ข่าวสารจุฬาฯ

คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมมือชุมชน สืบสานศิลปวัฒนธรรม

สาขาวิชาดุริยางคศิลป์ไทย คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับสาขาวิชาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางวัฒนธรรมดนตรีไทย คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และโรงเรียนศรีสะอาดวิทยาคม จัดสัมมนาทางวิชาการเรื่อง “เจรียงจาเป็ย เสน่ห์การขับลำสะพานวัฒนธรรมไทย-กัมพูชา” เมื่อวันที่ 7-8 พฤศจิกายน 2563 ณ วัดศรีสะอาดและโรงเรียน ศรีสะอาดวิทยาคม ต.ศรีสะอาด อ.ขุขันธ์ จ.ศรีสะเกษ

กิจกรรมในครั้งนี้เป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสาขาวิชาดนตรีศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ และสาขาวิชาดุริยางคศิลป์ไทย คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ในการพัฒนาเครือข่ายทางด้านศิลปวัฒนธรรมในชุมชน รวมทั้งเป็นการลงพื้นที่ร่วมกันพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของนิสิตจุฬาฯ 17 คน และนักศึกษาจากคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ ศรีสะเกษ 42 คน ซึ่งได้ร่วมกันออกแบบกระบวนการสร้างประสบการณ์ เรียนรู้มรดกวัฒนธรรมจากภูมิปัญญาท้องถิ่น ร่วมมือวางแผนจัดงานสัมมนาทางวิชาการในพื้นที่ซึ่งเป็นแหล่งอารยธรรมสำคัญของวัฒนธรรมดนตรีเขมรที่ปรากฏในอีสานใต้ สร้างเครือข่ายทางศิลปวัฒนธรรมเพื่อร่วมกันสร้างสรรค์แนวทางการต่อยอดองค์ความรู้และการให้บริการสู่สังคมอย่างเป็นรูปธรรม โดยได้รับเกียรติจากคุณครูจุม แสงจันทร์ ศิลปินพื้นบ้านอีสาน ประจำปี 2559 สาขาดนตรีและนาฏกรรม ผู้เก็บรักษาทำนองต้นแบบในการดีดจาเป็ยและการขับลำเรื่องราวจากชาดกและนิทานพื้นบ้านของเขมรเป็นท่านสุดท้ายในจังหวัดศรีสะเกษ รศ.ดร.เฉลิมศักดิ์ พิกุลศรี คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น อ.ณภัทร เชาว์นวม คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เป็นวิทยากร ดำเนินรายการโดย รศ.ดร.พรประพิตร์ เผ่าสวัสดิ์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และ อ.ธัญญะ สายหมี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ ศรีสะเกษ

งานสัมมนาวิชาการครั้งนี้ได้รับความสนใจจากชุมชนในหมู่บ้านศรีสะอาด หมู่ 1, 2, 4, 6, และ 7 รวมทั้งนักเรียนโรงเรียนศรีสะอาดวิทยาคม โรงเรียนศรีสะเกษวิทยาลัย และชุมชนใกล้เคียง มีผู้เข้าร่วมฟังการสัมมนาทั้งสิ้น 178 คน และมีผู้เข้ารับฟังจากการถ่ายทอดสดมากกว่า 7,700 ครั้ง (7.7K Views) การเข้าถึงเพจจำนวน 1.9K องค์ความรู้การเจรียงจาเป็ยมีเนื้อหาลึกซึ้งทั้งด้านดนตรี วรรณศิลป์และภาษาศาสตร์ องค์ความรู้ดังกล่าวใกล้สูญหายและอยู่ในวงจำกัด นับเป็นการสืบสานศิลปวัฒนธรรมล้ำค่าด้วยเครือข่ายความร่วมมือทั้งระดับสถาบันการศึกษาและหน่วยงานท้องถิ่น เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับประวัติ ความเป็นมา กลวิธีการบรรเลง ความเชื่อ พิธีกรรม และบทเพลงเกี่ยวกับจาเป็ยและการเจรียงเผยแพร่สู่สาธารณชนให้ปรากฏสืบต่อไป

ผู้สนใจสามารถติดตามฟังย้อนหลังได้ที่
https://www.facebook.com/547563245698746/videos/849756295853158/?vh=e&d=n

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า