รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
8 ธันวาคม 2563
ข่าวเด่น, งานวิจัยและนวัตกรรม
ชุดหุ่นจำลองสามมิติของเยื่อหุ้มสมองและโครงหลอดเลือดของสมองสุนัข ผลงานนวัตกรรมจากคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลเหรียญทอง (Gold Award) และรางวัลพิเศษ (Special Award) 2 รางวัล จากงานประชุมวิชาการและการประกวดนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติ ครั้งที่ 45 “Inova-International Invention Show” (INOVA 2020) ณ เมืองซาเกร็บ ประเทศโครเอเชีย ซึ่งจัดงานในรูปแบบออนไลน์ เมื่อวันที่ 11 – 13 พฤศจิกายน 2563
นวัตกรรมดังกล่าวเป็นผลงานของ ผศ.สพ.ญ.ภาวนา เชื้อศิริ รศ.น.สพ.ดร.ไพศาล เทียนไทย รศ.น.สพ.ดร.เกรียงยศ สัจจเจริญพงษ์ และนางจันทิมา อินทรปัญญา ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เป็นชุดสื่อการเรียนการสอน ประกอบด้วยโมเดลจำนวน 4 ชิ้น และแต่ละชิ้นสามารถใช้อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างสมองสุนัขที่มีเยื่อหุ้มสมองห่อหุ้มอยู่ และอยู่ภายในกะโหลกศีรษะซึ่งมีหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำมาหล่อเลี้ยงสัมพันธ์กันอยู่แบบสามมิติ โดยรางวัลที่ได้รับจากการประกวดครั้งนี้ประกอบด้วย รางวัลเหรียญทอง INOVA 2020, Gold Award และรางวัลพิเศษ (Special Award) 2 รางวัล คือ INOVA 2020 Special Award (Award Certificate Only) จากเจ้าภาพผู้จัดการประกวด Croatian Inventors Network (organizer of INOVA) และ Special Award (Medal and Award Certificate) จากแคนนาดา Toronto International Society of Innovation & Advanced Skills (TISIAS)
ผศ.สพ.ญ.ภาวนา เชื้อศิริ ผู้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาชุดหุ่นจำลองสามมิติดังกล่าว เปิดเผยว่านวัตกรรมนี้มีการออกแบบด้วยโปรแกรมสร้างสื่อสามมิติจากสมองสุนัขที่รักษาสภาพด้วยฟอร์มาลีนเป็นต้นแบบในการผลิต และการพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์สามมิติ โดยใช้เส้นใยพลาสติกเอบีเอส สามารถแสดงความสัมพันธ์แบบสามมิติให้เข้าใจได้ง่าย ตกแต่งสีให้สวยงามตามลักษณะทางกายวิภาค มีคุณภาพดี น้ำหนักเบา ทนทาน กันน้ำ เก็บรักษาได้นาน มีความปลอดภัย ราคาไม่สูง ช่วยให้เข้าใจง่าย และสะดวกสำหรับการใช้งานเสริมหรือทดแทนสมองจากร่างอาจารย์ใหญ่ เพื่อประกอบในการเรียนการสอนประสาทกายวิภาคศาสตร์ทางสัตวแพทย์ ช่วยทำให้นิสิตเข้าใจเนื้อหาบทเรียนได้ง่ายมากขึ้น เพราะมองเห็นโครงสร้างทางกายวิภาคที่มีขนาดเล็กได้อย่างชัดเจนมากขึ้น
“หุ่นโมเดลนี้มีการขยายขนาดใหญ่ขึ้นกว่าของจริง ช่วยให้เห็นถึงโครงสร้างชัดเจนตรงตามเนื้อหาตำราเรียน มีความดึงดูด สีสันสวยงามน่าสัมผัส ทำให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนการสอนได้มากขึ้น โดยใช้ร่วมกับโปรแกรมสื่อสามมิติ ซึ่งสื่อการสอนนี้ยังไม่มีผู้ผลิตโมเดลวางจำหน่ายในบ้านเรา” ผศ.สพ.ญ.ภาวนา เผยถึงลักษณะเด่นของผลงานที่ได้รับรางวัลใหญ่ในครั้งนี้
สำหรับแรงบันดาลใจในการคิดค้นนวัตกรรมนี้เนื่องจากการเรียนการสอนกายวิภาคทางสัตวแพทย์ ซึ่งมีการใช้ฟอร์มาลีนในการเก็บรักษาสภาพร่างอาจารย์ใหญ่ทำให้สภาพร่างและอวัยวะแข็ง ไม่สมจริง มีกลิ่นเหม็น ระคายเคืองต่อตาและเยื่อบุทางเดินระบบหายใจ รวมทั้งเป็นสารก่อมะเร็ง ยิ่งไปกว่านั้นเนื่องจากเป็นนิสิตชั้นปีต้นๆ ซึ่งยังขาดทักษะความชำนาญในการผ่าชำแหละโครงสร้างต่างๆ ทางกายวิภาคที่มีขนาดเล็ก ทำให้อาจารย์ใหญ่มักชำรุดเสียหาย ไม่สามารถนำมาศึกษาทบทวนด้วยตนเองต่อได้ ส่งผลให้ผู้เรียนไม่เข้าใจในเนื้อหาบทเรียน
ผศ.สพ.ญ.ภาวนา กล่าวเพิ่มเติมว่า หุ่นเหล่านี้มีลักษณะโครงสร้างทางกายวิภาคครบถ้วนตามความเป็นจริง มีเนื้อหาที่ตรงกับบทเรียน สามารถนำมาใช้งานเพื่อการเรียนการสอนกายวิภาคในห้องเรียนได้เป็นอย่างดี ผลงานนวัตกรรมนี้ได้ยื่นขอรับการจดอนุสิทธิบัตรเรียบร้อยแล้ว ปัจจุบันได้นำมาใช้ในห้องเรียนเพื่อเสริมและทดแทนอวัยวะที่ขาดแคลน หรือร่างอาจารย์ใหญ่ที่ดองด้วยน้ำยาฟอร์มาลีน ผู้เรียนสามารถใช้งานร่วมกับโปรแกรมสื่อสามมิติ และใช้คอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ตในการสแกน AR Code นอกจากนี้ยังสามารถนำสื่อเพื่อการเรียนการสอนนี้มาประยุกต์ใช้ทางคลินิก เช่น พยาธิคลินิก หรือใช้อธิบายลักษณะสภาพปกติและความผิดปกติที่เกิดกับสมองเยื่อหุ้มกะโหลกศีรษะ และหลอดเลือดที่มาเลี้ยงได้
“อนาคตอยากพัฒนาชุดหุ่นจำลองเพื่อใช้กับอวัยวะส่วนอื่นๆ ของร่างกายสุนัข รวมถึงสัตว์ชนิดอื่นๆ นอกจากนี้ยังต้องการบริษัทผู้ร่วมลงทุนทั้งภาคเอกชน หรือหน่วยงานภาครัฐที่มีความสามารถในการผลิตสื่อการเรียนการสอนโดยใช้วัสดุทางเลือกในการผลิตอวัยวะจำลองกายวิภาคทางสัตวแพทย์ รวมถึงพัฒนาด้านการออกแบบและการตลาด เพื่อให้ชุดหุ่นจำลองนี้มีคุณภาพดีและเพียงพอกับความต้องการ” ผศ.สพ.ญ.ภาวนา เผยถึงแผนงานที่จะพัฒนาต่อไปในอนาคต
ทั้งนี้ผู้สนใจสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ สถาบันทรัพย์สินทางปัญญา จุฬาฯ โทร. 0-2218-4195-7 ต่อ 109
เชิญร่วมงานคืนเหย้าชาวจุฬาฯ “108 ปี จามจุรีประดับใจ” 26 มีนาคม 2568
26 มี.ค. 68
สนามหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์สองรัชกาล
เชิญชาวจุฬาฯ ร่วมงาน “สงกรานต์รวมใจ วิถีไทย จุฬาฯ สืบสานประเพณี”
จุฬาฯ เชิญบุคลากรตรวจสุขภาพประจำปี โดย Walk-in ได้ พิเศษปีนี้เพิ่มตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่
สัมมนาวิชาการ “โอกาสทางเศรษฐกิจการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวของประเทศไทยในคาซัคสถาน”
พิธีเปิดกิจกรรม Enrichment Program for CU รุ่นที่ 2 และกิจกรรมประเมินความสุข (CU Happiness)
มีนาคม - กรกฎาคม 2568
PMCU เปิดโอกาสให้เยาวชนไทยประกวดออกแบบพื้นที่อุทยาน 100 ปีจุฬาฯ ให้เป็นสวนแห่งความสุข ภายใต้แนวคิด CHULA FOR ALL
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้