รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
28 มกราคม 2564
ข่าวเด่น
จากสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ระลอกสองที่พบผู้ติดเชื้อและประชาชนในกลุ่มเสี่ยง ในหลายพื้นที่ของประเทศไทย การตรวจวิเคราะห์โรค COVID-19 ด้วยความรวดเร็ว แม่นยำ และมีความปลอดภัยต่อบุคลากรทางการแพทย์สูงสุด เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ สนองพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีที่ทรงให้ความสำคัญในการวิเคราะห์ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่จะต้องดำเนินการอย่างรวดเร็ว โดยการสร้าง “รถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษ” (Express Analysis Mobile Unit) เพื่อเป็นห้องปฏิบัติการเคลื่อนที่ ออกตรวจวิเคราะห์ผล COVID-19 นอกโรงพยาบาลหรือหน่วยงาน ช่วยลดปัญหาการขนส่งตัวอย่างและระยะเวลา ในการรอผลวิเคราะห์จากการขนส่งตัวอย่างกลับมาวิเคราะห์ที่หน่วยงาน โดยได้พระราชทาน “รถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษต้นแบบ” ออกใช้งานคู่กับรถเก็บตัวอย่างชีวนิรภัย ในการค้นหาเชิงรุกแบบเบ็ดเสร็จในสถานที่จริงที่สถานีโทรทัศน์ NBT เป็นงานแรก และล่าสุดถูกนำไปใช้ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาครซึ่งเผชิญกับสถานการณ์การระบาดของ COVID-19
“รถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษ” เป็นรถต้นแบบที่ได้รับการพัฒนาขึ้นโดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับ บริษัท เอนจินไลฟ์ จำกัด ซึ่งก่อตั้งโดยทีมสตาร์ทอัพที่บ่มเพาะจากศูนย์กลางนวัตกรรมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CU Innovation Hub) และเครือข่ายพันธมิตรภาครัฐและเอกชน มีพื้นที่ใช้สอย 16.8 ตารางเมตร ประกอบด้วย 3 ห้องหลัก ได้แก่ ห้องสกัดสารพันธุกรรม ห้องเตรียมน้ำยาวิเคราะห์ และห้องวิเคราะห์ผลด้วยเทคนิคการเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมดีเอ็นเอด้วยปฏิกิริยาโพลีเมอเรส (PCR) นอกจากนี้ยังมีห้องเปลี่ยนเสื้อผ้า และห้องบัฟเฟอร์เพื่อควบคุมและป้องกันการรั่วไหลของเชื้อโรค พร้อมเครื่องมือที่ติดตั้งภายในรถ ได้แก่ ตู้ปลอดเชื้อ ตู้ปฏิบัติงานพีซีอาร์ (PCR cabinet) เครื่องสกัดสารพันธุกรรมอัตโนมัติ เครื่องเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมดีเอ็นเอด้วยปฏิกิริยา โพลีเมอเรส (real-time PCR), ตู้แช่แข็ง -20 องศาเซลเซียส ตู้ทำความเย็น 4 องศาเซลเซียส ช่องส่งตัวอย่าง เครื่องเขย่าผสมสาร เครื่องปั่นเหวี่ยงตกตะกอน ไมโครปิเปต (Micropipette) ระบบยูวีฆ่าเชื้อ ระบบสื่อสารสองทาง ระบบกล้องวงจรปิด และเครื่องล้างมือแอลกอฮอล์อัตโนมัติ ทั้งนี้สามารถนำไปใช้วิเคราะห์เชื้ออื่นๆ ที่วิเคราะห์ด้วยเทคนิค PCR และใช้ในกรณีที่เกิดภัยพิบัติหรือเหตุฉุกเฉิน เพื่อเข้าช่วยเหลือประชาชนได้ทันท่วงที การจัดสร้างรถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษต้นแบบนี้ได้รับการรับรองมาตรฐานจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 7.5 ล้านบาทต่อคัน
ศ.ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เปิดเผยว่า คณะวิศวกรรมศาสตร์ได้พัฒนานวัตกรรมต่างๆ เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกแก่แพทย์ พยาบาลในการทำหัตถการได้ง่ายขี้น เช่น หุ่นยนต์ CU-RoboCOVID รถกองหนุน ฯลฯ สำหรับรถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษนี้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ น้อมรับพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการผลิตรถดังกล่าวซึ่งสามารถทำงานแบบเบ็ดเสร็จในที่เดียว (One Stop Service) โดยนำความรู้และเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้ให้ได้มาตรฐานในระดับเดียวกับห้องปฏิบัติการของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์และกรมควบคุมโรค เพื่อความปลอดภัยสูงสุด สามารถรู้ผลการตรวจภายในเวลาไม่เกิน 2 ชั่วโมง ช่วยลดความกังวลแก่ผู้ต้องสงสัยว่าจะติดเชื้อ
“การสร้างนวัตกรรมไม่ได้เริ่มได้ในวันเดียว คณะวิศวกรรมศาสตร์ได้พัฒนานวัตกรรมมาเป็นระยะเวลานานแล้ว เมื่อเกิดสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 เราสามารถปรับเปลี่ยนนวัตกรรม เช่น หุ่นยนต์เพื่อตอบสนองความต้องการของบุคลากรทางการแพทย์ได้ ปัจจุบันประเทศไทยประสบปัญหาความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงระบบสาธารณสุข โดยเฉพาะประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ยังคงพัฒนาหุ่นยนต์อย่างต่อเนื่องเพื่อทำให้เกิดระบบ Telemedicine ที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น” คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ กล่าว
ผศ.ดร.จุฑามาศ รัตนวราภรณ์ ประธานหลักสูตรสหสาขาวิชาวิศวกรรมชีวเวช คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ผู้ดำเนินการพัฒนา “รถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษ” เปิดเผยถึงความพิเศษของรถดังกล่าวว่าเป็นห้องปฏิบัติการเคลื่อนที่ที่มีมาตรฐานความปลอดภัยและความแม่นยำเทียบเท่ากับห้องปฏิบัติการทั่วไป ในการออกแบบและผลิตรถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษนี้เป็นความร่วมมือของผู้เชี่ยวชาญจากคณะวิศวกรรมศาสตร์และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ โดยได้รับการรับรองจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ในเรื่องมาตรฐานความปลอดภัย การเก็บตัวอย่างและวิเคราะห์ตัวอย่างที่รถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษจะทำให้ทราบผลการตรวจวิเคราะห์ได้อย่างรวดเร็ว อุปกรณ์ต่างๆ ภายในรถเป็นไปตามมาตรฐานของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
“การออกแบบรถต้นแบบเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมาซึ่งเป็นช่วงที่ COVID-19 ยังไม่ระบาดระลอก 2 ใช้ระยะเวลาในการผลิตรถต้นแบบแล้วเสร็จประมาณ 2 เดือน รถคันนี้ตอบโจทย์การนำไปใช้งานได้จริง สะดวก ปลอดภัย ให้ผลการตรวจที่ถูกต้องสูงสุด ซึ่งเป็นการช่วยเหลือประเทศชาติให้รอดพ้นจากวิกฤติครั้งนี้” ผศ.ดร.จุฑามาศกล่าว
นพ.วิชาญ ปาวัน ผู้อำนวยการสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า รถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษใช้ดำเนินการร่วมกับรถเก็บตัวอย่างชีวนิรภัย เพื่อค้นหาผู้ป่วยเชิงรุก ช่วยลดปัญหาในการขนส่งตัวอย่างสิ่งส่งตรวจเข้ามาในกรุงเทพฯ หรือจังหวัดใกล้เคียงที่ต้องใช้เวลานาน การทำงานภายในรถเหมือนระบบสายพานโรงงาน ทั้งการสกัดเชื้อและการวิเคราะห์ คาดว่าใน 8 ชั่วโมงสามารถตรวจตัวอย่างได้ 800 – 1,000 ตัวอย่าง การนำรถลงไปใช้งานจริงในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาครในครั้งนี้จะทำให้เกิดความปลอดภัยและยุติปัญหาการระบาดของโรคในจังหวัดสมุทรสาครให้เร็วที่สุด
เชิญร่วมกิจกรรม Chula Lunch Talk : GenAI x งานวิจัย: 1 ปี ที่เปลี่ยนไป! ความท้าทายใหม่ ที่นักวิจัยต้องรู้
CU Top 10 News กรกฎาคม – กันยายน 2567
เปิดมิติใหม่ความร่วมมือ จุฬาฯ และ AFP ขยายโอกาสนิสิตไทยในวงการสื่อสารระดับโลก
คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ “รักษาฟันฟรี” ถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เนื่องในวันทันตสาธารณสุขแห่งชาติ
17 ต.ค. 67 เวลา 08.00 น.
อาคารบรมนาถศรีนครินทร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ
เสวนา Chula the Impact ครั้งที่ 25 “แพลตฟอร์มจุฬาฯ ฝ่าพิบัติ: Digital War Room” นวัตกรรมจากจุฬาฯ ที่ใช้ชี้จุด คาดคะเน และให้ข้อมูลผู้ประสบภัยได้อย่างแม่นยำและทันสมัย
9 ต.ค. 67
ห้องประชุม 202 อาคารจามจุรี 4 จุฬาฯ
คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดการประชุมวิชาการ The 1st International Study Group on Creative Arts Therapy ดูแลสุขภาวะด้วยศิลปะบำบัด
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้