ข่าวสารจุฬาฯ

จุฬาฯ เปิดให้นักศึกษาต่างชาติเรียนออนไลน์ โครงการ Virtual Student Exchange Program

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้การเดินทางข้ามประเทศของนักศึกษาจากนานาชาติไม่สามารถทำได้ตามปกติ การเรียนออนไลน์จึงเข้ามามีบทบาทในการส่งผ่านความรู้สู่ผู้เรียนจากทุกมุมโลกได้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในฐานะมหาวิทยาลัยไทยแห่งเดียวที่เป็นสมาชิกสมาคมมหาวิทยาลัยภาคพื้นแปซิฟิก (Association of Pacific Rim Universities – APRU) เห็นความสำคัญของการเผยแพร่ความรู้สู่นักศึกษาต่างชาติแม้จะมีข้อจำกัดทางด้านการเดินทาง จึงได้จัดโครงการ Virtual Student Exchange Program เพื่อให้นิสิตจุฬาฯ และนักศึกษาต่างชาติในเครือข่ายมหาวิทยาลัย APRU ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ออนไลน์ข้ามมหาวิทยาลัยผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล

ศ.ดร.ปาริชาต สถาปิตานนท์ รองอธิการบดี ด้านวิชาการและการเชื่อมโยงกับสังคม จุฬาฯเปิดเผยว่า การปรับกระบวนการเรียนรู้ไปสู่รูปแบบออนไลน์เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลก และเป็นประตูแห่งโอกาสบานใหญ่ที่เปิดให้นิสิตนักศึกษาได้รับโอกาสแห่งการเรียนรู้ จึงเป็นที่มาของโครงการ Virtual Student ExchangeProgram ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยริเริ่มขึ้น โดยเปิดโอกาสให้นักศึกษามหาวิทยาลัยต่างๆ ในเครือข่ายAPRU ได้ศึกษาเรียนรู้และแบ่งปันประสบการณ์ร่วมกับนิสิตจุฬาฯ ในรายวิชาศึกษาทั่วไปของจุฬาฯ (General Education: GenEd) ซึ่งเป็นรายวิชาที่มุ่งสร้างโอกาสให้นิสิตจากหลากหลายคณะได้เรียนในรายวิชาที่ตนสนใจนอกเหนือไปจากศาสตร์ที่เรียนอยู่ในสาขาหรือคณะตัวเอง หากมีนักศึกษาต่างชาติจากมหาวิทยาลัยต่างประเทศมาร่วมเรียนด้วยจะเป็นสิ่งที่ดียิ่ง รายวิชา GenEd นานาชาติที่จัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษจึงตอบโจทย์การเรียนในลักษณะนี้ได้เป็นอย่างดี โดยมีการจัดการเรียนการสอนทุกวันพฤหัสบดี ในรูปแบบ Live Streaming คือเรียนสดผ่านช่องทางออนไลน์ร่วมกับนิสิตจุฬาฯ

ผศ.ดร.วรประภา นาควัชระ ผู้ช่วยอธิการบดี งานด้านพันธกิจสากล จุฬาฯ กล่าวถึงจุดเริ่มต้นของโครงการนี้ว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีบทบาทในการสร้างพลเมืองโลก (Global Citizen) เพื่อสร้างนิสิตให้เป็นผู้นำในอนาคต และมีความรู้ความเข้าใจในศาสตร์ต่างๆ ไม่ใช่แค่ในพื้นที่ของตนเอง นอกจากจะสอนในห้องเรียนแล้ว ยังสอนเรื่องวัฒนธรรม การแลกเปลี่ยนประสบการณ์นานาชาติ ซึ่งทำให้นิสิตเกิดความเข้าใจและเป็นพลเมืองโลกที่ดีได้

“โครงการ Virtual Student Exchange Program ที่จุฬาฯ เปิดสอนเทอมแรกนี้เป็นระยะนำร่อง (Pilot Phase) มีมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมโครงการ 13 แห่ง จากสมาชิกเครือข่าย APRUทั้งหมด 55 แห่ง นอกจากรายวิชา General Education (GenEd) ยังมีรายวิชาจากคณะอักษรศาสตร์ รวมรายวิชาที่เปิดสอนในโครงการนี้ทั้งสิ้น 10 รายวิชา ซึ่งเป็นชุดวิชาที่คัดเลือกให้เหมาะสมกับบริบทสากล นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยในเครือข่าย APRU ที่สนใจสามารถลงทะเบียนเรียนได้ และในเทอมหน้าจะมีการเพิ่มรายวิชาและขยายสู่มหาวิทยาลัยอื่นต่อไป” ผศ.ดร.วรประภา กล่าว    

ผศ.ดร.วรประภากล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการนี้เน้นจุดมุ่งหมายหลัก 3 ประการ ได้แก่ Academic Coursework นิสิตสามารถลงทะเบียนเรียนในมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกได้ Cultural Immersion การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องรอบๆ ตัวที่ไม่ใช่แค่ประเทศเรา ถ้าเราเข้าใจวัฒนธรรมและความแตกต่างทางความคิดระหว่างเราและของคนอื่น เราก็จะอยู่ร่วมกับคนอื่นที่มีความคิดไม่เหมือนกับเราได้ และ Engagement in International Social Communities นิสิตสามารถพูดคุยแลกเปลี่ยนกับเพื่อนๆ ในห้องเรียนออนไลน์ สร้างการมีส่วนร่วมเหมือนกับเราได้ไปอยู่ร่วมกันในมหาวิทยาลัยจริงๆ         

สำหรับความแตกต่างของ Virtual Student Exchange Program กับการเรียนออนไลน์ในเว็บไซต์ต่างๆ  ผศ.ดร.วรประภากล่าวว่า “Virtual Student Exchange Program ผู้เรียนสามารถเข้าร่วม Live Class กับผู้เรียนอื่นๆ จากมหาวิทยาลัยที่จัดสอนวิชานั้นๆ ทำให้ได้มีโอกาสพูดคุยแลกเปลี่ยน ทำกิจกรรมกลุ่มรวมไปถึงการแลกเปลี่ยนความคิด ซึ่งวิชาที่ลงเรียนสามารถ Transfer Credit มาที่มหาวิทยาลัยต้นสังกัดได้ นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมในรูปแบบ Non-Credit นอกชั้นเรียนที่สามารถเข้าร่วมได้”    

“Virtual Student Exchange Program ทำให้นิสิตได้เพิ่มพูนทักษะสำคัญในเรื่องการเรียนรู้ตลอดชีวิต การขวนขวายหาความรู้ในสิ่งที่ตนเองไม่รู้ ไม่ว่าจะเป็นศาสตร์ที่ตนเองถนัดหรือศาสตร์ที่ได้ไปแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม ได้เรียนรู้ความคิดที่เห็นต่าง เพื่อให้เกิดความเข้าใจและอยู่ร่วมกันในโลกนี้ได้อย่างมีความสุข สุดท้ายนิสิตจะเติบโตเป็นพลเมืองโลกที่อยู่ร่วมกับผู้คนในโลกได้อย่างสงบสุข” ผศ.ดร.วรประภา  กล่าวทิ้งท้าย

รายละเอียดวิชาที่เปิดสอน

https://drive.google.com/drive/folders/1AsRKmi2giU9BTIJ6MgiZf8khDrjKGiY4

รายละเอียดเพิ่มเติม https://vse.apru.org/

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่อีเมล cuexchange.outbound@gmail.com

จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด

คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า