รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
30 กันยายน 2563
ข่าวเด่น
“เราได้นำความรู้ทางด้านชีวเคมีมาประยุกต์ใช้ในงานด้านโควิด-19 ตั้งแต่การทำเจลแอลกอฮอล์ และการผลิตเอนไซม์ที่ใช้ในการพัฒนาชุดทดสอบโควิด-19 ล่าสุดเราได้ศึกษาในเรื่องโครงสร้างสามมิติของเอนไซม์ย่อยโปรตีนโควิด-19 เป็นที่แรกและที่เดียวในไทยเพื่อนำไปสู่การหายารักษาโรคโควิด-19 ในอนาคต”อ.ดร.กิตติคุณ วังกานนท์ และ ผศ.ดร.ธัญญดา รุ่งโรจน์มงคล จากภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ เผยถึงความภาคภูมิใจในงานวิจัยครั้งนี้
คนทั่วไปเมื่อมองการหาทางยับยั้งเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยนักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ มักจะนึกถึงการฉีดวัคซีนเพื่อสร้างแอนติบอดีไปบล็อกไม่ให้เชื้อเข้าเซลล์ได้ ซึ่งไม่ใช่ทางออกเดียวในการหยุดเชื้อไวรัสโควิด-19 และเชื้อไวรัสชนิดอื่นๆ เราอาจจะได้ยินว่ามีการใช้ยาของโรคเอดส์มารักษาผู้ป่วยโควิด-19 ซึ่งน่าจะเกี่ยวข้องกับการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ตัวหนึ่ง ไวรัสโควิด-19 ก็เช่นเดียวกับไวรัสที่ก่อโรคเอดส์ มันจะสร้างสายโปรตีนที่ยาวมาก เป็นโปรตีนหลายตัวที่เชื่อมต่อกัน แล้วก็จะต้องมีเอนไซม์ย่อยโปรตีน หรือที่เรียกกันว่า โปรตีเอส (Protease) มาทำให้โปรตีนที่ยาวๆ นี้เป็นชิ้นเล็กๆ แต่ละชิ้นก็จะทำหน้าที่ต่างกันไป นักวิทยาศาสตร์จากทั่วโลกมองว่าเอนไซม์นี้คือเป้าหมายในการผลิตยาที่ดีอีกจุดหนึ่ง” อ.ดร.กิตติคุณ อธิบาย
นักวิจัยทั่วโลกเลือกที่จะศึกษาโปรตีเอสของเชื้อไวรัสด้วยหลายเหตุผล นับตั้งแต่การระบาดของโรคซาร์สและโรคเมอร์ส จนกระทั่งเกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ขึ้น โดยประเทศจีนเป็นกลุ่มแรกที่ทำการศึกษาตั้งแต่ปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา โดยโปรตีเอสถือเป็นเอนไซม์ตัวแรกๆ ของไวรัสที่นักวิทยาศาสตร์ชาวจีนได้ลงมือทำการศึกษาในระดับโมเลกุล ตามด้วยกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ เยอรมัน สหรัฐอเมริกาและประเทศไทย โดยภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นที่แรกและที่เดียวในประเทศไทยที่สามารถศึกษาโครงสร้างของโปรตีเอสของเชื้อโควิด-19 ที่สังเคราะห์ขึ้นมาได้ในระดับโมเลกุล
อ.ดร.กิตติคุณ กล่าวถึงการศึกษาโครงสร้างสามมิติของเอนไซม์ย่อยโปรตีนในเชื้อโควิด-19 ที่มีต่อสังคมในวงกว้างว่า “เราใช้ยีนของโปรตีเอสที่สังเคราะห์ขึ้นมาโดยวิธีการทางเคมีแล้วนำไปใส่ในเชื้อแบคทีเรียทำให้เราสามารถผลิตโปรตีเอสได้เป็นจำนวนมากจนสามารถนำมาทดสอบกับยาได้ โดยใช้เทคนิคที่ทำให้รู้ว่ายาตัวไหนที่น่าจะจับกับโปรตีเอสตัวนี้ได้ ไม่เพียงแต่การทดสอบทางคอมพิวเตอร์ แต่เราสามารถทดสอบจริงในห้องปฏิบัติการได้ด้วย ซึ่งจะช่วยย่นระยะเวลาในการหายารักษาโรคโควิด-19 ซึ่งปกติใช้เวลาเป็นสิบปี นำไปสู่การค้นพบยารักษาโรคนี้ได้เร็วยิ่งขึ้น”
ภาพแสดงการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ย่อยโปรตีนโดยสารยับยั้งที่ศึกษาโดยนักวิจัยชาวจีน (สีแดง)
“ตัวยาที่เรากำลังทำการทดสอบอยู่ เท่าที่สกรีนออกมาได้มีอยู่ประมาณ 60 ตัว บางตัวก็ยังต้องรอการสั่งซื้อจากต่างประเทศ ซึ่งเท่าที่ทำการทดสอบมาแล้วมีอยู่ 3-4 ตัวที่น่าสนใจ บางตัวก็ซ้ำกับที่ประเทศจีนได้ศึกษาเอาไว้แล้ว ส่วนสมุนไพรได้ทำการศึกษาไปแล้วกว่า 50 ตัว สิ่งที่เราทำการสกรีนคือตัวโครงสร้างของยา โดยมีข้อมูลพื้นฐานของยาที่มีการอนุญาตให้ใช้อยู่แล้ว นำมาจับคู่กับโครงสร้างของโปรตีเอสว่าสารเคมีในตัวยาสามารถยับยั้งโปรตีเอสได้หรือไม่ เป็นสารเคมีตัวไหน แล้วจึงเลือกโครงสร้างเหล่านั้นมาทำการทดลองในหลอดทดลองต่อไป” ผศ.ดร.ธัญญดา กล่าวเสริม
อีกสิ่งหนึ่งที่ภาควิชาชีวเคมีสามารถทำได้เป็นที่แรกในประเทศไทย คือการตกผลึกโปรตีนซึ่งคล้ายกับการตกผลึกของเกลือและน้ำตาล คือปล่อยให้น้ำระเหยออกจากโปรตีน จนมีความเข้มข้น ตัวโปรตีน ก็จะตกผลึกขึ้นมา จากนั้นนักวิจัยก็จะทำการเก็บผลึกชิ้นเล็กๆ ที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็นโดยใช้เข็มเก็บและส่งผลึกดังกล่าวไปยิงด้วยลำแสงเอ็กซเรย์เข้มข้น โดยเครื่องเร่งอนุภาคขนาดใหญ่ (Synchrotron) ที่รัฐอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา ทำให้ได้เห็นภาพการกระเจิงของเอ็กซเรย์ซึ่งมีลักษณะเป็นจุดๆ จากข้อมูลนี้นักวิจัยสามารถคำนวณกลับได้ว่าอะตอมแต่ละอะตอมอยู่ตรงไหน แต่ละโมเลกุลอยู่ตรงจุดใด
ผลึกเอนไซม์ย่อยโปรตีนหลัก SARS-CoV-2 ภายใต้แสงโพลาไรซ์ (SARS-CoV-2 main protease crystals under polarized light)
แผนภาพความหนาแน่นของอิเล็กตรอน (Electron density map)
เครื่องเร่งอนุภาค Advanced Photon Source, Argonne National Laboratory – Illinois, USA
รูปแบบการกระเจิงของรังสีเอ็กซ์โดยผลึกโปรตีเอส (Diffraction pattern)
ปัจจุบันภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ สามารถสังเคราะห์โปรตีเอสได้เป็นจำนวนมาก ผนวกกับความสามารถในการวิเคราะห์โครงสร้างโปรตีนในระดับโมเลกุล ทำให้สามารถนำโปรตีเอสเหล่านี้มาทดสอบหรือตกผลึกร่วมกับสารเคมีได้เลย เช่น การทดสอบสารเคมีในสมุนไพรไทยต่างๆ ซึ่งปัจจุบันมีความร่วมมือกับภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ในการทดสอบสารเคมีจากสมุนไพรไทย
“ที่ผ่านมาสังคมมักจะตั้งคำถามว่า ฟ้าทะลายโจรหรือยาโรคเอดส์ใช้กับเชื้อโควิด-19 ได้หรือไม่ ถ้าได้แล้วมีกลไกการทำงานอย่างไร สิ่งที่ภาควิชาชีวเคมีของเราทำได้คือการหาข้อพิสูจน์โดยวิธีทางวิทยาศาสตร์ ตอบโจทย์นักวิจัยของไทย เพราะเรามีโปรตีเอสที่สามารถสังเคราะห์ได้เองตั้งแต่ต้นน้ำ สามารถศึกษาโครงสร้างสามมิติของมันได้ เรามีความพร้อมในประเทศ และสามารถทำการทดสอบได้ทันที อย่างสมุนไพรไทยต่างๆ ที่เรานำมาตกผลึกร่วมกับโปรตีเอส แล้วส่งไปยิงรังสี จะทำให้เราได้เห็นหน้าตาของสารเคมีจากสมุนไพรไทยที่เข้าไปอุดในปากหรือฟันของโปรตีเอส จากนั้นจึงใช้เทคนิคทางคอมพิวเตอร์ต่อเพื่อดัดแปลงให้มีคุณสมบัติที่ดีขึ้น หรือแม้กระทั่งยาต่างๆ ที่เราเห็นว่าใช้ได้ผล เมื่อนำมาหาโครงสร้างสามมิติร่วมกัน จะทำให้เราได้เห็นชัดๆ เลยว่าอะตอมไหนจับคู่อยู่กับอะตอมไหน เพื่อพัฒนาตัวยารุ่นต่อๆ ไปได้” ผศ.ดร.ธัญญดา กล่าวเพิ่มเติม
นวัตกรรมที่ใช้ต่อสู้กับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 คนส่วนใหญ่จะให้ความสนใจกับเรื่องของวัคซีนเป็นหลัก อ.ดร.กิตติคุณ ย้ำว่าทั้งวัคซีน ชุดตรวจ และการวิจัยยารักษาโควิด-19 มีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนา เพราะเชื้อที่กลายพันธุ์ได้เร็วเช่นไวรัส ต้องใช้ตัวยาหลายตัวในการรักษา และมีการควบคุมให้รอบด้าน การฝากความหวังไว้กับอะไรเพียงอย่างเดียว เป็นเรื่องที่อันตรายมาก
“คนทั่วไปอาจเข้าใจว่างานในลักษณะนี้เป็นงานวิจัยต้นน้ำ คือใช้ไม่ได้โดยทันที แต่งานวิจัยในลักษณะนี้ก็ไม่ได้ใช้ทุนมากมายอะไร ปัจจุบันเรามีวิธีทดสอบการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ตัวนี้แล้ว รวมทั้งสามารถทดสอบกับสารสกัดต่าง ๆ ได้ ส่วนการนำไปทดสอบกับเชื้อไวรัสจริง หรือนำไปทดลองทางการแพทย์หรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับว่าจะมีใครสนใจสนับสนุน หรือนำผลการศึกษานี้ไปพัฒนาต่อไป”
อ.ดร.กิตติคุณยังกล่าวทิ้งท้ายอีกว่า “เมื่อกลางเดือนกันยายนนี้ บริษัทยา Pfizer ของสหรัฐอเมริกาก็ประกาศว่าได้เริ่มทดลองยาต้านไวรัสที่ยับยั้งโปรตีเอสแล้ว งานวิจัยยาของเรายังตามหลังต่างประเทศอยู่มาก ถ้ามีการระบาดระลอกต่อไปในไทยเราจำเป็นต้องเตรียมพร้อมในเรื่องนี้”
ละครนิเทศจุฬาฯ 2567 “ด้ายแดงเป็นเหตุ Unfortunate Love”
24 - 26 มกราคม 2568
ณ โรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศ ชั้น 7 อาคารสยามสแควร์
จุฬาฯ ต้อนรับคณะศึกษาดูงานด้านการบริหารความเสี่ยงจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แบ่งปันประสบการณ์การพัฒนาระบบบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัย
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ จัดอบรมเรื่อง “กัญชาทางการแพทย์: ความรู้ที่ต้องมีสำหรับเภสัชกรยุคใหม่”
11 ธ.ค. 67 เวลา 09.00 – 12.15 น.
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ และ Zoom
คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดอบรมโครงการ “Next-Gen Arts: พัฒนาศักยภาพครูศิลปะด้วย Soft Power”
นิสิตเก่าจุฬาฯ พัฒนาโฟมล้างมือแบบเม็ดฟู่ “Fongdoo” ลดขยะพลาสติก ภายใต้การสนับสนุนของ CU Innovation Hub
วิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดเสวนา “เข้าใจน้ำท่วม แนวคิดวิศวกร” เผยแพร่องค์ความรู้ใหม่รับมืออุทกภัยในอนาคต
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้