รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
19 มกราคม 2564
ข่าวเด่น
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเดินหน้านโยบาย “10 พลัส พลัส” ให้ความช่วยเหลือนิสิตที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ระลอก 2 โดยลดค่าเล่าเรียนนิสิตร้อยละ 10 ทุกคณะ ทุกหลักสูตร มอบทุนการศึกษาและทุนสนับสนุนค่าใช้จ่ายต่างๆ บรรเทาความเดือดร้อนของนิสิตและครอบครัวจากวิกฤตครั้งนี้
ผศ.ดร.ชัยพร ภู่ประเสริฐ รองอธิการบดีด้านการพัฒนานิสิต จุฬาฯ เปิดเผยว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีความเห็นใจและเข้าใจความเดือดร้อนของนิสิตและครอบครัวที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 จึงได้ออกนโยบาย“10 พลัส พลัส” ในภาคการศึกษาปลาย ปีการศึกษา 2563 เป็นการให้ความช่วยเหลือนิสิตที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติ COVID-19 ระลอก 2 ซึ่งมีความรุนแรงกว่ารอบแรก แนวคิดหลักของโครงการนี้จะให้ความช่วยเหลือนิสิตที่ได้รับความเดือดร้อนจริงๆ เช่น ครอบครัวนิสิตประกอบอาชีพที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจาก COVID-19 พ่อแม่ ผู้ปกครองถูกลดเงินเดือน หรือถูกเลิกจ้าง ฯลฯ โดยจะให้ความช่วยเหลือนิสิตทุกระดับการศึกษาและทุกสาขาวิชา แบ่งออกเป็นนิสิต ที่ได้รับความเดือดร้อนมาก เดือดร้อนน้อย และเดือดร้อนใหม่ โดยเริ่มจากนิสิตกลุ่มเดิมที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ซึ่งมหาวิทยาลัยมีรายชื่ออยู่แล้ว ในส่วนของนิสิตกลุ่มใหม่ที่ได้รับความเดือดร้อน ก็สามารถเสนอขอรับความช่วยเหลือเข้ามาได้เช่นกัน
สำหรับการให้ความช่วยเหลือนิสิตตามนโยบาย “10 พลัส พลัส” แบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้
– ลดค่าเล่าเรียน ร้อยละ 10 แก่นิสิตทุกคณะทุกหลักสูตร ซึ่งดำเนินการต่อจากโครงการ 10พลัส
– ให้ทุนสนับสนุนการศึกษาประกอบด้วย
– ทุนการศึกษาระดับปริญญาตรี
– ทุนนิสิตช่วยงาน เพื่อสนับสนุนนิสิตให้มีงานทำ โดนเน้นงานที่ทำออนไลน์ ได้ค่าตอบแทนชั่วโมงละ 100 บาท ไม่เกิน 500 บาทต่อวัน
– ทุนสนับสนุนค่าใช้จ่ายต่างๆ ประกอบด้วย
– ทุนสงเคราะห์สวัสดิภาพนิสิต หรือทุน COVID-19 เพื่อลดภาระด้านการเงินของนิสิต เริ่มต้นให้การช่วยเหลือนิสิตรายละ 5,000 – 10,000 บาท โดยมอบให้กับนิสิตรายเดิมที่เคยได้รับทุนผ่านการยืนยันจากฝ่ายกิจการนิสิตของคณะต่างๆ และมอบให้กับนิสิตรายใหม่ที่ขอทุนเข้ามาด้วย
– นิสิตหอพัก โดยยกเว้นค่าธรรมเนียมหอพักในเดือนมกราคม 2564 ให้กับนิสิตหอพักทุกคน และพิจารณาให้ทุนยกเว้นหรือลดค่าธรรมเนียมหอพัก ในช่วงมหาวิทยาลัยปิดทำการหรือนิสิตเรียนออนไลน์ที่บ้าน
– ซิมอินเทอร์เน็ตฟรี 2,500 ซิม เพื่อให้นิสิตสามารถเรียนออนไลน์จากที่พักอาศัยได้อย่างสะดวก โดยได้ดำเนินการต่ออายุการใช้งาน SIM Card เดิมให้ใช้ได้จนถึงสิ้นภาคการศึกษาปลาย นอกจากนี้ยังมีบริการให้นิสิตยืมคอมพิวเตอร์กลับไปใช้ที่บ้านได้อีกด้วย
– ทำประกัน COVID-19 สำหรับนิสิต 37,000 คน
ผศ.ดร.ชัยพร กล่าวเพิ่มเติมว่าจุฬาฯ ต้องการดูแลนิสิต ช่วยลดค่าใช้จ่าย และบรรเทาความเดือดร้อนจาก COVID-19 เพื่อให้นิสิตได้ศึกษาเล่าเรียนได้อย่างสบายใจ ลดความกังวล นิสิตสามารถแจ้งความประสงค์ในการขอรับความช่วยเหลือเข้ามาได้ ที่ฝ่ายกิจการนิสิตของแต่คณะ หรือผ่านระบบ CU NEX รวมถึงแจ้งผ่านเว็บไซต์ของสำนักบริหารกิจการนิสิต จุฬาฯ www.sa.chula.ac.th
อาจารย์และนิสิตสถาปัตย์ จุฬาฯ ร่วม Workshop กับอาจารย์และนักศึกษา Tokyo Metropolitan University ที่ญี่ปุ่น
อาจารย์และนิสิตภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วม Workshop กับอาจารย์และนักศึกษาจาก Faculty of Urban Environmental Sciences, Tokyo Metropolitan University ประเทศญี่ปุ่น (TMU)
จุฬาฯ ร่วมพิธีวางพวงมาลาถวายสักการะและจัดพิธีบำเพ็ญกุศลอุทิศถวายพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรเนื่องใน “วันนวมินทรมหาราช”
ละครนิเทศจุฬาฯ 2567 “ด้ายแดงเป็นเหตุ Unfortunate Love”
24 - 26 มกราคม 2568
ณ โรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศ ชั้น 7 อาคารสยามสแควร์
จุฬาฯ ต้อนรับคณะศึกษาดูงานด้านการบริหารความเสี่ยงจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แบ่งปันประสบการณ์การพัฒนาระบบบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัย
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ จัดอบรมเรื่อง “กัญชาทางการแพทย์: ความรู้ที่ต้องมีสำหรับเภสัชกรยุคใหม่”
11 ธ.ค. 67 เวลา 09.00 – 12.15 น.
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ และ Zoom
คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดอบรมโครงการ “Next-Gen Arts: พัฒนาศักยภาพครูศิลปะด้วย Soft Power”
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้