รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
18 กุมภาพันธ์ 2564
ข่าวเด่น
รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ ได้ให้ความรู้ผ่านทาง Facebook เกี่ยวกับการป้องกันตนเองจากเชื้อโควิด-19 สรุปได้ว่า นอกจากการสวมหน้ากากอนามัยอย่างถูกต้อง การไม่ใช้มือที่สกปรกสัมผัสหน้ากากและใบหน้า และการล้างมืออย่างถูกวิธีซึ่งเป็นวิธีการที่ดีเทียบเท่ากับการใช้วัคซีนแล้ว สิ่งหนึ่งที่องค์การอนามัยโลกและกระทรวงสาธารณสุขให้คำแนะนำก็คือการเสริมภูมิต้านทานแก่ร่างกายด้วยอาหารและโภชนาการ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในการช่วยเสริมภูมิต้านทานของร่างกายอีกทางหนึ่ง
รศ.ดร.วินัย กล่าวว่าโภชนาการที่ดีจะช่วยเสริมศักยภาพภูมิต้านทานของร่างกายได้ ช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดโรค หากติดเชื้อเข้าไปแล้วก็ยังช่วยลดความรุนแรงของโรคได้อีกด้วย ตัวอย่างอาหารเสริมภูมิต้านทาน เช่น วิตามินดี ง่ายที่สุดคือการรับแสงแดดยามเช้าเพราะแสงแดดช่วยสร้างวิตามินดีในผิวหนังได้ อาหารที่มีวิตามินดีค่อนข้างสูงคือ ปลาทะเล เช่น ปลาแซลมอน แมคเคอเรล ปลาทู ปลาทูน่ากระป๋องหรือซาร์ดีนกระป๋อง อาหารอีกกลุ่มหนึ่งที่ช่วยเสริมภูมิต้านทานได้ค่อนข้างดีคือธาตุสังกะสี อาหารที่มีปริมาณสังกะสีสูง ได้แก่ เนื้อสัตว์ ตับ อาหารทะเล โดยเฉพาะหอยนางรม เมล็ดธัญพืชก็มีมาก เช่น เมล็ดแตงโมมีธาตุสังกะสีค่อนข้างสูง
อย่างไรก็ตาม โปรตีนจากเนื้อสัตว์และพืชมีส่วนช่วยเสริมภูมิต้านทานได้เป็นอย่างดี แม้ว่าแหล่งโปรตีนจากพืชจะเทียบไม่ได้เท่ากับโปรตีนจากเนื้อสัตว์ แต่ผักใบเขียวเข้ม ผักผลไม้สีเหลือง สีส้ม ก็นับเป็นแหล่งวิตามินเอและแคโรตินอยด์ซึ่งช่วยเสริมภูมิต้านทานได้ดีเช่นกัน นอกจากนี้ผักผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวยังช่วยเสริมวิตามินซี ถั่วเมล็ดแห้ง ถั่วเปลือกแข็งหรือนัทก็เป็นแหล่งแร่ธาตุที่ดีเช่นกัน รวมถึงการดื่มน้ำสะอาดให้ได้ ปริมาณ 8 –10 แก้วต่อวัน ลดสารกาเฟอีนจากเครื่องดื่มประเภทชา กาแฟ น้ำอัดลม หลีกเลี่ยงน้ำตาลทรายและไซรัปฟรุคโตส ลดเกลือ หากทำได้ตามที่กล่าวมาในข้างต้น ร่างกายของเราก็จะภูมิต้านทานที่แข็งแรงพอที่จะต้านโควิด-19 ได้
ความภูมิใจของบัณฑิตจุฬาฯ ในวันรับปริญญาอันน่าภาคภูมิ
คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ รับสมัครเข้าศึกษาต่อปริญญาโท หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากฎหมายเศรษฐกิจ
เสวนาแนวทางการลงทุนอย่างยั่งยืน “ทางเลือก! ทางรอด! หลังวิกฤติ COVID กับโอกาสการลงทุนในกองทุนต่างประเทศ”
2 พ.ค. 65 เวลา 13.00 น.
Zoom
เชิญส่งบทความวิชาการเพื่อนำเสนอใน การประชุมนิติวิชาการระดับชาติ “กฎหมายกับการพัฒนาที่ยั่งยืน” ครั้งที่ 1
20 กรกฎาคม 2565 เวลา 09.00 น. - 16.00 น.
เชิญเข้าร่วมอบรม “การใช้งานระบบการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการออนไลน์”
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ทรงเป็นประธานการสัมมนา “รักษ์ป่าน่าน” ครั้งที่ 5
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย