รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
1 เมษายน 2564
ภาพข่าว
เมื่อวันพุธที่ 31 มีนาคม 2564 ณ ห้องเวิลด์บอลรูม ชั้น 23 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ลงนามความร่วมมือ “เปลี่ยนเกษียณเป็นพลัง” ร่วมกับหน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรมและสถาบันอุดมศึกษา พร้อมจัดกิจกรรมเสวนา “Platform ความพร้อมการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย: เปลี่ยนเกษียณเป็นพลัง” โดยมี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานกล่าวเปิดงาน ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม แถลงนโยบายขับเคลื่อนแนวทางการวางแผนในงานยุทธศาสตร์ Quick Wins โครงการ “เปลี่ยนเกษียณเป็นพลัง” และเป็นสักขีพยานในการลงนามความร่วมมือ โดย ศ.นพ.ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล รองอธิการบดี เป็นผู้แทนจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ลงนามร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอีก 9 หน่วยงาน ได้แก่ กรมส่งเสริมเกษตร กรมกิจการผู้สูงอายุ สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จังหวัดสงขลา จังหวัดขอนแก่น การเคหะแห่งชาติ สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) และวิทยาลัยสงฆ์นครน่าน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี รวมถึงวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมการเสวนา “Platform ความพร้อมการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย: เปลี่ยนเกษียณเป็นพลัง” โดย ศ.ดร.วิพรรณ ประจวบเหมาะ คณบดีวิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาฯ ได้ร่วมเสวนาเกี่ยวกับประเด็นการเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมสูงวัยของประเทศไทย สรุปได้ว่า สังคมไทยเปลี่ยนเป็นสังคมสูงวัยเร็วมาก ๆ แต่ระบบยังไม่รองรับและมีการพัฒนาที่ช้ามาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีนโยบายให้นำงานวิจัยมาใช้ให้เกิดประโยชน์และมีผลกระทบต่อประเทศ จึงมีการรวมตัวกันภายในมหาวิทยาลัย 12 หน่วยงาน และนักวิจัยกว่า 70 คน รวมถึงมีความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกอีก 6 หน่วยงาน เพื่อผลักดันให้ผู้สูงอายุอยู่อย่างมีพลัง ไม่ใช่ภาระ และมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมตลอดช่วงชีวิต หลายคนเข้าใจว่าสังคมผู้สูงวัย คือสังคมของผู้สูงอายุเท่านั้น แต่ที่จริงแล้ว คือสังคมที่มีหลากหลายวัยมากขึ้น โดยที่วัยอื่น ๆ ต้องเปิดใจยอมรับด้วย การที่เราทำความเข้าใจว่า “วันหนึ่งฉันก็ต้องเป็นผู้สูงอายุ” เป็นการสร้างความตระหนักรู้และการเตรียมตัว รวมถึงการระดมความคิดจากทุกภาคส่วนในการพัฒนาระบบเพื่อรองรับสังคมผู้สูงวัย เช่น เปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุได้ทำงาน มหาวิทยาลัยร่วมมือกันทำงานวิจัยโดยพัฒนาร่วมกับภูมิปัญญาชุมชน
“เปลี่ยนเกษียณเป็นพลัง” เป็นหนึ่งในประเด็นของนโยบายการวางแผนเชิงรุกในระยะสั้น (Quick Wins) สนับสนุนการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุหรือผู้เกษียณได้รับโอกาสและสร้างแรงจูงใจให้เข้าสู่สังคมการเรียนรู้ตลอดชีวิต พัฒนาทักษะที่จำเป็นในการดำรงชีวิตและพัฒนาศักยภาพในการทำงาน เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานในภาครัฐและภาคเอกชน หรือเป็นพลังในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม สามารถพึ่งพาตนเองได้และไม่เป็นภาระของครอบครัวหรือภาครัฐ โดยผู้เกษียณที่ดูแลตัวเองได้ สามารถทำงานได้ และมีทักษะเฉพาะทางที่ต้องใช้ประสบการณ์สูงในการทำงานเฉพาะด้าน ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ให้กับคนรุ่นถัดไป เพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน
การประชุมวิชาการ “พระเสด็จโดยแดนชล”และพิธีมอบรางวัลการประกวดบทร้อยกรองประเภทกาพย์เห่ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 72 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
อาสาสมัครกาชาดจากจุฬาฯ ร่วมกิจกรรมช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์
ความประทับใจของบัณฑิตจุฬาฯ ในรั้วจามจุรี และพิธีพระราชทานปริญญาบัตรที่ภาคภูมิใจ
นิสิตคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมแสดงผลงานแฟชั่นและสิ่งทอในงาน centralwOrld Thailand Graduate Fashion Week 2024
วิศวฯ จุฬาฯ เชิญร่วมบริจาคโลหิตถวายเป็นพระราชกุศลเนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 72 พรรษา
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์พระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตจุฬาฯ ปีการศึกษา 2566
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้