รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
16 กุมภาพันธ์ 2564
ข่าวเด่น
ความคืบหน้ามาตรการเฝ้าระวังและการควบคุมป้องกันการแพร่ระบาด ของเชื้อ COVID-19 หลังประกาศปิดที่ทำการจุฬาฯ
ศ.นพ.ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล ประธานคณะกรรมการโควิด-19 จุฬาฯ เปิดเผยถึงความคืบหน้าของมาตรการเฝ้าระวังและการควบคุมป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 สรุปได้ดังนี้
ตามที่ได้มีประกาศจากคณะกรรมการโควิด-19 จุฬาฯ 7 ฉบับ ระหว่างวันที่ 5-11 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา พบว่ามีกลุ่มบุคลากรที่พักอาศัยในหอพักจุฬานิวาสติดเชื้อ COVID-19 รวม 20 ราย ซึ่งได้ดำเนินการส่งตัวเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และอยู่ในความดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเรียบร้อยแล้ว ทุกคนมีอาการดีขึ้นและยังไม่พบว่ามีการติดเชื้อเพิ่ม
ศูนย์บริการสุขภาพแห่งจุฬาฯ ยังคงดำเนินการตรวจคัดกรองเชิงรุกเพื่อป้องกันการแพร่ระบาด และคณะกรรมการโควิด-19 ได้ดำเนินโครงการ CU V Care อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ที่พักแก่ผู้มีความเสี่ยงสูง โดยดูแลสุขภาพและอาหารการกินตลอดช่วงเวลาที่ต้องกักตัวโดยมีอาสาสมัครชาวจุฬาฯ อุทิศตนในการให้ความช่วยเหลือดูแล
คณะกรรมการโควิด-19 จุฬาฯ ขอแจ้งให้ทราบว่าการกระจายของเชื้อโรคในครั้งนี้ยังอยู่ในบริเวณหอพักจุฬานิวาสเท่านั้น จึงไม่ควรเรียกการกระจายของโรคว่าคลัสเตอร์จุฬาฯ เพราะโดยภาพรวมแล้วจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังคงปลอดภัยและควบคุมการระบาดได้ การเรียกกรณีที่เกิดขึ้นว่าคลัสเตอร์จุฬาฯ นั้นไม่ตรงกับข้อเท็จจริงและอาจสุ่มเสี่ยงให้เกิดความตื่นตระหนกเกินความจำเป็น อีกทั้งพื้นที่รอบมหาวิทยาลัยยังเป็นพื้นที่ทีมีความเสี่ยงในการกระจายของเชื้อโรคต่ำมาก โดยกรุงเทพมหานครได้เข้าตรวจคัดกรองบุคคลบริเวณตลาดสวนหลวงจำนวน 350 คน เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาพบว่ามีผลเป็นลบ และไม่พบเชื้อทั้งหมด
ดังนั้นเพื่อยับยั้งวงจรการแพร่ระบาดและสร้างความมั่นใจให้กับประชาคมจุฬาฯ มหาวิทยาลัยจึงปิดที่ทำการเป็นการชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 12-28 กุมภาพันธ์ 2564 ซึ่งคณะกรรมการโควิด-19 จุฬาฯ ได้กำหนดไว้ตั้งแต่ต้นแล้วว่าหากมีผู้ติดเชื้อครบ 20 คนก็จะพิจารณาปิดที่ทำการ
ทั้งนี้ในช่วงที่มหาวิทยาลัยปิดทำการ ขอให้ชาวจุฬาฯ ทุกท่านปฏิบัติตามหลัก 5 ต ดังนี้
1. “ตั้งการ์ดสูง” ปฏิบัติตาม 5 ส อย่างเคร่งครัด แสกน QR Code ก่อนเข้าออกอาคาร สวม หน้ากากอนามัย
สังเกต อาการและความเสี่ยงของตน สอบวัด อุณหภูมิดูแลตนเอง สร้างระยะ ห่างเสี่ยงที่ชุมนุมชน
2. “ติดบ้าน” เลี่ยงการออกจากที่พัก ไปที่ชุมนุมชน โดยไม่มีเหตุจำเป็น
3. “เตรียมการ WFH และ LFH” บริหารจัดการอุปกรณ์ สถานที่ และเวลาเพื่อรักษาประสิทธิภาพของการทำงาน การสอน การเรียนให้มากที่สุด
4. “ตามข่าว” ติดตามข่าวสารจุฬาฯ อย่างใกล้ชิดจาก https://www.chula.ac.th/covid-19/ หัวข้อ “ข่าวสาร COVID-19” หรือ แอปพลิเคชัน CU NEX และ CU NEX Staff
5. “ติดต่อ” จุฬาฯ เมื่อรู้สึกไม่สบาย ไม่สบายตัว ติดต่อศูนย์บริการสุขภาพแห่งจุฬาฯ ไม่สบายใจ ติดต่อ hotline ศูนย์สุขภาวะทางจิต คณะจิตวิทยา จุฬาฯ
อย่างไรก็ตามในช่วงการระบาดของโรคที่ผ่านมามีการกระจายข่าวสารต่างๆ ในสื่อสาธารณะค่อนข้างมาก ขอให้ใช้วิจารณญาณ เสพข้อมูลอย่างระมัดระวัง มีความตระหนักและไม่ตระหนก เชื่อในข้อมูลที่มาจากแหล่งที่เป็นทางการของมหาวิทยาลัยเป็นหลัก พยายามงดการเผยแพร่ แชร์ ข้อมูลที่ไม่แน่ใจหรือเกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วยโดยเด็ดขาด ขอให้ชาวจุฬาฯ มั่นใจว่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้นยังอยู่ในความควบคุม และเชื่อมั่นว่าปัญหาครั้งนี้จะผ่านพ้นไปด้วยความเรียบร้อยโดยเร็วด้วยความร่วมแรงร่วมใจของเราทุกคน
สามารถติดตามประกาศจุฬาฯ และข้อมูลต่างๆ ได้ทาง https://www.chula.ac.th/covid-19/ หัวข้อ “ข่าวสาร COVID-19” หรือทางแอปพลิเคชัน CU Nex และ CU Nex Staff
จุฬาฯ จัดงาน Chulalongkorn University’s Open House for International Programs 2025 แนะนำหลักสูตรภาษาอังกฤษของจุฬาฯ สู่การเป็นผู้นำทางการศึกษาระดับนานาชาติ
ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ ปัตตานี คว้ารางวัลระดับชาติ โล่ประกาศเกียรติคุณ “ผู้มีคุณูปการต่อเยาวชนมุสลิมดีเด่นแห่งชาติ” สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ศ.ดร.นพ.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล อดีตรองอธิการบดีจุฬาฯ ได้รับรางวัลบุคคลดีเด่น ประเภทบริหาร ด้านการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม ประจำปี 2567 จากกระทรวงสาธารณสุข
จุฬาฯ เปิดโครงการอบรมครู “พิพิธภารัต 2567” และพิธีลงนาม MOU ส่งเสริมการสอนภาษาฮินดี
เชิญชวนนิสิตร่วมโครงการประเมินผลการเรียนการสอนออนไลน์ผ่านระบบ myCourseVille ปีการศึกษา 2567
อาจารย์และนิสิตสถาปัตย์ จุฬาฯ ร่วม Workshop กับอาจารย์และนักศึกษา Tokyo Metropolitan University ที่ญี่ปุ่น
อาจารย์และนิสิตภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วม Workshop กับอาจารย์และนักศึกษาจาก Faculty of Urban Environmental Sciences, Tokyo Metropolitan University ประเทศญี่ปุ่น (TMU)
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้