ข่าวสารจุฬาฯ

จุฬาฯ ได้รับเลือกเป็นที่ตั้ง “สังขวิทยาสมาคมแห่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้” สร้างองค์ความรู้และพัฒนาบุคลากรวิจัยด้านหอยและปลาหมึกในไทยและอาเซียน

ศ.ดร.สมศักดิ์ ปัญหา ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ในฐานะประธาน สังขวิทยาสมาคมแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เปิดเผยว่า จากการประชุมวิชาการงานวิจัยด้านหอยและปลาหมึก (มอลลัส) ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (The Working Group for the Malacological Society of Southeast Asia) ซึ่งจัดขึ้นเมื่อเร็วๆนี้ ที่ประชุมมีมติเลือกคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้เป็นที่ตั้งของ “สังขวิทยาสมาคมแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” หรือ “Southeast Asian Malacological Society (SAMS)” ซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อสร้างองค์ความรู้พื้นฐานและพัฒนาบุคลากรวิจัยด้านหอยและปลาหมึกในประเทศไทย และในระดับอาเซียน

การประชุมวิชาการงานวิจัยด้านหอยและปลาหมึก (มอลลัส) ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จัดโดยตัวแทนนักวิจัยที่ทำงานวิจัยด้านหอยและปลาหมึก (มอลลัส) ในประเทศกลุ่มอาเซียน โดยมี ศูนย์ความเป็นเลิศด้านความหลากหลายทางชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมเป็นเจ้าภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความร่วมมือระดับอาเซียนด้านงานวิจัยและวิชาการทางด้านสังขวิทยา (Malacology) ได้แก่ สัตว์พวกหอยและปลาหมึก (มอลลัส) เกิดกระบวนการวิจัยหรือพัฒนาโจทย์วิจัยร่วมกัน สร้างและพัฒนาองค์ความรู้ ตลอดจนการสร้างฐานข้อมูลทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพที่สามารถเชื่อมโยงได้ในระดับภูมิภาคอาเซียน

“ที่ประชุมซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากมหาวิทยาลัยและสถาบันชั้นนำที่มีการศึกษาวิจัยด้านสังขวิทยาจาก 8 ประเทศอาเซียน ได้แก่ บรูไน อินโดนีเซีย ลาว เมียนมาร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และประเทศไทยมีข้อตกลงจะจัดกิจกรรมการทำวิจัยร่วมกันครั้งแรกภายใต้ชื่อ “Malacca Expedition” ที่ประเทศมาเลเซียในช่วงกลางปี 2561 และจะจัดการประชุมวิชาการครั้งแรกที่ประเทศไทยในปี 2562” ศ.ดร.สมศักดิ์ กล่าว

ผลผลิตของจุฬาฯ คือ การผลิตบัณฑิต สร้างคนคุณภาพสู่สังคม

ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า