รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
22 พฤศจิกายน 2563
ข่าวเด่น
“อุปกรณ์ไมโครฟลูอิดิกส์ชิปสำหรับตรวจหาไมโครฟิลาเรีย” ผลงานวิจัยของ ผศ.น.สพ.ดร.ประพฤติดี ปิยะวิริยะกุล ภาควิชาสรีรวิทยา คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ผศ.สพ.ญ.ศริยา อัศวกาญจน์ ภาควิชาสรีรวิทยา คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และ รศ.ดร.อลงกรณ์ พิมพ์พิณ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัล Grand Prize ซึ่งเป็นรางวัลสูงสุด และรางวัลเหรียญทอง (Gold Medal) จากงาน “The 14th International Warsaw Invention Show” (IWIS 2020) ณ กรุงวอร์ซอ สาธารณรัฐโปแลนด์ ซึ่งเป็นเวทีการประกวดผลงานนวัตกรรมระดับนานาชาติของนักวิทยาศาสตร์จากทั่วโลก และมีผลกระทบสูงทั้งในด้านวิชาการ นวัตกรรม และเศรษฐกิจ
ผศ.น.สพ.ดร.ประพฤติดี เปิดเผยว่า “ไมโครฟลูอิดิกส์ชิปสำหรับตรวจหาไมโครฟิลาเรีย” เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ตรวจหาตัวอ่อนพยาธิหัวใจในสุนัขและแมวได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ไม่ต้องใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้งานและสิ่งแวดล้อม ทดแทนการการตรวจวินิจฉัยโรคนี้ด้วยวิธีการเดิมที่ตรวจจากกล้องจุลทรรศน์ซึ่งอาจมองเห็นตัวอ่อนของพยาธิไม่ชัดเจน เนื่องจากมีเม็ดเลือดแดงอยู่เป็นจำนวนมาก ส่วนการตรวจด้วยวิธีอื่นๆ ก็มีข้อดีข้อเสียต่างกันไป ไมโครฟลูอิดิส์ชิปจึงเป็นทางเลือกใหม่
“พยาธิหัวใจพบได้ในสัตว์เลี้ยงทั้งสุนัขและแมว สามารถพบได้ในประเทศต่างๆ ทั่วโลก ปัจจุบันมียาที่ป้องกันโรคพยาธิหัวใจในสุนัขและแมว ช่วยลดการระบาดของโรคลงได้” ผศ.สพ.ญ.ศริยา อธิบาย
สำหรับการทำงานของไมโครฟลูอิดิกส์ชิปนั้น เป็นการฉีดเลือดของสุนัขและแมวเข้าไปในชิป จากนั้นชิปจะทำการแยกเม็ดเลือดแดงออก เหลือแต่ตัวพยาธิ โดยชิปที่ใช้ในการตรวจพยาธิจะมีลักษณะเป็นท่อยาวและมีรูอยู่ที่ผนัง ซึ่งการตรวจหาพยาธิด้วยวิธีนี้จะทำให้พยาธิไปอยู่ที่ปลายท่อ ในขณะที่เม็ดเลือดแดงจะไหลออกจากระบบตั้งแต่ต้นท่อ ซึ่งช่วยแก้ปัญหาเม็ดเลือดแดงบังตัวพยาธิ ทำให้สัตวแพทย์สามารถมองเห็นพยาธิได้ง่ายขึ้น การสร้างชิปนี้ได้รับความร่วมมือจากศูนย์เทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
ผศ.น.สพ.ดร.ประพฤติดี กล่าวถึงจุดเด่นของนวัตกรรมที่ทำให้ได้รับรางวัลในการประกวดผลงานนวัตกรรมระดับนานาชาติครั้งนี้ว่า เกิดจากการบูรณาการงานวิจัยได้อย่างลงตัว มีการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาวิเคราะห์วินิจฉัยโรค อุปกรณ์ใช้งานง่าย ไม่ซับซ้อน ตัวระบบมีความทนทานสูง สามารถนำไปใช้ตรวจวิเคราะห์โรคได้จริงและรู้ผลได้อย่างรวดเร็ว
“การได้รับรางวัลใหญ่ถึงสองรางวัลจากการประกวดครั้งนี้นอกจากวิธีการใช้งานที่ง่ายแล้ว ผู้ตรวจที่ไม่มีความชำนาญก็สามารถตรวจโรคนี้ได้ รวมถึงในปัจจุบันประเทศต่างๆ ทางยุโรปเริ่มมีการระบาดของพยาธินี้ในสุนัขและแมวเพิ่มขึ้น นวัตกรรมนี้จึงเป็นประโยชน์อย่างมาก” รศ.ดร.อลงกรณ์กล่าวเสริม
ผลงานวิจัยนี้ได้รับการจดอนุสิทธิบัตรเรียบร้อยแล้ว และเป็นงานวิจัยที่ตอบโจทย์สังคมเป็นอย่างดีเนื่องจากใช้ในการวินิจฉัยโรคพยาธิหัวใจที่พบในสุนัขและแมวซึ่งพบการระบาดโดยทั่วไปโดยมียุงเป็นพาหะ เมื่อเจาะเลือดสุนัขใส่เข้าไปในชิปและตรวจดูจากกล้องจุลทรรศน์ ถ้าพบตัวอ่อนของพยาธิที่เรียกว่าไมโครฟิลาเรียก็แสดงว่าสุนัขและแมวนั้นเป็นโรคพยาธิหัวใจ ปัจจุบันไมโครฟลูอิดิกส์ชิปยังเป็นอุปกรณ์ต้นแบบ ในอนาคตจะพัฒนาเทคนิคการผลิตให้สามารถนำไปใช้กับคลินิกหรือโรงพยาบาลสัตว์ทั่วไป
สำหรับการต่อยอดงานวิจัยต่อไปนั้น สามอาจารย์นักวิจัยจากคณะสัตวแพทยศาสตร์และคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จะศึกษาเพิ่มเติมในเรื่องการแยกสายพันธุ์ของพยาธิในสุนัขและแมว โดยใช้ชิปนี้ระบุสายพันธุ์ของพยาธิ เนื่องจากจะเป็นประโยชน์ในแง่ข้อมูลเพิ่มเติมของตัวพยาธิและเชิงระบาดวิทยาด้วย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมเยี่ยมชมศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ ชื่นชมความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมฮาลาล
สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาฯ ร่วมมือ สสส. – พม. สานพลังภาคีเครือข่ายขับเคลื่อนงานคนไร้บ้าน
โครงการ Dogcoola กิจกรรมดี ๆ ที่สร้างสรรค์โดยนิสิตสัตวแพทย์ จุฬาฯ เชิญชวนบริจาคโลหิตช่วยชีวิตคนและส่งเสริมสวัสดิภาพสัตว์
นายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเปิดการประชุมวิชาการนานาชาติด้านวิทยาศาสตร์สาธารณสุข ครั้งที่ 24 Public Health 360: From Policy to Practice
เชิญร่วมกิจกรรม Chula Lunch Talk : GenAI x งานวิจัย: 1 ปี ที่เปลี่ยนไป! ความท้าทายใหม่ ที่นักวิจัยต้องรู้
CU Top 10 News กรกฎาคม – กันยายน 2567
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้