ข่าวสารจุฬาฯ

FAAMAI ​เชิญชวน เปิดประสบการณ์แปลกใหม่ชมภาพยนตร์แบบ immersive 360˚

ศูนย์ปฏิบัติการศิลปกรรมดิจิทัล (FAAMAI DIGITAL ARTS HUB) ขอเชิญชมนิทรรศการศิลปกรรมดิจิทัล ครั้งที่ 5 “ศิลปกรรมดิจิทัลเพื่อชุมชน” FAAMAI DOME บริเวณข้างอุทยาน 100 ปีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในวันอาทิตย์ที่ 20 ธันวาคม 2563 ตั้งแต่เวลา 13.00 21.00 .

ร่วมสัมผัสประสบการณ์แปลกใหม่ในการชมภาพยนตร์แบบ immersive 360˚ ที่ได้รับรางวัลในเทศกาลภาพยนตร์ 360˚ ที่ทางศูนย์ปฏิบัติการศิลปกรรมดิจิทัลได้คัดเลือกมานำเสนอให้ทุกคนได้เข้าชมโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ประกอบด้วย

          “Desconexion” สร้างสรรค์โดย Mr.Jorge Bandera ศิลปินที่เชี่ยวชาญด้านครีเอทีฟโปรดักชั่นการสร้างมัลติมีเดียคอนเทนต์วิดิโอ Immersive Video Mapping และครีเอทีฟคอนเทนต์สำหรับฉายใน Fulldome จากเมืองโบโกตา ประเทศโคลอมเบีย

          Desconexion” ถูกสร้างขึ้นเพื่อสะท้อนตรรกะทางคณิตศาสตร์ และสภาวะการขาดความเชื่อมต่อที่ชัดเจนระหว่างมนุษย์ และในห้วงเวลาถดถอยของสังคมที่เชื่อมโยงกับกระแสบริโภคนิยม โดยสร้างขึ้นผ่านกลไก การเขียน Code และ 3D แอนิเมชั่นในรูปแบบนามธรรม ผลงานได้รับรางวัลจากเทศกาลฉายหนังฟูลโดมจำนวนมาก อาทิ รางวัลชนะเลิศโครงการผลิตวิดิโอศิลปะสร้างสรรค์สำหรับฟูลโดมปี 2018 (WINNER PROJECT I CREATION OF VIDEO ART FOR FULLDOME) จากสถาบัน IDARTES (District Institute of the Arts) ประเทศโคลัมเบีย นอกจากนี้Desconexion ยังได้รับเลือกให้เข้าฉายในเทศกาลภาพยนตร์นอกกระแส (Independent Films) ในเทศกาลหนัง the Macon Film Festival 2020 และยังได้รับรางวัล ASTRA FILM FESTIVAL FULLDOME 2019 เทศกาลภาพยนตร์ฟูลโดมที่เป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติอีกด้วย

          -“Fractal Time” เป็นผลงานของศิลปิน Mr.Julius Horsthuis  นักออกแบบภาพและเอฟเฟกต์ชาวเนเธอร์แลนด์ ที่ได้รับรางวัลมากมาย ผลงานของเขาได้รับการยอมรับจากทั่วโลกและได้รับความสนใจจากสื่อจำนวนมาก เช่น The Creators Project, Gizmodo, Newsweek และ Vimeo Staff Picks

          Fractal Time ได้รับรางวัลชนะเลิศในงาน IMMERSIVE FILM FESTIVAL 2019 (Best Short Public Choice of IFF 2019) เป็นภาพยนตร์ฟูลโดมแนวนามธรรมที่โอบล้อมผู้ชม มีเนื้อหาเกี่ยวกับจุดกำเนิดและความเป็นจักรวาลในอนาคต ศิลปิน Mr. Julius Horsthuis อยากมอบผลงานที่เป็น การเดินทางแห่งการค้นพบชิ้นนี้แก่ผู้ชม ให้ได้รับประสบการณ์เสมือนก้าวเข้าไปในโลกเสมือนจริงแบบ *แฟร็กทัล (fractal) ซึ่งเป็นคำที่ใช้ในเชิงวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ หมายถึง วัตถุทางรขาคณิต ที่มีคุณสมบัติคล้ายตนเอง คือ ดูเหมือนกันไปหมดไม่ว่าจะดูที่ระดับความละเอียดหรือสเกลใดก็ตาม

ทั้งนี้ ศูนย์ปฏิบัติการศิลปกรรมดิจิทัล (FAAMAI DIGITAL ARTS HUB) มีจุดมุ่งหมายเพื่อกระตุ้นความสนใจด้านดิจิทัลอาร์ต ถ่ายทอดความรู้ด้านศิลปะผสานกับการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้าด้วยกัน ทำให้งานศิลปะดิจิทัลอาร์ตน่าสนใจมากยิ่งขึ้น รวมถึงพัฒนาองค์ความรู้ด้านดิจิทัลอาร์ต ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เช่น โครงการประกวด FAAMAI 360 MAPPING COMPETITION และเวิร์กช็อปต่าง ๆ โดย FAAMAI ตั้งเป้าพัฒนาเป็นศูนย์รวมองค์ความรู้งานด้านดิจิทัลอาร์ตของนิสิต นักศึกษา นักวิจัย ศิลปินไทย และต่างประเทศ ตลอดจนบุคคลทั่วไปในอนาคต

          กิจกรรมครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมให้เกิดพื้นที่จัดแสดงศิลปกรรมดิจิทัลสู่สาธารณชน กระตุ้นให้กิจกรรมในชุมชน สร้างการมีส่วนร่วมก่อให้เกิดความตื่นตัวทางศิลปะอย่างสร้างสรรค์ กระตุ้นเศรษฐกิจ  สร้างรายได้ให้กับร้านค้าในชุมชน

          ผู้สนใจสามารถเข้าชมานนิทรรศการครั้งนี้ที่ FAAMAI DOME

โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย สำรองรอบเข้าชมล่วงหน้าผ่านการลงทะเบียนสแกน QR Code

***สิทธิ์การลงทะเบียน 1 ท่าน ต่อ 1 การจองที่นั่ง***

          สนใจสอบถามเพิ่มเติมข้อมูลที่โทร. 0-2218-4569 วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 09.00 – 16.00 น. หรือ https://bit.ly/faamaidigitalarts

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า