รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
19 มกราคม 2564
ข่าวเด่น
“ปัญหาเรื่องที่ดินในประเทศไทยเป็นปัญหาที่เรื้อรังมานาน เป็นจุดกำเนิดของความเหลื่อมล้ำและความไม่เป็นธรรมทางสังคมในเชิงระบบ ถ้าเราไม่สามารถแก้ไขปัญหานี้ก็ยากที่จะลดความเหลื่อมล้ำและความไม่เป็นธรรมในสังคม ด้านอื่นๆ ของประเทศได้” รศ.ดร.อภิวัฒน์ รัตนวราหะ ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาปรัชญา ประจำปี 2564 เผยถึงความสำคัญขององค์ความรู้เรื่องการบริหารจัดการที่ดินและการวางแผนจัดการเมือง ซึ่งเป็นหนึ่งในงานวิจัยที่อาจารย์มุ่งมั่นศึกษาวิจัยมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน
รศ.ดร.อภิวัฒน์ เปิดเผยว่า ที่ดินหมายถึงที่ตั้งและพื้นที่ในการสร้างความมั่งคั่งและความสุขพื้นฐานของคนในสังคมทุกวันนี้ปัญหาความเหลื่อมล้ำของที่ดินไม่จำกัดแค่ที่ดินในเชิงกายภาพเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงที่ดินที่อยู่บนโลกเสมือนคือตำแหน่งที่ตั้งและพื้นที่บนโลกดิจิทัลด้วย คนที่มีโอกาสมากก็จะจับจองที่ตั้งทบนโลกเสมือนหรือโลกดิจิทัลได้มากกว่า การใช้ชีวิตบนโลกเสมือนจะมีแพลตฟอร์มที่มีคนจับจองอยู่มาก จนเริ่มมีการผูกขาดบนโลกเสมือนมากยิ่งขึ้น ยิ่งมีการครอบครองพื้นที่ในโลกดิจิทัลได้มากเท่าไหร่ก็จะสร้างความมั่งคั่งได้เท่านั้น ดังนั้นงานวิจัยพยายามมองไปถึงที่ตั้งในโลกดิจิทัล ซึ่งเป็นโจทย์ใหญ่ที่ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำมากยิ่งขึ้นในอนาคต
ในฐานะหัวหน้าโครงการวิจัยเรื่อง “คนเมือง 4.0” รศ.ดร.อภิวัฒน์ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับงานวิจัยนี้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของแผนงานโครงการวิจัยเชิงยุทธศาสตร์ “คนไทย 4.0” โดยใช้หลักคิดและวิธีการมองภาพอนาคตความเป็นไปได้ของการใช้ชีวิตของคนเมืองในอีก 10-20 ปีข้างหน้าว่ามีทางเลือกอะไรบ้าง และทางเลือกไหนมีข้อดีข้อเสียอย่างไร เพื่อนำมาวางแผนเตรียมความพร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ตั้งแต่เรื่องของการเกิด การอยู่อาศัย การเดินทาง การทำงาน จนกระทั่งถึงการตาย
“คนเมือง 4.0 มีนัยสำคัญเชิงเทคโนโลยีและการเปลี่ยนแปลงของสังคม เนื่องจากยุค 4.0 มีการผสมผสานและบรรจบกันของเทคโนโลยีทั้งด้านกายภาพ ดิจิทัล และชีวภาพอยู่ในชีวิตประจำวันมากขึ้นโดยที่เราไม่รู้ตัว และจะเกิดขึ้นแน่นอนในอีก 20 ปีข้างหน้า ซึ่งจะทำให้รูปแบบการใช้ชีวิตเปลี่ยนไป ดังนั้นเราจะต้องคิดเรื่องการวางแผนเกี่ยวกับเมือง เตรียมพร้อมอย่างไรกับสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน อย่างกรณีโควิด-19 เป็นเหตุไม่คาดฝันที่เกิดขึ้นแล้วทำให้วิถีชีวิตเราเปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัด เช่น หลายคนทำงานจากบ้าน แต่ในขณะเดียวกัน คนจำนวนมากต้องตกงาน จริงๆ แล้วเรื่องเหล่านี้เกิดขึ้นมานานแล้วก่อนโควิด-19 ระบาด โควิด-19 เป็นแค่การกระตุ้นแนวโน้มปัญหาสังคมที่เห็นอยู่แล้วทั้งในระดับโลกและสังคมไทยให้เห็นชัดเจนและรวดเร็วยิ่งขึ้น ดังนั้นเราจึงต้องเตรียมรับมือในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่อาจขึ้นอย่างไม่คาดฝันได้” รศ.ดร.อภิวัฒน์ กล่าว
นอกจากงานวิจัยเรื่องคนเมือง 4.0 แล้ว รศ.ดร.อภิวัฒน์ กำลังศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเมืองหลัก เมืองรอง และเมืองเล็กในภูมิภาคของประเทศไทยอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยเรื่อง “โลกาภิวัตน์ของที่ดิน” โดยเปรียบเทียบสถานการณ์ที่ดินที่ไม่ได้เป็นสินค้าในระดับท้องถิ่นอีกต่อไป แต่กลายเป็นปัจจัยระดับโลกและยังเข้าไปสู่การเป็นสินค้าที่อยู่ในโลกดิจิทัลด้วย งานวิจัยนี้เป็นการเปรียบเทียบระหว่างกรุงเทพฯ บอสตัน บังกาลอร์ บิทคอยน์ รวมถึงผลงานวิจัยเรื่อง “วิทยาศาสตร์เปิด” ซึ่งเกิดจากความสนใจส่วนตัวในเรื่องวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีกับสังคม เพื่อสร้างความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ที่เปิดให้คนทั่วไปเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการสร้างข้อมูลและความรู้
“หลักในการทำงานวิจัยที่ผ่านมาจะเริ่มจากการมองไปรอบตัว เมื่อเห็นปัญหาอะไรก็จะแปลงปัญหานั้นเป็นคำถามในการวิจัย พยายามพินิจพิเคราะห์เพื่อให้ได้คำตอบ จนนำไปสู่การแก้ไขปัญหานั้นๆ การทำงานวิจัยข้ามศาสตร์ มีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในปัจจุบัน การทำงานวิจัยให้ประสบความสำเร็จต้องเลือกประเด็นหรือหัวข้อที่เราสนใจ มีความชอบเป็นการส่วนตัว และมีความสงสัยในสิ่งที่อยากทำ ซึ่งจะทำให้เรามีพลังในการขับเคลื่อนเพื่อศึกษาหาคำตอบในสิ่งที่เราอยากรู้ได้อย่างไม่เหน็ดเหนื่อย แม้ว่าจะมีปัญหาอุปสรรคต่างๆ เข้ามาก็ตาม เราก็จะสามารถแก้ไขให้ผ่านพ้นไปได้ การทำงานทุกอย่างต้องมีปัญหา แต่จะถือว่าปัญหาคือความท้าทายให้เราประสบความสำเร็จ” นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาปรัชญา ประจำปี 2564 กล่าวทิ้งท้าย
ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาฯ และ PMCU รับมอบคอมพิวเตอร์ให้โรงเรียนที่ประสบอุทกภัยจังหวัดน่าน
จุฬาฯ แสดงความยินดีอาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็น “ราชบัณฑิต” สาขาวิชาแพทยศาสตร์ สำนักวิทยาศาสตร์
PMCU ร่วมกับ “ศิลปินรวมใจเปิดหมวก” ช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วมภาคเหนือ กับคอนเสิร์ตเปิดหมวก ตอน “น้ำลดเพื่อนผุด” @SiamSquare Walking Street
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์พระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตจุฬาฯ ปีการศึกษา 2566 เป็นวันที่สาม
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ ร่วมกับ Degree Plus เปิดอบรมหลักสูตรผู้บริหาร “Decentralized Finance and Blockchain”
วิศวฯ จุฬา จัดเสวนา “เข้าใจน้ำท่วม แนวคิดวิศวกร”
10 ต.ค. 67 เวลา 14.00 น.
ห้องประชุมชั้น 2 อาคารเจริญวิศวกรรม (ตึก 4) คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้