รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
28 ธันวาคม 2563
ความภูมิใจของจุฬาฯ, ภาพข่าว
เมื่อวันอังคารที่ 15 ธันวาคม 2563 ที่ชั้น 3 อาคารวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ศ.ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ นายวีระวัฒน์ ชลายนต์ ประธานมูลนิธิอรุณ สรเทศน์ นายสมภพ โปษะกฤษณะ เลขาธิการสมาคมนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์แห่งจุฬาฯ นายวิทวัส สวัสดิ์-ชูโต ประธานเจ้าหน้าที่เทคโนโลยีและวิศวกรรม บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ร่วมพิธีเปิดศูนย์ความเป็นเลิศด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ศาสตราจารย์อรุณ สรเทศน์ เพื่อแจ้งผลการดำเนินงานโครงการจัดตั้งศูนย์ฯ และกิจกรรมในปี 2563 รวมถึงเพื่อสร้างความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม ภาคประชาสังคมและภาครัฐ ในด้านการวิจัยและให้บริการทางวิชาการ เผยแพร่ความรู้ และพัฒนาบุคลากรด้านสิ่งแวดล้อม ภายในศูนย์ฯ มีเครื่องมือวิจัยขั้นสูง 12 รายการ สำหรับการทำวิจัยด้านมลพิษขั้นสูง โดยร่วมมือในการทำวิจัยกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมทั้งหน่วยงานภายในประเทศและต่างประเทศ
ในงานมีการบรรยายพิเศษในหัวข้อ “การพัฒนาเครือข่ายด้านสิ่งแวดล้อมกับเอกชนและราชการ” โดยมี ดร.พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช รองเลขาธิการ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดร.พฤกษ์ พงศ์พฤกษา Analyst Sustainability Strategy Department บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และ ศ.ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล รองคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ และอาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม เป็นวิทยากร
จุฬาฯ Triple Champions อันดับ 1 มหาวิทยาลัยไทยจากสามรายการจัดอันดับที่เป็นที่ยอมรับระดับโลก
สัมมนา “จับตาโค้งสุดท้ายเลือกตั้งสหรัฐฯ 2024: โอกาสและความท้าทายระดับโลก”
จุฬาฯ อันดับ 1 มหาวิทยาลัยไทย TOP ของประเทศ 3 ด้าน โดย THE WUR 2025
สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อมจุฬาฯ เปิดตัวหนังสือ “การเดินทาง 50 ปี สู่สถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน”
เชิญร่วมประกวดวงดนตรีและประกวดหนังสั้น เนื่องในวันเอดส์โลก ครั้งที่ 32 ประจำปี 2567
นักวิชาการศศินทร์ เผยผลวิจัยข้อเท็จจริงและโอกาสสำหรับผู้ดูแลผู้ที่มีความแตกต่างทางการรับรู้
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้