รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
31 ตุลาคม 2563
ข่าวเด่น, ความภูมิใจของจุฬาฯ, ภาพข่าว
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล จัดพิธีมอบใบประกาศเขตส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ จำนวน 13 แห่ง ในงาน “Thailand Smart City Week 2020” เมื่อวันศุกร์ที่ 16 ตุลาคม 2563 ณ สามย่านมิตรทาวน์ฮอลล์ 1 สามย่านมิตรทาวน์ โดยสองโครงการจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้แก่ โครงการ “เมืองอัจฉริยะย่านพระราม 4” และโครงการ “Samyan Smart City” ได้รับมอบใบประกาศเขตส่งเสริมเมืองอัจฉริยะในครั้งนี้ด้วย ในการนี้ ศ.ดร.จักรพันธ์ สุทธิรัตน์ รองอธิการบดีด้านการวิจัย จุฬาฯ พร้อมด้วย รศ.ดร.ปิ่นรัชฎ์ กาญจนัษฐิติ คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และคุณประสพสุข พิมพโกวิท รองผู้อำนวยการสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล ในฐานะผู้แทนโครงการ “เมืองอัจฉริยะย่านพระราม 4” และ รศ.ดร.วิศณุ ทรัพย์สมพล รองอธิการบดี ด้านการจัดการทรัพย์สินและกายภาพ จุฬาฯ เป็นผู้แทนโครงการ “Samyan Smart City” ร่วมในพิธีรับมอบใบประกาศจากคุณธีรนันท์ ศรีหงส์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกำกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (สศด.) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และ ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล
โครงการ “เมืองอัจฉริยะย่านพระราม 4” ในพื้นที่เขตปทุมวัน เขตบางรัก เขตสาทร และเขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และภาคีการพัฒนาเมืองอัจฉริยะพระราม 4 เป็นโครงการวิจัยที่ขับเคลื่อนโดยซุปเปอร์คลัสเตอร์วิจัยด้านการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนและศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโครงการ Samyan Smart City” โดยสำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาฯ เป็นการวางแผนพัฒนาพื้นที่บริเวณสามย่าน สวนหลวง และสนามกีฬาแห่งชาติ รวมไปถึงสยามสแควร์เพื่อให้เป็นเมืองอัจฉริยะที่ตอบโจทย์ของทั้งผู้อยู่อาศัยและผู้เข้ามาใช้บริการ
สำหรับโครงการสามย่าน เมืองอัจฉริยะ (Samyan Smart City) ที่ประกาศให้เป็นเขตส่งเสริมเมืองอัจฉริยะประเภทเมืองเดิมน่าอยู่ (Livable City) ในการพัฒนาพื้นที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมภายในเมือง คุณภาพชีวิตของคนในเมืองโดยมุ่งเน้นให้คนในชุมชนมีคุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและโครงสร้างพื้นฐานและนวัตกรรมที่จะมารองรับการพัฒนาทางเศรษฐกิจ และสร้างคุณค่าเพิ่มให้แก่สังคมอย่างยั่งยืน ประกอบไปด้วย
เชิญร่วมงานกาชาด ปี 2567 ที่สวนลุมพินี แวะร้านกาชาดจุฬาฯ
ครุศาสตร์ จุฬาฯ เปิดรับสมัครนิสิตใหม่หลักสูตรปริญญาโท – เอก สาขาวิชาบริหารการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2568
จุฬาฯ ติดอันดับ TOP 16 ของเอเชีย และอันดับ 1 ของประเทศไทยใน 2025 QS Sustainability Rankings
จุฬาฯ ทูลเกล้าฯ ถวายฉลองพระองค์ครุยพระบรมราชูปถัมภกแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และจัดการแสดงดนตรี “รวมใจภักดิ์ เฉลิมทศมจักรีนฤบดินทร์ : มหาดุริยางค์ไทย – สากล”
นิสิตคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ชนะเลิศการนำเสนอผลงานวิจัยในการประชุม International Medical Student Research Conference (IMRC) 2024
ขอเชิญบุคลากรจุฬาฯ ร่วมงาน “Chula Townhall” อธิการบดีพบประชาคมจุฬาฯ
19 ธ.ค. 67 เวลา 12.00 น.
ศาลาพระเกี้ยว
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้