รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
22 พฤศจิกายน 2563
ข่าวเด่น
สถานการณ์ฝุ่นจิ๋ว PM2.5 กลับมาสร้างผลกระทบต่อคุณภาพอากาศของประเทศไทยเป็นประจำทุกปี ส่งผลต่อสุขภาพของคนไทยในหลายพื้นที่ที่ต้องใช้ชีวิตเผชิญกับอันตรายจากฝุ่นขนาดเล็กที่มีค่าเกินมาตรฐาน
จากปัญหาดังกล่าวทำให้อาจารย์จากคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ ศึกษาวิจัยสารผสมที่สามารถดักจับฝุ่น PM2.5 ที่แขวนลอยอยู่ในอากาศให้ตกลงสู่พื้นได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งได้รับการต่อยอดจากภาคเอกชน โดยบริษัทเอส.ที.โพรเทค จำกัดร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการใช้สิทธิในผลงานวิจัยสารผสมสำหรับลดฝุ่นซึ่งเป็นนวัตกรรมเทคโนโลยีทางเภสัชศาสตร์เพื่อนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์สเปรย์ลดฝุ่น PM2.5“PhytFoon ไฟท์ฝุ่น” ต่อไป งานแถลงข่าวเปิดตัวผลิตภัณฑ์อย่างเป็นทางการจะจัดขึ้นในวันที่ 16 ธันวาคม 2563 ที่โรงแรมเรเนซองส์ ราชประสงค์
นวัตกรรม “สเปรย์ลดฝุ่น PM2.5” ผลงานวิจัยของรศ.ภญ.ร.ต.อ.หญิง ดร.สุชาดา สุขหร่อง และ รศ.ภญ.ร.ท.หญิง ดร.ภัสราภา โตวิวัฒน์อาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ จากบริษัท เฮิร์บ การ์เดียน จำกัด บริษัทสตาร์ทอัพภายใต้การบ่มเพาะของ CU Pharmacy Enterprise คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ และ CU Innovation Hub จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นสเปรย์ลดปริมาณฝุ่น PM2.5ในพื้นที่ปิด เช่น ในบ้าน สำนักงาน รถยนต์ ฯลฯ ด้วยสารผสมที่สามารถจับฝุ่นละอองขนาดเล็กที่มองไม่เห็นซึ่งลอยอยู่ในอากาศให้ตกลงสู่พื้นได้อย่างรวดเร็ว นวัตกรรมนี้ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ ในโครงการ Leaders in Innovation Fellowships Programme (LIF) ประจำปี 2563 ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับ Newton Fund และThe Royal Academy of Engineering สหราชอาณาจักร
รศ.ภญ.ร.ต.อ.หญิง ดร.สุชาดาเผยถึงจุดเริ่มต้นในการพัฒนานวัตกรรมทางเภสัชศาสตร์ในการลดปริมาณฝุ่นPM2.5ว่ามีที่มาจากการมองฝุ่นว่าเป็นอนุภาคของแข็งที่แขวนลอยในอยู่อากาศ ดังนั้นจึงคิดหาวิธีที่ทำให้ฝุ่นตกลงมาสู่พื้น โดยใช้เทคโนโลยีทางเภสัชกรรมคิดค้นสารผสมที่สามารถดักจับฝุ่น PM2.5 ด้วยกลไกจำเพาะ ในการทำงานวิจัยครั้งนี้ใช้เวลากว่า 1 ปีจนได้สารผสมที่เป็นสารจากธรรมชาติมีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัยต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม สารผสมที่ผลิตนี้สามารถทำให้ PM2.5 เกาะรวมตัวกัน ซึ่งได้มีการพิสูจน์ลักษณะฝุ่นที่ตกลงมาสู่พื้นหลังการใช้สารฉีดพ่นด้วยกล้องจุลทรรศน์ พบว่าฝุ่นมีขนาดใหญ่ขึ้นและไม่ลอยขึ้นไปในอากาศให้เราสูดหายใจเข้าไป นวัตกรรมนี้นับเป็นการ บูรณาการความรู้ด้านเภสัชกรรมและวิทยาศาสตร์ โดยได้รับความร่วมมือในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับฝุ่น จากอาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ และอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญเรื่องฝุ่นจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
“ไอเดียเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการสร้างนวัตกรรม เราต้องมองให้เห็นปัญหา และมีแนวคิดในการแก้ปัญหา สิ่งที่ยากที่สุดคือการทดสอบว่าสิ่งที่เราคิดค้นนั้นมีประสิทธิภาพ สามารถนำไปใช้ได้จริง และ ต้องมีผลการพิสูจน์อย่างถูกต้องด้วย” รศ.ภญ.ร.ต.อ.หญิง ดร.สุชาดากล่าว
รศ.ภญ.ร.ท.หญิง ดร.ภัสราภา กล่าวเสริมว่า “นวัตกรรมเกิดขึ้นจากการรวมศาสตร์โดยได้รับความร่วมมือและการสนับสนุนจากคณะต่างๆ รวมถึงในด้านธุรกิจและการตลาด จะช่วยให้สามารถนำงานวิจัยไปต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ได้ กำลังใจที่ช่วยให้งานวิจัยประสบความสำเร็จคือการมีเพื่อนคู่คิดและทีมงานที่ดี ช่วยให้กำลังใจซึ่งกันและกัน นอกจากนี้การได้ใช้ความรู้ที่มีอยู่ทำงานวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมทำให้ชีวิตมีคุณค่า”
เชิญร่วมกิจกรรม Chula Lunch Talk : GenAI x งานวิจัย: 1 ปี ที่เปลี่ยนไป! ความท้าทายใหม่ ที่นักวิจัยต้องรู้
CU Top 10 News กรกฎาคม – กันยายน 2567
เปิดมิติใหม่ความร่วมมือ จุฬาฯ และ AFP ขยายโอกาสนิสิตไทยในวงการสื่อสารระดับโลก
คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ “รักษาฟันฟรี” ถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เนื่องในวันทันตสาธารณสุขแห่งชาติ
17 ต.ค. 67 เวลา 08.00 น.
อาคารบรมนาถศรีนครินทร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ
เสวนา Chula the Impact ครั้งที่ 25 “แพลตฟอร์มจุฬาฯ ฝ่าพิบัติ: Digital War Room” นวัตกรรมจากจุฬาฯ ที่ใช้ชี้จุด คาดคะเน และให้ข้อมูลผู้ประสบภัยได้อย่างแม่นยำและทันสมัย
9 ต.ค. 67
ห้องประชุม 202 อาคารจามจุรี 4 จุฬาฯ
คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดการประชุมวิชาการ The 1st International Study Group on Creative Arts Therapy ดูแลสุขภาวะด้วยศิลปะบำบัด
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้