ข่าวสารจุฬาฯ

“นาฬิกาอัจฉริยะสำหรับตรวจวัดกลูโคสจากเหงื่อ” นวัตกรรมจุฬาฯ เพื่อการดูแลสุขภาพ

หมดกังวลสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานและกล้ามเนื้ออ่อนแรง สถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ จุฬาฯ ผลิตนวัตกรรมสุขภาพล้ำยุค อุปกรณ์ตรวจวัดกลูโคสจากเหงื่อในรูปแบบนาฬิกาอัจฉริยะแบบ Real Time แม่นยำ ไม่เจ็บตัว ลดภาระค่าใช้จ่าย ทดแทนการนำเข้าอุปกรณ์จากต่างชาติ จ่อใช้จริงเร็วๆ นี้

คณะนักวิจัยจากสถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยสุดยอดนวัตกรรมอุปกรณ์ในรูปแบบนาฬิกาข้อมือ สำหรับตรวจระดับปริมาณน้ำตาลกลูโคสและสารแลคเตท ซึ่งเจือปนอยู่ในเหงื่อบนร่างกายคนไข้โรคเบาหวานได้สำเร็จ โดยร่วมมือกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช. นวัตกรรมนี้ได้รับรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้นระดับดี สาขาวิทยาศาสตร์และเภสัช ประจำปี 2564 จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

“รายงานทางการแพทย์ระบุชัดเจนว่าปริมาณน้ำตาลในเหงื่อสัมพันธ์โดยตรงกับปริมาณน้ำตาลในเลือด เราจึงนำผลสรุปที่ได้นี้ไปพัฒนาต่อเป็นนวัตกรรมที่ช่วยบอกระดับน้ำตาลในตัวผู้ป่วยได้รวดเร็วแบบเรียลไทม์ ซึ่งสำคัญมากต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ต้องหมั่นดูแลและควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอยู่เสมอ” ดร.นาฏนัดดา รอดทองคำ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าว  

“นอกจากนี้ นวัตกรรมนี้ยังช่วยลดภาระของบุคลากรทางการแพทย์ คนไข้ไม่ต้องเสียเงินหรือเสียเวลาเดินทางไปโรงพยาบาลซึ่งมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้”

เบาหวานเป็นโรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ จากรายงานของสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยพบว่า   ปี 2563 คนไทยป่วยเป็นโรคเบาหวานจำนวนสูงถึง 5 ล้านคน ที่สำคัญ โรคเบาหวานยังส่งผลกระทบให้ผู้ป่วย   มีภาวะ “กล้ามเนื้ออ่อนแรง” อันเกิดจากความผิดปกติของภูมิคุ้มกันและเส้นประสาทภายใน

ปัจจุบัน วิธีการตามมาตรฐานทางการแพทย์จะใช้วิธีการเจาะเลือดจากเส้นเลือดดำ เพื่อตรวจปริมาณกลูโคสสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน และตรวจปริมาณแลคเตท สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรง

“การรู้ระดับน้ำตาลในเลือดและแลคเตทแบบเรียลไทม์จะช่วยให้ผู้ป่วยดูแลตัวเอง ปรับพฤติกรรม หรือรีบไปพบแพทย์ให้ทันท่วงทีเพื่อรับการรักษาก่อนที่จะเกิดอันตราย เราจึงคิดค้นวิธีการที่รวดเร็วกว่า ได้ผลแม่นยำ โดยไม่ต้องเจาะเลือด” ดร.นาฏนัดดากล่าว

โครงการความร่วมมือระหว่างจุฬาฯ และ สวทช. ได้วิจัยและพัฒนาวัสดุเส้นด้ายชนิดพิเศษที่ได้รับการดัดแปรทางเคมีเพื่อให้ดูดซับเหงื่อและไวต่อการทำปฏิกิริยากับสารบ่งชี้ทางชีวภาพได้อย่างจำเพาะเจาะจง ผู้ป่วยเบาหวานสามารถรับรู้ค่ากลูโคสและแลดเตทในเลือดได้ตลอดเวลาที่สวมใส่นาฬิกาอัจฉริยะ

“อุปกรณ์นี้สามารถทำการตรวจวัดปริมาณสารได้ถึง 2 วิธีการภายในเครื่องเดียวกัน คือ ใช้วิธีดูการเปลี่ยนสีของเซนเซอร์ (sensor) หรือตัวรับรู้ ที่ผู้สวมใส่สามารถอ่านค่าได้จากการเทียบกับแถบสีมาตรฐาน และใช้การตรวจวัดด้วยเซนเซอร์อีกตัวหนึ่งที่สามารถแสดงผลเป็นตัวเลขบนหน้าปัดนาฬิกาได้โดยตรง” ดร.นาฏนัดดาอธิบาย

ในขั้นตอนต่อไปคณะนักวิจัยจะทดสอบประสิทธิภาพของนาฬิกากับผู้ป่วยเบาหวานและกล้ามเนื้ออ่อนแรง โดยได้รับความร่วมมือจากคณะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาโรคเบาหวานและคลินิกผู้สูงวัยสุขภาพดี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เมื่อทดสอบให้แน่ใจในประสิทธิภาพการใช้งานแล้ว ก็เตรียมพัฒนาสู่การใช้จริงบนข้อมือผู้ป่วยเบาหวานได้อีกไม่นาน คณะวิจัยยังประเมินอีกว่า หากนวัตกรรมนาฬิกาอัจฉริยะได้รับความนิยมแพร่หลายจะช่วยลดค่าใช้จ่ายจากการนำเข้าอุปกรณ์ทางการแพทย์ราคาสูงจากต่างประเทศได้ด้วย

ปัจจุบัน คณะนักวิจัยกำลังทดสอบประสิทธิภาพของนาฬิกากับผู้ป่วยเบาหวานและกล้ามเนื้ออ่อนแรง โดยได้รับความร่วมมือจากคณะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาโรคเบาหวานและคลินิกผู้สูงวัยสุขภาพดี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เมื่อทดสอบให้แน่ใจในประสิทธิภาพการใช้งานแล้ว ก็เตรียมพัฒนาสู่การใช้จริงบนข้อมือผู้ป่วยเบาหวานได้อีกไม่นาน คณะวิจัยยังประเมินอีกว่า หากนวัตกรรมนาฬิกาอัจฉริยะได้รับความนิยมแพร่หลายจะช่วยลดค่าใช้จ่ายจากการนำเข้าอุปกรณ์ทางการแพทย์ราคาสูงจากต่างประเทศได้ด้วย

จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด

คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า