ข่าวสารจุฬาฯ

อาจารย์ นักวิจัยจุฬาฯ ได้รับ “รางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ ปี 2564”

อาจารย์ นักวิจัยจุฬาฯ ได้รับการประกาศเกียรติคุณจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ให้ได้รับรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ  ประจำปี 2564 ในสาขาต่างๆ ได้แก่ รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ รางวัลผลงานวิจัย รางวัลวิทยานิพนธ์ และรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น จากการทุ่มเทอุทิศตนสร้างสรรค์ผลงานวิจัยที่มีความโดดเด่นและเป็นประโยชน์ต่อสังคม โดยมีผู้ได้รับรางวัลต่างๆ ดังนี้

รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2564 สาขาปรัชญา ได้แก่

  • รศ.ดร.อภิวัฒน์ รัตนวราหะ จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

รางวัลผลงานวิจัย ประจำปี 2564  

คณาจารย์ นักวิจัยจุฬาฯ ได้รางวัลจำนวน 7 ผลงาน จาก 42 ผลงาน   ใน 11 สาขาวิชาการ ดังนี้

  • รางวัลระดับดีมาก จำนวน 2 รางวัล ได้แก่
  1. ศ.ดร.สพ.ญ.อัจฉริยา ไศละสูต คณะสัตวแพทยศาสตร์
    ผลงานเรื่อง “นวัตกรรมอุปกรณ์ระบบของไหลจุลภาคเพื่อประยุกต์ใช้ศึกษาด้านวิศวกรรมชีวภาพในทางสัตวแพทย์เป็นรูปแบบการศึกษา” (สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์)
  2. ผศ.ดร.อธิภัทร มุทิตาเจริญ คณะเศรษฐศาสตร์
    ผลงานเรื่อง “การกระตุ้นเศรษฐกิจและหนี้ครัวเรือน : หลักฐานเชิงประจักษ์ จากโครงการคืนภาษีสำหรับรถคันแรกของประเทศไทย” (สาขาเศรษฐศาสตร์)
  • รางวัลระดับดี จำนวน 5 รางวัล ได้แก่
  1. ผศ.ดร.ภัทรา ยี่ทอง คณะวิทยาศาสตร์
    ผลงานเรื่อง “การพบยีนก่อโรคใหม่ที่เป็นสาเหตุของโรคลมชักและการเคลื่อนไหวผิดปกติ” (สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์)
  2. รศ.ดร.วรัญญู พูลเจริญ คณะเภสัชศาสตร์
    ผลงานเรื่อง “แพลตฟอร์มการผลิตชีวเภสัชภัณฑ์จากพืชที่ว่องไวและขยายขนาดการผลิตได้ง่าย” (สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช)
  3. รศ.ดร.พนม คลี่ฉายา คณะนิเทศศาสตร์
    ผลงานเรื่อง “การใช้สื่อดิจิทัลและความเป็นพลเมืองบนสื่อดิจิทัลของนักเรียนมัธยมศึกษาในประเทศไทย” (สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์)
  4. รศ.ดร.จินตวีร์ คล้ายสังข์ คณะครุศาสตร์
    ผลงานเรื่อง “การพัฒนาเทคโนโลยีอัจฉริยะในห้องเรียนกลับด้านเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ด้านทักษะอาชีพและทักษะชีวิตสำหรับผู้เรียนระดับอุดมศึกษา” (สาขาการศึกษา)
  5. รศ.ดร.จินตวีร์ คล้ายสังข์ คณะครุศาสตร์
    ผลงานเรื่อง “การพัฒนาระบบแบบวัดและเกณฑ์ประเมินแบบรูบริคส์ออนไลน์ ด้านรู้สารสนเทศ การรู้สื่อ และการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารสำหรับผู้เรียนระดับอุดมศึกษา” (สาขาการศึกษา)

รางวัลวิทยานิพนธ์ ประจำปี 2564

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รางวัลจำนวน 11 ผลงาน จากทั้งหมด 47 เรื่อง ใน 12 สาขาวิชาการ ดังนี้

  • รางวัลระดับดีเด่น จำนวน 1 รางวัล
  1. ดร.ชัยบุตร อริยะเชษฐ คณะแพทยศาสตร์
    วิทยานิพนธ์เรื่อง “การใช้เนื้อเยื่อกระเพาะอาหารเพื่อสร้างเซลล์ผลิตอินซูลิน สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน” (สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์)
    อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก: Prof. Dr.Qiao Zhou
  • รางวัลระดับดีมาก จำนวน 2 รางวัล ได้แก่
  1. ดร.พัชรา นอบนพ คณะแพทยศาสตร์
    วิทยานิพนธ์เรื่อง “การสร้างและการศึกษาลักษณะของเกล็ดเลือดที่ไม่แสดงเอชแอลเอ ซึ่งพัฒนาจากเซลล์ต้นกำเนิดจากการเหนี่ยวนำ” (สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์)
    อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก: ศ.นพ.วรศักดิ์ โชติเลอศักดิ์
  2. ดร.วราภรณ์ เชิดชู คณะศิลปกรรมศาสตร์
    วิทยานิพนธ์เรื่อง “เพลงตับ “พิณทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา” (สาขาปรัชญา)
    อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก: รศ.ดร.ขำคม พรประสิทธิ์
  • รางวัลระดับดี จำนวน 10 รางวัล ได้แก่
  1. ดร.อรรณพ เอกธาราวงศ์ คณะวิทยาศาสตร์
    วิทยานิพนธ์เรื่อง “การศึกษาทางทฤษฎีถึงผลของความไม่เป็นระเบียบเชิงโครงสร้างต่อความเสถียรเชิงอุณหพลศาสตร์และสมบัติทางกายภาพของสารประกอบโบรอน” (สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์)
    อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก: Assoc. Prof.Bjorn Alling
  2. พญ.ดร.ณศมน วรรณลภากร คณะแพทยศาสตร์  
    วิทยานิพนธ์เรื่อง “การตอบสนองทางภูมิคุ้มกันต่อวัคซีนไอกรน” (สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์)
    อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก: ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ
  3. ดร.นิภาพรรณ ฤาชา สถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ
    วิทยานิพนธ์เรื่อง “การพัฒนาตัวรับรู้ชีวภาพฐานกระดาษสำหรับการตรวจวัดสารบ่งชี้ ทางชีวภาพ” (สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช)
    อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก : ศ.ดร.อรวรรณ ชัยลภากุล
  4. ดร.เฉลิมชัย ภิรมย์รักษ์ คณะศิลปกรรมศาสตร์
    วิทยานิพนธ์เรื่อง “การขึ้นลอยในการแสดงโขน” (สาขาปรัชญา)
    อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก: รศ.ดร.อนุกูล โรจนสุขสมบูรณ์ 
  5. ผศ.ดร.มณิศา วศินารมณ์ คณะศิลปกรรมศาสตร์
    วิทยานิพนธ์เรื่อง “นาฏกรรมไทยกับนโยบายการปกครอง พ.ศ. 2468 – 2516” (สาขาปรัชญา)
    อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก: รศ.ดร.สวภา เวชสุรักษ์ 
  6. ผศ.ดร.ธีรัช เลาห์วีระพานิช คณะศิลปกรรมศาสตร์  
    วิทยานิพนธ์เรื่อง “บทประพันธ์เพลงดุษฎีนิพนธ์ : นวนิยาย “เพชรพระอุมา” สำหรับวงซินทีสิสแจ๊สออนซอมเบิล” (สาขาปรัชญา)
    อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก: ศ.ดร.วีรชาติ เปรมานนท์
  7. ดร.พัชร์ นิยมศิลป คณะนิติศาสตร์
    วิทยานิพนธ์เรื่อง “กฎหมายการชุมนุมสาธารณะและการควบคุมฝูงชนในระบอบการปกครองแบบผสม” (สาขานิติศาสตร์)
    อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก: Dr.Michael Hamilton
  8. ดร.เอกลักษณ์ ไชยภูมี คณะรัฐศาสตร์
    วิทยานิพนธ์เรื่อง “พินิจทฤษฎีการปกครองแบบผสมกับรัฐธรรมนูญไทย พ.ศ. 2475 – 2534” (สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์)
    อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก: ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร
  9. ดร.แสงโสม กออุดม คณะรัฐศาสตร์
    วิทยานิพนธ์เรื่อง “มองผ่านสายตา “มาเฟียรัสเซีย”: การวิเคราะห์รูปแบบองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติในบริบทสังคมไทย” (สาขาสังคมวิทยา)
    อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก: รศ. ดร.สุมนทิพย์ จิตสว่าง
  10. ดร.พรชัย แก้วทรัพย์ศักดิ์ คณะแพทยศาสตร์
    วิทยานิพนธ์เรื่อง “การระบุกรดไรโบนิวคลิอิกในหน่วยย่อยของเซลล์ที่มีชีวิตด้วยเอนไซม์เพอรอกซิเดส” (สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช)
    อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก: Prof. Alice Ting

รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประจำปี 2564 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รางวัลจำนวน 9 ผลงาน จากทั้งหมด 56 ผลงาน ใน 8 สาขาวิชาการ มีดังนี้

  • รางวัลระดับดีมาก จำนวน 1 รางวัล ได้แก่
  1. ศ.ดร.วันชัย ดีเอกนามกูล คณะเภสัชศาสตร์
    ผลงานเรื่อง “ผลิตภัณฑ์แก้อาการผมร่วงชนิดแอนโดรจินิค-อโลเพเชียจากสารสกัดแสมทะเล” (สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช)
  • รางวัลระดับดี จำนวน 8 รางวัล ได้แก่
  1. ศ.ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล คณะวิทยาศาสตร์
    ผลงานเรื่อง “แนวป่าชายเลนประดิษฐ์” เพื่อลดผลกระทบของการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลบริเวณอ่าวไทยตอนบน” (สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์)
  2. ศ.ดร.สนอง เอกสิทธิ์ คณะวิทยาศาสตร์
    ผลงานเรื่อง “เครื่องผลิตละอองไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์สำหรับฆ่าเชื้อ” (สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์)
  3. ศ.ดร.อรวรรณ ชัยลภากุล จณะวิทยาศาสตร์ 
    ผลงานเรื่อง “เซ็นเซอร์ฐานกระดาษเรืองแสงสำหรับการคัดกรองดีเอ็นเอของไวรัสตับอักเสบซี” (สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช)
  4. ดร.นาฏนัดดา รอดทองคำ สถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ
    ผลงานเรื่อง “อุปกรณ์ตัวรับรู้แบบสวมใส่เพื่อเฝ้าระวังภาวะเบาหวานและกล้าวเนื้ออ่อนแรงโดยการตรวจวัดจากเหงื่อ” (สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช)
  5. รศ.ดร.ดวงดาว อาจองค์ คณะวิทยาศาสตร์
    ผลงานเรื่อง “ผลิตภัณฑ์กรีนการ์เดียน สารเคลือบนาโนเซลลูโลสเพื่อยืดอายุผักและผลไม้สด” (สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา)
  6. ผศ.พรเทพ เลิศเทวศิริ คณะครุศาสตร์
    ผลงานเรื่อง “โคโมดูล : การประกอบโครงสร้างของเล่นเพื่อสร้างแรงบันดาลใจสำหรับเด็กปฐมวัย” (สาขาการศึกษา)
  7. ศ.ดร.อรวรรณ ชัยลภากุล คณะวิทยาศาสตร์ 
    ผลงานเรื่อง “เซ็นเซอร์ดีเอ็นเอเชิงสีฐานกระดาษที่ทำงานร่วมกับสมาร์ทโฟนสำหรับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก” (สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช)
  8. รศ.ดร.นาตยา งามโรจนวณิชย์ คณะวิทยาศาสตร์  
    ผลงานเรื่อง “เซ็นเซอร์ทางชีวภาพชนิดใหม่จากเทคโนโลยีจอภาพเรืองแสงอิเล็กโทรลูมิเนสเซนซ์แบบพิมพ์สกรีนสำหรับการตรวจวัดโปรตีนซีรีแอคทีฟ”(สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช)

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า