รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
18 พฤศจิกายน 2563
ข่าวเด่น
จะมีหนังสั้นโฆษณาสักกี่เรื่องที่แนวคิดตรงกับค่านิยมคนในสังคมปัจจุบันที่ตีค่า ‘ความงาม’ และ ‘การเงิน’ เป็นเรื่องเดียวกัน ผลงาน “อย่าแกงตัวเอง” ของ ทีมนาตาชา โมานอฟ นิสิตชั้นปีที่ 4 คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งประกอบด้วย นายเสฏฐวุฒิ อินบุญ นางสาวนภสร ประจำเมือง นางสาวธัญชนก จงสุขกิจพานิช โดนใจกรรมการรับรางวัลชนะเลิศโครงการยูเมะพลัส มันนี่ ฟิตเนส ซีซั่น 2 การประกวดหนังสั้นภายใต้หัวข้อ “ใช้เงินยังไง…ให้อยู่เป็น”ได้รับทุนการศึกษา 100,000 บาท พร้อมร่วมผลิตหนังสั้นกับโปรดักชั่นเฮาส์ชื่อดังของเมืองไทย
นายเสฏฐวุฒิ อินบุญ หรือ ฉิม ตัวแทนทีมนาตาชา โรมานอฟ และผู้กำกับโปรเจ็คหนังสั้นโฆษณา “อย่าแกงตัวเอง” บอกเล่าแรงจูงใจที่อยากเริ่มต้นทำภาพยนตร์ขนาดสั้นส่งเข้าประกวดว่า เมื่อครั้งได้ไปฝึกงานกับเอเจนซี่โฆษณาแห่งหนึ่ง รุ่นพี่ที่ฝึกงานแนะนำว่า ‘ถ้าอยากได้ความรู้จริงๆ ก็ต้องไปแข่ง’ ทางทีมจึงตัดสินใจหาว่าที่ไหนเปิดรับสมัครแข่งขันในช่วงเวลานี้ จนมาพบโครงการของยูเมะพลัส จึงลองสมัครเข้ามาดู ซึ่งทางทีมงานให้ผู้สมัครเขียนเนื้อเรื่องและทำสตอรี่บอร์ดมาเพื่อถ่ายทำภาพยนตร์โฆษณาขนาดสั้น แรกเริ่มพวกเราลองศึกษาพูดคุยกับผู้คนก่อน ว่าอะไรเป็นประเด็นที่คนในสังคมให้ความสำคัญ
เสฏฐวุฒิ อธิบายถึงเหตุผลที่ทำให้เกิดโครงเรื่องหลักของภาพยนตร์ ภายใต้แนวคิด “ค่านิยมความงามที่ต้องลงทุน” ว่า บนโลกใบนี้หนีไม่ได้กับการศัลยกรรม การเสริมความงามเป็นสิ่งที่คนไทยตอนนี้ให้ความสนใจ มีความคาดหวังใหม่ๆ เช่น ผู้ชายอายุ 40 ปีขึ้นไปแต่ยังคงดูอ่อนเยาว์มีซิกแพค ผู้หญิงต้องสวยดูดีเท่านั้นถึงจะได้รับการยอมรับ ทำให้เกิดสิ่งที่ทีมต้องการจะสื่อสารต่อผู้คน
“บางคนคิดไปเองว่าเรายังสวยไม่พอ ทุกคนจะยอมรับที่ความสวยภายนอก ยอมรับเราในแบบที่เป็นความคาดหวังเพื่อให้คนอื่นมองเห็น เราอยากจะถ่ายทอดให้ทุกคนเห็นว่า จริงๆ แล้วเขาคิดสิ่งเหล่านั้นไปเอง ยังมีคนที่เปิดรับตัวตนในความเป็นเขาอยู่และรักในความเป็นธรรมชาติแบบที่เขาเป็น”
ส่วนวิธีการเล่าเรื่อง มีการยกจุดสำคัญมาไว้ที่ต้นเรื่อง ส่วนมุมกล้องจะเน้นระยะภาพขนาดระยะปานกลาง (Medium Shot) และระยะใกล้ (Close Up) เป็นส่วนใหญ่ เพราะอยากโชว์ปฏิสัมพันธ์กับอารมณ์ระหว่างตัวละคร ตอนแรกที่วางไว้ให้ตัวละครพูดสื่อสารกับกล้อง เพราะว่าต้องการให้สื่อสารอารมณ์ ‘จริงใจ’ มากที่สุด เทคนิคอาจจะมีสลับกับการปรับระดับความเข้มข้นในการแสดงออกของตัวละคร
“ประสบการณ์ที่ได้ร่วมถ่ายทำภาพยนตร์กับพี่ๆ ทีมงานบริษัทโปรดักชั่นเฮาส์ ตั้งแต่วันแรกที่เข้าไป ทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์การทำงานอย่างมาก พยายามช่วยทำให้ไอเดียที่ทีมผมคิดสามารถนำมาใช้งานได้จริง ก็รู้สึกดีใจอยู่เหมือนกันที่หลายอย่างสามารถทำออกมาได้อย่างที่คิด” เสฏฐวุฒิ กล่าว
ติดตามชมผลงานภาพยนตร์โฆษณาขนาดสั้น “อย่าแกงตัวเอง” ของทีมนาตาชา โรมานอฟ นิสิตคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งชนะเลิศโครงการยูเมะพลัส มันนี่ ฟิตเนส ซีซั่น 2 เพื่อสื่อสารให้เยาวชน รวมถึงประชาชนทั่วไปตระหนักรู้ในเรื่องการวางแผนการเงินอย่างรอบคอบ ได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=AAwpYzvLWiw
PMCU ร่วมกับ “ศิลปินรวมใจเปิดหมวก” ช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วมภาคเหนือ กับคอนเสิร์ตเปิดหมวก ตอน “น้ำลดเพื่อนผุด” @SiamSquare Walking Street
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์พระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตจุฬาฯ ปีการศึกษา 2566 เป็นวันที่สาม
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ ร่วมกับ Degree Plus เปิดอบรมหลักสูตรผู้บริหาร “Decentralized Finance and Blockchain”
วิศวฯ จุฬา จัดเสวนา “เข้าใจน้ำท่วม แนวคิดวิศวกร”
10 ต.ค. 67 เวลา 14.00 น.
ห้องประชุมชั้น 2 อาคารเจริญวิศวกรรม (ตึก 4) คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์พระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตจุฬาฯ ปีการศึกษา 2566 เป็นวันที่สอง
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์พระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตจุฬาฯ ปีการศึกษา 2566
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้