป็นปัญหาในหลายมิติ ทั้งเรื่องของสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และความเป็นอยู่ของประชาชน จุฬาฯ พร้อมนำองค์ความรู้จากศาสตร์สาขาต่างๆ ไปตอบโจทย์ที่เป็นปัญหาใหญ่ของประเทศ ทุกขั้นตอนของการพัฒนาวัคซีน ได้มีการวางแผนหารือร่วมกับสถาบันวัคซีนแห่งชาติ องค์การอาหารและยา (อย.) และคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ เพื่อให้ได้รับการรับรองอย่างถูกต้องตามมาตรฐานที่สามารถใช้เพื่อการวิจัยในมนุษย์ ระยะที่ 1 สำหรับขั้นตอนต่อไปอยู่ในระหว่างการเจรจาจัดหาโรงงานผลิตวัคซีนที่ได้มาตรฐาน ซึ่งหากบรรลุข้อตกลงจะนำไปสู่การพัฒนาโรงงานผลิตวัคซีนจากใบพืชแห่งแรกของประเทศไทยและอาเซียน
ศ.นพ.ดร.นรินทร์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ที่ศูนย์วิจัยไพรเมท อ.แก่งคอย จ.สระบุรี มีการเตรียมห้องแล็บ ที่เรียกว่า ABSL3 (Animal Bio-Safety Level 3) ซึ่งต้องใช้ความปลอดภัยสูงมาก โดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล สถาบันวัคซีนแห่งชาติ และงบประมาณส่วนหนึ่งจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อรองรับการทดลองและการทำ Challenge เพื่อให้ได้ข้อมูลว่าในลิงนั้นมีการตอบสนองได้ดีแค่ไหน ปลอดภัยหรือไม่ สำหรับองค์ความรู้ที่ได้รับจากการผลิตวัคซีนของต่างชาติ เราอาจจะนำองค์ความรู้เหล่านั้นมาเร่งพัฒนาและทดสอบวัคซีนของเรา เราคงจะหวังพึ่งวัคซีนจากต่างชาติได้ยากมาก เพราะสถานการณ์โควิด-19 ในต่างประเทศหนักหนากว่าบ้านเรา เราหวังพึ่งพิงด้านองค์ความรู้ เพื่อมาช่วยเร่งการพัฒนาวัคซีน ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของวัคซีน mRNA ของ ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม หรือวัคซีนจากใบยา ซึ่งถ้าเราทำได้เร็วขึ้น และมีโรงงานผลิตที่ได้รับมาตรฐาน ก็จะตอบโจทย์ในการป้องกันโรคโควิด-19 สำหรับคนไทยได้เร็วที่สุด
“ประเด็นที่สำคัญในการผลิตวัคซีนคือเรื่องของความปลอดภัย และต้องได้ผล ที่สำคัญคือคนไทยสามารถเข้าถึงได้ ถ้าเราผลิตวัคซีนเพื่อคนไทย ก็ต้องทำให้คนไทยอย่างน้อย 60-70 % ได้รับวัคซีนดังกล่าว” ศ.นพ.ดร.นรินทร์ กล่าวในที่สุด
ศ.นพ.ธีรวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เผยว่า กระบวนการผลิตวัคซีนเป็นการทำเพื่อคนไทยทั้งหมด โดยไม่ได้มีการแบ่งแยกในเรื่องของสถาบันหรือองค์กร ผลการทดสอบวัคซีนใบยาโดยฉีดในลิงและหนู พบว่าระดับของการยับยั้งไวรัสนั้นค่อนข้างสูง พอๆ กับที่เราได้เห็นในรายงานของต่างประเทศ ซึ่งตรงนี้เป็นสิ่งที่เราพอใจ การทดสอบในมนุษย์หรือในคนไทยซึ่งคาดว่าจะทำได้ในช่วงกลางปี
หน้าถือเป็นโอกาสอันดี สิ่งที่สำคัญคือ ในช่วง 6-9 เดือนข้างหน้าต่อไปนี้ ประเทศไทยต้องไม่เกิดการระบาด เราจะไม่มีทางเลือกและจำเป็นต้องพัฒนาวัคซีนออกมา ดังนั้นคนไทยต้องการ์ดไม่ตก และรักษาระยะห่าง
“จริงๆ แล้วยังมีเชื้อโรคที่กำลังดาหน้าเข้ามา และสามารถทำอันตรายกับมนุษย์ ขณะนี้หากมีอะไรเกิดขึ้นที่โผล่เข้ามา เราต้องถอดรหัสพันธุกรรมให้ได้ทันทีก่อน ซึ่งเป็นกระบวนการที่สำคัญมาก เพราะหากเกิดการแพร่กระจายโดยที่เราไม่รู้จักชื่อ ก็จะไม่สามารถป้องกันได้ทันท่วงที” ศ.นพ.ธีรวัฒน์ กล่าว
ผศ.ภญ.ดร.สุธีรา เตชคุณวุฒิ ผู้ร่วมคิดค้นวัคซีนป้องกัน COVID–19 จากใบพืช ร่วมกับ รศ.ดร.วรัญญู พูลเจริญ เผยถึงความคืบหน้าของวัคซีนป้องกัน COVID–19 จากใบพืชตระกูลยาสูบ สปีชีส์ “N. benthamiana” ผลงานจากบริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด สตาร์ทอัพสัญชาติไทยที่ได้รับการบ่มเพาะจากศูนย์กลางนวัตกรรมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CU Innovation Hub : CUI) ที่กำลังพัฒนาวัคซีนต้นแบบทั้งสิ้น 6 ชนิดว่า ขณะนี้วัคซีนต้นแบบชนิดแรก “Baiya SARS–CoV–2 Vax 1” ได้นำไปฉีดในสัตว์ทดลองและดำเนินการเสร็จสิ้นในขั้นตอนของการทดลองในสัตว์ทดลองทั้ง 2 ชนิด ได้แก่ หนูขาวและลิง ซึ่งผลที่ได้อยู่ในระดับที่น่าพอใจ สามารถกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันในสัตว์ทดลองทั้ง 2 ชนิดได้ในปริมาณสูงจากการฉีดวัคซีนเพียง 2 ครั้ง โดยขั้นตอนต่อจากนี้ จะมีการทดสอบวัคซีนในหนูอีกครั้ง เพื่อทดสอบความเป็นพิษหรือผลข้างเคียงต่ออวัยวะต่างๆ โดยละเอียด จากการทดสอบดังกล่าวทำให้จะสามารถกำหนดปริมาณและขนาดของวัคซีนที่จะนำไปใช้ศึกษาในมนุษย์ต่อไปได้ ทั้งนี้จะมีการตรวจสอบภูมิคุ้มกันของลิงหลังจากได้รับวัคซีนไปแล้ว 6 เดือน เพื่อให้แน่ใจว่าลิงยังคงมีแอนติบอดีต่อเชื้อ COVID-19 อยู่หรือไม่ ซึ่งจะนำไปสู่ข้อสรุปที่ว่าวัคซีนดังกล่าวนี้ สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ในระยะยาวได้เป็นผลสำเร็จ
ผศ.ภญ.ดร.สุธีรา กล่าวถึงความคืบหน้าในการพัฒนาวัคซีนว่า ตอนนี้ได้ผ่านการทดสอบในหนูและในลิงแล้ว พบว่าผลการทดสอบสามารถที่จะกระตุ้นภูมิคุ้มกันและได้ผลค่อนข้างดี เทียบกับวัคซีนที่ผลิตในต่างประเทศได้ ในขั้นตอนต่อไปก็ต้องมาดูว่าลิงที่เราฉีดวัคซีนให้ ภูมิคุ้มกันลดลงหรือไม่ และทำ Challenge คือการฉีดไวรัสแล้วดูว่าจะสามารถป้องกันการติดเชื้อได้หรือไม่ รวมถึงทดสอบในหนูแฮมสเตอร์ด้วย สุดท้ายจะทำการทดสอบความเป็นพิษในสัตว์ทดลอง โดยใช้สัตว์ทดลองจำนวนมาก แล้วดูว่าตัววัคซีนกระจายไปในส่วนไหนบ้างในร่างกาย มีลักษณะที่เป็นพิษเกิดขึ้นหรือไม่ ก่อนที่จะผลิตในระดับอุตสาหกรรม ภายใต้มาตรฐานที่ได้รับ GMP แล้วจึงทำการทดสอบในมนุษย์ต่อไป
“เราเดินหน้าพัฒนาวัคซีน เพราะรู้ว่าเป็นเรื่องที่รอไม่ได้และมีความจำเป็นมากในเวลานี้ และนี่คือสาเหตุที่เราดำเนินการโดยไม่ได้รองบประมาณช่วยเหลือ รัฐบาลได้ให้ความช่วยเหลือผ่านสถาบันวัคซีนแห่งชาติ มีการประสานงานเรื่ององค์ความรู้ การทดสอบ และการประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ซึ่งเรายินดีที่จะทำงานกับทุกภาคส่วนเพื่อจะทำให้คนไทยได้มีวัคซีนใช้” อาจารย์นักวิจัยวัคซีนจากใบยา
“กระบวนการวิจัยและพัฒนาวัคซีนนั้นค่อนข้างใช้เวลานาน เปรียบเหมือนกับการวิ่งมาราธอน ขณะนี้เรากำลังพยายามวิ่งมาราธอนด้วยความรวดเร็วอย่างที่สุด แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือความมั่นใจว่าวัคซีนที่ผลิตได้และจะนำไปใช้นั้นมีความปลอดภัยซึ่งต้องผ่านการทดสอบและขั้นตอนต่างๆ” ผศ.ภญ.ดร.สุธีรา กล่าวทิ้งท้าย
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์พระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตจุฬาฯ ปีการศึกษา 2566 เป็นวันที่สอง
การประชุมวิชาการ “พระเสด็จโดยแดนชล” วัฒนธรรมเห่เรือในวรรณคดีและศิลปกรรมไทย และพิธีมอบรางวัลการประกวดบทร้อยกรองประเภทกาพย์เห่ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 72 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
อาสาสมัครกาชาดจากจุฬาฯ ร่วมกิจกรรมช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์
ความประทับใจของบัณฑิตจุฬาฯ ในรั้วจามจุรี และพิธีพระราชทานปริญญาบัตรที่ภาคภูมิใจ
นิสิตคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมแสดงผลงานแฟชั่นและสิ่งทอในงาน centralwOrld Thailand Graduate Fashion Week 2024
วิศวฯ จุฬาฯ เชิญร่วมบริจาคโลหิตถวายเป็นพระราชกุศลเนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 72 พรรษา
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้