ข่าวสารจุฬาฯ

การฆ่าเชื้อบนปริญญาบัตรด้วยการฉายรังสีเอกซ์ เทคโนโลยีใหม่ที่นำมาใช้ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรจุฬาฯ

ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2562 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนำเทคโนโลยีการฆ่าเชื้อบนปริญญาบัตรด้วยการฉายรังสีเอกซ์      ซึ่งเป็นครั้งแรกของประเทศไทยที่มีการนำเทคโนโลยีนี้มาใช้ในการทำความสะอาดปริญญาบัตร เพื่อสร้างความมั่นใจ เตรียมความพร้อมตามมาตรการป้องกันและลดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 และกำจัดจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค

การฆ่าเชื้อบนปริญญาบัตรด้วยการฉายรังสีเอกซ์เป็นความร่วมมือระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโดยสำนักงานการทะเบียน จุฬาฯ M3D Laboratory คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ และ บริษัท เมติคูลี่ จำกัด โดยการนำปริญญาบัตรทั้งหมดบรรจุในกล่อง ลำเลียงบนสายพานเข้าไปฆ่าเชื้อด้วยรังสีเอกซ์ที่สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ รังสีเอกซ์เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีพลังงานสูง สามารถทะลุผ่านสิ่งกีดขวางที่มีความหนาได้ วิธีการหนึ่งในการทำให้เกิดรังสีเอกซ์คือ การเร่งให้อิเล็กตรอนมีความเร็วสูงแล้วไปกระทบกับเป้า ทำให้รังสีเอกซ์ถูกปลดปล่อยออกมา การฉายรังสีเอกซ์ในปริมาณรังสีดูดกลืนที่เหมาะสม (10 kGy) สามารถทำลายเชื้อไวรัสและแบคทีเรียได้ เนื่องจากพลังงานของรังสีทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางชีวภาพในสารพันธุกรรมของเชื้อโรค การฉายรังสีเอกซ์เป็นกระบวนการฆ่าเชื้อที่มีประสิทธิภาพ ไม่ก่อให้เกิดการตกค้าง เป็นกระบวนการที่เสร็จสิ้นในขั้นตอนเดียว

คุณทอลาภ สิทธิวณิชย์ และคุณสุกัญญา โพธิวิพุฒ นักวิจัย ภายใต้การดูแลของ รองศาตราจารย์ ดร. บุญรัตน์ โล่ห์วงศ์วัฒน หัวหน้าห้องปฎิบัติการ M3D Laboratory คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า รังสีเอกซ์มีความสามารถในการทำลายสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสและแบคทีเรียที่ก่อโรคได้ การฆ่าเชื้อด้วยการฉายรังสีเอกซ์โดยทั่วไปใช้ในการทำความสะอาดเครื่องมือทางการแพทย์ให้ปลอดเชื้อและยืดอายุการเก็บรักษาของอาหารเพื่อการส่งออกได้ ซึ่งในการฉายรังสีเพื่อฆ่าเชื้อปริญญาบัตรในครั้งนี้ได้รับความอนุเคราะห์จากคุณนงค์นุช แจ้งสว่าง หัวหน้าฝ่ายพัฒนาและบริการศูนย์ฉายรังสี สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ ในการให้บริการฉายรังสี และให้คำปรึกษาในการใช้ค่าปริมาณดูดกลืนรังสีที่เหมาะสม อยู่ในระดับที่ปลอดภัย มีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อ และไม่ก่อให้เกิดกัมมันตรังสีตกค้าง

ทางทีมวิจัยได้ทำการทดสอบเพื่อยืนยันประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อด้วยการฉายรังสีเอกซ์ในแบคทีเรียเทียบเคียงที่มีความทนทานต่อรังสีมากกว่าเชื้อไวรัส COVID-19 พบว่ารังสีเอกซ์มีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อได้อย่างสมบูรณ์ นอกจากนี้ทีมวิจัยได้ทำการทดสอบผลกระทบของการฉายรังสีในด้านการเปลี่ยนแปลงของสีกระดาษและหมึกพิมพ์ของปริญญาบัตรด้วยเทคนิค CIE L*a*b จากการทดสอบพบว่าการฉายรังสีส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของค่าสีเพียงเล็กน้อย ไม่สามารถสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงได้ด้วยตาเปล่า ดังนั้นจึงยืนยันได้ว่าการฉายรังสีเอกซ์มีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อได้อย่างสมบูรณ์ มีความปลอดภัย และไม่กระทบต่อคุณภาพสีและหมึกของใบปริญญาบัตร

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า