รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
19 มีนาคม 2564
ข่าวเด่น, ภาพข่าว
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 18 มีนาคม 2564 ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ ศ.กิตติคุณ นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล นายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ และผู้บริหารมหาวิทยาลัย เฝ้าฯ น้อมเกล้าฯ ถวายรถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษต้นแบบ พร้อมอุปกรณ์และเครื่องตรวจวิเคราะห์ด้านอณูชีวโมเลกุล จำนวน 1 คัน
ในโอกาสนี้ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นำ นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เฝ้าฯ รับพระราชทานรถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษต้นแบบ และรถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเพิ่มเติมจำนวน 4 คัน รวมทั้งหมด 5 คัน สำหรับใช้ประโยชน์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19
ภาพพระราชทาน
รถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษ (Express Analysis Mobile Unit) เป็นรถที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ร่วมกับบริษัท เอนจินไลฟ์ จำกัด ซึ่งก่อตั้งโดยทีมสตาร์ทอัพที่บ่มเพาะจากศูนย์กลางนวัตกรรมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CU Innovation Hub) และเครือข่ายพันธมิตร ภาครัฐและเอกชน ได้พัฒนาขึ้น เพื่อใช้เป็นห้องปฏิบัติการเคลื่อนที่ออกไปตรวจวิเคราะห์ผลการตรวจคัดกรองโควิด-19 แบบเบ็ดเสร็จแก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ที่อยู่นอกโรงพยาบาลหรือหน่วยงาน ซึ่งจะช่วยลดปัญหาการขนส่งตัวอย่างและระยะเวลาในการรอวิเคราะห์ผล
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานรถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษซึ่งเป็นรถต้นแบบจำนวน 1 คัน ออกใช้งานคู่กับรถเก็บตัวอย่างชีวนิรภัยครั้งแรกเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2564 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดสมุทรสาคร ปทุมธานี และตาก ปัจจุบันให้บริการตรวจวิเคราะห์ผลรวมกว่า 30,000 ตัวอย่าง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ให้ดำเนินการจัดสร้างเพิ่มเติมอีก 4 คัน รวมเป็นจำนวนทั้งสิ้น 5 คัน พระราชทานแก่กระทรวงสาธารณสุข เพื่อเสริมประสิทธิภาพการเฝ้าระวังควบคุมโรคต่อไป
รถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษมีพื้นที่ใช้สอย 16.8 ตารางเมตร ภายในประกอบด้วย 3 ห้องหลัก ได้แก่ ห้องสกัดสารพันธุกรรม ห้องเตรียมน้ำยาวิเคราะห์ และห้องวิเคราะห์ผลด้วยเทคนิคการเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมดีเอ็นเอด้วยปฏิกิริยาโพลีเมอเรส ให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถตรวจวิเคราะห์ผลได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ สะดวกและปลอดภัย นอกจากนี้ยังมีห้องเปลี่ยนเสื้อผ้า และห้องบัฟเฟอร์เพื่อควบคุมและป้องกันการรั่วไหลของเชื้อโรค พร้อมกับเครื่องมือที่ติดตั้งภายในรถ ดังต่อไปนี้ ตู้ปลอดเชื้อ ตู้ปฏิบัติงานพีซีอาร์ เครื่องสกัดสารพันธุกรรมอัตโนมัติ เครื่องเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมดีเอ็นเอด้วยปฏิกิริยาโพลีเมอเรส ตู้แช่แข็ง -20 องซาเซลเซียส ตู้ทำความเย็น 4 องศาเซลเซียส ช่องส่งตัวอย่าง เครื่องเขย่าผสมสาร เครื่องปั่นเหวี่ยงตกตะกอน ไมโครปิเปต ระบบยูวีฆ่าเชื้อ ระบบสื่อสารสองทาง ระบบกล้องวงจรปิด และเครื่องล้างมือแอลกอฮอล์อัตโนมัติ การจัดสร้างรถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษคันนี้ได้รับการรับรองมาตรฐานจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ด้วยสมรรถนะที่ถูกออกแบบมาเป็นพิเศษของรถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษนี้ จึงทำให้สามารถทราบผลการตรวจหาเชื้อได้ภายใน 3 ชั่วโมง และมีความปลอดภัยต่อบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งสามารถตรวจได้ ประมาณ 800-1,000 ตัวอย่างต่อวัน ช่วยในการค้นหาผู้ติดเชื้อได้รวดเร็ว เพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันควบคุมโรค
อาจารย์และนิสิตสถาปัตย์ จุฬาฯ ร่วม Workshop กับอาจารย์และนักศึกษา Tokyo Metropolitan University ที่ญี่ปุ่น
อาจารย์และนิสิตภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วม Workshop กับอาจารย์และนักศึกษาจาก Faculty of Urban Environmental Sciences, Tokyo Metropolitan University ประเทศญี่ปุ่น (TMU)
จุฬาฯ ร่วมพิธีวางพวงมาลาถวายสักการะและจัดพิธีบำเพ็ญกุศลอุทิศถวายพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรเนื่องใน “วันนวมินทรมหาราช”
ละครนิเทศจุฬาฯ 2567 “ด้ายแดงเป็นเหตุ Unfortunate Love”
24 - 26 มกราคม 2568
ณ โรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศ ชั้น 7 อาคารสยามสแควร์
จุฬาฯ ต้อนรับคณะศึกษาดูงานด้านการบริหารความเสี่ยงจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แบ่งปันประสบการณ์การพัฒนาระบบบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัย
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ จัดอบรมเรื่อง “กัญชาทางการแพทย์: ความรู้ที่ต้องมีสำหรับเภสัชกรยุคใหม่”
11 ธ.ค. 67 เวลา 09.00 – 12.15 น.
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ และ Zoom
คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดอบรมโครงการ “Next-Gen Arts: พัฒนาศักยภาพครูศิลปะด้วย Soft Power”
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้