รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
13 พฤศจิกายน 2563
ข่าวเด่น
สำนักบริหารวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเปิดตัวศูนย์กลางนวัตกรรมทางสังคมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CU Social Innovation Hub: CU SiHub) เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน 2563 ณ อาคารวิศิษฐ์ ประจวบเหมาะ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมี ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดี จุฬาฯ เป็นประธานกล่าวเปิดงาน และ ศ.ดร.จักรพันธ์ สุทธิรัตน์ รองอธิการบดีด้านการวิจัย กล่าวรายงานการจัดตั้งศูนย์กลางนวัตกรรมทางสังคมแห่งจุฬาฯ ซึ่งเป็นการดำเนินการโครงการนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์สังคมที่ท้าทาย เป็นชุมชนวิชาการที่มีพื้นที่ปฏิบัติการโครงการนวัตกรรมทางสังคม ยกระดับการขับเคลื่อนผ่านการบูรณาการสหศาสตร์ในบริบททางวิชาการระดับโลก เพื่อนำไปสู่การสร้างทางเลือกเชิงนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ความต้องการของชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม เกิดผลความเปลี่ยนแปลงอย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่องยั่งยืน โดยมี รศ.ดร.พรรณี ชีวินศิริวัฒน์ ผู้ช่วยอธิการบดีงานด้านวิจัย เป็นผู้ประสานงานโครงการฯ
ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ เปิดเผยว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์สามประการ ประกอบด้วย การพัฒนาผู้นำแห่งอนาคต (Future Leader) การสร้างนวัตกรรมและงานวิจัยคุณภาพ (Impactful Research and Innovation) และการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน (Sustainability) การเปิดตัวศูนย์กลางนวัตกรรมทางสังคมแห่งจุฬาฯ หรือ CU Social Innovation Hub จะส่งเสริมชาวจุฬาฯ ให้ริเริ่มหรือต่อยอดการสร้างนวัตกรรมเพื่อสังคม สร้างงานวิจัยมุ่งนวัตกรรมเพื่อสังคม ระดมความร่วมมือจากภาคส่วนทางสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป
ศ.ดร.จักรพันธ์ สุทธิรัตน์ รองอธิการบดีด้านการวิจัย จุฬาฯ กล่าวว่า CU Social Innovation Hub(CU SiHub) จะเป็นแหล่งรวมนักวิจัยและเป็นพื้นที่บ่มเพาะอาจารย์ นักวิจัยรุ่นใหม่ในการนำความรู้และนวัตกรรมไปแก้ไขปัญหาให้เหมาะสมกับเนื้อหา (Content) และ บริบท (Context) ของสังคมไทย ในฐานะที่เป็นมหาวิทยาลัยวิจัยที่มุ่งตอบโจทย์สังคมไทยและสังคมโลก เป็นพื้นที่ปฏิบัติการบูรณาการสหศาสตร์ ขับเคลื่อนนวัตกรรมจากการวิจัยของชาวจุฬาฯ เพื่อตอบโจทย์สังคมที่ท้าทาย ซึ่งในช่วงที่ผ่านมามีการดำเนินการอยู่แล้วจำนวนหนึ่ง โดยได้รับการสนับสนุนทุนจากโครงการสร้างเสริมพลังจุฬาฯ กองทุนศตวรรษที่ 2 (C2F) และสำนักบริหารการวิจัย ของจุฬาฯ เช่น การบูรณาการนวัตกรรมนโยบายสังคมสูงวัย (Aging Research Innovation) การออกแบบนวัตกรรมสถาปัตยกรรมเพื่อสังคม (Design for Society) การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เพื่อความยั่งยืน (Sustainable Community and Creative Tourism) การสร้างแรงบันดาลใจเชิงมนุษยศาสตร์ (Art and Humanities for Sustainability) เป็นต้น โดยมี รศ.ภก.ดร.วิทยา กุลสมบูรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานแผนงานกองทุนศตวรรษที่ 2 ให้การสนับสนุน
รศ.ดร.พรรณี ชีวินศิริวัฒน์ ผู้ช่วยอธิการบดีงานด้านวิจัย จุฬาฯ และดูแล CU Social Innovation Hub กล่าวว่า “CU Social Innovation Hub มีจุดหมายในการริเริ่ม บ่มเพาะ และสร้างประโยชน์สังคม เน้นการนำนวัตกรรมทางสังคมมาช่วยสังคมโดยไม่หวังผลกำไร ผสมผสานเทคโนโลยีที่สามารถแก้ไขปัญหา และส่งเสริมคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีอาจารย์และนักวิจัยที่เชี่ยวชาญในทุกสาขา โดยเฉพาะความร่วมมือจากคณาจารย์ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ที่มีศักยภาพเป็นจำนวนมาก จึงจัดตั้งศูนย์รวมเพื่อเป็นพื้นที่บูรณาการในการรวมตัวเพื่อร่วมระดมความคิดและอำนวยความสะดวกในการสร้างนวัตกรรมแก้ไขปัญหาสังคม รวมถึงเป็นศูนย์บ่มเพาะอาจารย์ นักวิจัย และนิสิตรุ่นใหม่เป็นนวัตกรทางสังคม เพื่อให้นำความรู้ความสามารถไปช่วยเหลือสังคมอย่างมีคุณภาพ ตอบโจทย์เป้าหมาย SDG (Sustainable Development Goals) เพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน
ละครนิเทศจุฬาฯ 2567 “ด้ายแดงเป็นเหตุ Unfortunate Love”
24 - 26 มกราคม 2568
ณ โรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศ ชั้น 7 อาคารสยามสแควร์
จุฬาฯ ต้อนรับคณะศึกษาดูงานด้านการบริหารความเสี่ยงจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แบ่งปันประสบการณ์การพัฒนาระบบบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัย
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ จัดอบรมเรื่อง “กัญชาทางการแพทย์: ความรู้ที่ต้องมีสำหรับเภสัชกรยุคใหม่”
11 ธ.ค. 67 เวลา 09.00 – 12.15 น.
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ และ Zoom
คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดอบรมโครงการ “Next-Gen Arts: พัฒนาศักยภาพครูศิลปะด้วย Soft Power”
นิสิตเก่าจุฬาฯ พัฒนาโฟมล้างมือแบบเม็ดฟู่ “Fongdoo” ลดขยะพลาสติก ภายใต้การสนับสนุนของ CU Innovation Hub
วิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดเสวนา “เข้าใจน้ำท่วม แนวคิดวิศวกร” เผยแพร่องค์ความรู้ใหม่รับมืออุทกภัยในอนาคต
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้