รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
27 พฤศจิกายน 2563
ข่าวเด่น, ภาพข่าว
หลักสูตรปริญญาโทสาขาการจัดการแบรนด์และการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จัดงาน “ASEAN and Thailand’s Top Corporate Brands 2020” ในโครงการ Chula the Impact ครั้งที่ 2 เพื่อประกาศผลงานวิจัยและมอบรางวัลให้แก่องค์กรที่มีมูลค่าแบรนด์องค์กรสูงสุดของประเทศไทยและในอาเซียน ประจำปี 2563 ซึ่งปีนี้นับเป็นปีที่ 11 ที่มีการจัดงานประกาศผลองค์กรที่มีมูลค่าแบรนด์สูงสุด โดยมี ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นประธานในงาน เมื่อวันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน 2563 ณ ห้อง 111 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์
ศ.ดร.กุณฑลี รื่นรมย์ และ ผศ.ดร.เอกก์ ภทรธนกุล ภาควิชาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้สร้างเครื่องมือวัดมูลค่าแบรนด์องค์กร CBS Valuation (Corporate Brand Success Valuation) ตั้งแต่ปี 2554 และได้ทำงานวิจัยนี้มาอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 11 เปิดเผยว่า “แม้ปี 2563 จะมีสถานการณ์ไม่ปกติจากการระบาดของโควิด-19 แต่คณะผู้วิจัยยังคงทำงานวิจัยวัดมูลค่าแบรนด์องค์กรของบริษัท จดทะเบียนทั้งในประเทศไทยและในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมให้ผู้บริหารระดับสูงของภาคธุรกิจให้ความสำคัญต่อการสร้างและพัฒนาแบรนด์องค์กร (Corporate Brand) เพื่อความยั่งยืนขององค์กรในระยะยาว โดยเครื่องมือวัดมูลค่าแบรนด์องค์กรได้นำตัวเลขจากงบการเงินในรายงานประจำปี ซึ่งเป็นข้อมูลที่บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เปิดเผยต่อสาธารณชนมาคำนวณโดยใช้สูตร CBS Valuation ใช้ค่าเฉลี่ยระยะเวลา 3 ปี ปัจจุบันใน ASEAN มีตลาดหลักทรัพย์อยู่ 6 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม สูตรคำนวณ CBS Valuation ได้บูรณาการแนวคิดด้านการตลาด การเงิน และการบัญชี อย่างมีระบบ ทำให้สามารถคำนวณมูลค่าแบรนด์องค์กรออกมาเป็นตัวเลขทางการเงินโดยไม่มีความลำเอียง”
ในปี 2563 มีบริษัทที่ได้รับรางวัล Thailand’s Top Corporate Brand 5 ปีซ้อนติดต่อกันเข้ารับรางวัล หอเกียรติยศสุดยอดแบรนด์องค์กรไทย (Thailand’s Top Corporate Brands Hall of Fame 2019) 1 บริษัท ได้แก่ บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) สำหรับสุดยอดแบรนด์องค์กรไทย มีจำนวน 15 บริษัท ได้แก่ คาราบาวกรุ๊ป ธนาคารกสิกรไทย บัตรกรุงไทย ทิพยประกันภัย พี.ซี.เอส. แมชีน กรุ๊ป โฮลดิ้ง อินโด รามา เวนเจอร์ส ปูนซิเมนต์นครหลวง แลนด์แอนด์เฮ้าส์ พลังงานบริสุทธิ์ โรงพยาบาลจุฬารัตน์ วีจีไอ ดิ เอราวัณ กรุ๊ป ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ เคซีจี อิเลคโทรนิคส์ และอินทัช โฮลดิ้ง
สำหรับสุดยอดแบรนด์องค์กรของอาเซียน (ASEAN) มี 6 บริษัท จาก 6 ประเทศ ได้แก่ Bank Central Asia ประเทศอินโดนีเซีย Public Bank ประเทศมาเลเซีย SM Prime Holdings ประเทศฟิลิปปินส์ Singtel ประเทศสิงคโปร์ บริษัท ท่าอากาศไทย จำกัด (มหาชน) ประเทศไทย และ Veitnam Dairy Products ประเทศเวียดนาม ทั้งนี้ มูลค่าแบรนด์องค์กรของบริษัท ท่าอากาศไทย จำกัด (มหาชน) มีมูลค่าแบรนด์องค์กร 26,108 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทยกว่า 781,938 ล้านบาท
เครื่องมือ CBS Valuation ทำให้ “คุณค่าแบรนด์องค์กร” สามารถระบุเป็นตัวเลขทางการเงิน สามารถสื่อสารและสร้างความเชื่อถือให้แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจและสาธารณชน งานวิจัยประเมินค่าแบรนด์องค์กรนี้ได้รับรางวัลงานวิจัยดีเด่น สาขาเศรษฐศาสตร์ จากสภาวิจัยแห่งชาติ ในปี 2557 องค์กรธุรกิจชั้นนำหลายบริษัทได้นำผลวิจัยเป็นหนึ่งใน KPI ที่ช่วยชี้ผลสัมฤทธิ์ของการพัฒนาองค์กร การประกาศผลวิจัยและการมอบโล่รางวัลเกียรติยศให้แก่ผู้บริหารในแต่ละปีเป็นเวลากว่า 10 ปี จึงสะท้อนถึงความสำเร็จของการพัฒนาแบรนด์องค์กรเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม
อาจารย์และนิสิตสถาปัตย์ จุฬาฯ ร่วม Workshop กับอาจารย์และนักศึกษา Tokyo Metropolitan University ที่ญี่ปุ่น
อาจารย์และนิสิตภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วม Workshop กับอาจารย์และนักศึกษาจาก Faculty of Urban Environmental Sciences, Tokyo Metropolitan University ประเทศญี่ปุ่น (TMU)
จุฬาฯ ร่วมพิธีวางพวงมาลาถวายสักการะและจัดพิธีบำเพ็ญกุศลอุทิศถวายพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรเนื่องใน “วันนวมินทรมหาราช”
ละครนิเทศจุฬาฯ 2567 “ด้ายแดงเป็นเหตุ Unfortunate Love”
24 - 26 มกราคม 2568
ณ โรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศ ชั้น 7 อาคารสยามสแควร์
จุฬาฯ ต้อนรับคณะศึกษาดูงานด้านการบริหารความเสี่ยงจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แบ่งปันประสบการณ์การพัฒนาระบบบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัย
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ จัดอบรมเรื่อง “กัญชาทางการแพทย์: ความรู้ที่ต้องมีสำหรับเภสัชกรยุคใหม่”
11 ธ.ค. 67 เวลา 09.00 – 12.15 น.
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ และ Zoom
คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดอบรมโครงการ “Next-Gen Arts: พัฒนาศักยภาพครูศิลปะด้วย Soft Power”
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้