รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
2 เมษายน 2564
ข่าวเด่น, งานวิจัยและนวัตกรรม, ภาพข่าว
“ไทยดีไอแมชีน” เว็บไซต์ตรวจสอบข่าวปลอมเปิดให้ประชาชนตรวจสอบข่าวปลอมได้ด้วยตนเอง ใส่ข้อความที่สงสัย กดคำสั่งตรวจสอบ ทราบผล ใช้ประกอบการตัดสินใจก่อนแชร์ข่าว ช่วยชะลอการแพร่กระจาย ลดปัญหาข่าวปลอม กระตุ้นให้สามารถจัดการข่าวปลอมได้ด้วยตนเอง โดยคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ ได้จัดงานเสวนาและเปิดตัวนวัตกรรมเว็บไซต์ “ไทยดีไอแมชีน” (THAI D.I. MACHINE) เมื่อวันศุกร์ที่ 2 เมษายน 2564 ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 7 โรงแรมแบงคอก แมริออท มาร์คีส์ ควีนส์ปาร์ค โดยมี รศ.ดร.ปรีดา อัครจันทโชติ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ และคุณวรินรำไพ ปุณย์ธนารีย์ รองผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ กล่าวต้อนรับและกล่าวเปิดงาน
รศ.ดร.พนม คลี่ฉายา หัวหน้าหน่วยปฏิบัติการวิจัยฯ DIRU คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ เปิดเผยว่าผลงานวิจัยพัฒนาเว็บไซต์ตรวจสอบข่าวปลอม “ไทยดีไอแมชีน” (THAI D.I. MACHINE) เปิดให้ประชาชนทุกคนสามารถใช้งานได้ผ่าน https://www.thaidimachine.org/ เป็นเครื่องมือที่ใช้ตรวจสอบความเป็นไปได้เบื้องต้นว่าข่าวนั้นเป็นข่าวจริงหรือปลอมด้วยการวิเคราะห์ด้วยภาษา คำ ข้อความ (มิใช่การพิสูจน์ด้วยผู้เชี่ยวชาญ) โดยผู้ใช้งานพิมพ์หรือคัดลอกคำ ข้อความข่าวที่สงสัยวางลงในกล่องข้อความตรวจสอบ กดปุ่มคำสั่งตรวจสอบแล้วรอสักครู่ เว็บไซต์จะแสดงผลการตรวจสอบให้ทราบ 5 ระดับ คือ ข่าวจริง ข่าวปลอม มีความเป็นไปได้ว่าจะเป็นข่าวจริง มีความเป็นไปได้ว่าจะเป็นข่าวปลอม และข่าวน่าสงสัย
การตรวจสอบข่าวใช้หลักการตรวจสอบด้วยวิธีการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศจากข้อมูลขนาดใหญ่บนอินเทอร์เน็ต โดยนำข้อมูลข่าวสืบค้นไปวิเคราะห์ด้วยวิธีการประมวลผลภาษาธรรมชาติ (Natural Language Processing) โดยเป็นการวิเคราะห์คำ ข้อความ ประโยค และวัดความคล้ายของข้อมูลข่าวสืบค้นเทียบกับข้อมูลขนาดใหญ่บนอินเทอร์เน็ต และประมวลผลข่าวที่มีความคล้ายกันสูงผ่านเกณฑ์ที่ตั้งไว้เพื่อนำไปวิเคราะห์หาลักษณะข่าวและจำแนกข่าวว่าเป็น ข่าวจริง ข่าวปลอม มีความเป็นไปได้ว่าจะเป็นข่าวจริง มีความเป็นไปได้ว่าจะเป็นข่าวปลอม หรือข่าวน่าสงสัย ด้วยวิธีการเรียนรู้ของเครื่องแบบระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System based Machine Learning) เป็นการใช้ฐานกฎหรือความรู้ (Rule Base or Knowledge) เกี่ยวกับข่าวในการจำแนกข่าว ระบบผู้เชี่ยวชาญสามารถเรียนรู้ให้ฉลาดขึ้นจากข้อมูลข่าวที่สืบค้นเองอย่างต่อเนื่อง และข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญจะป้อนกลับข้อคิดเห็นเกี่ยวกับข่าวเข้าสู่เครื่อง เพื่อการเรียนรู้ข่าวที่เพิ่มขึ้นซึ่งเป็นการพัฒนาความสามารถในการตรวจสอบข่าวที่ถูกต้องและแม่นยำขึ้นตามจำนวนการตรวจสอบที่เพิ่มมากขึ้นจากผู้ใช้งาน รวมทั้งการเรียนรู้ปรับกฎด้วยตัวเครื่องเองจากการสืบค้นข่าวและเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
การแสดงผลตรวจสอบจะแสดงความเป็นไปได้ว่าเป็นข่าวจริงหรือปลอม พร้อมทั้งเสนอสรุปเนื้อหาที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม เพื่อให้ผู้ใช้งานได้นำมาพิจารณาประกอบการตัดสินใจด้วยตนเอง และยังเสนอข่าวที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่ตรวจสอบที่ผู้ใช้งานสามารถกดเข้าไปอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้อีก ผู้ใช้งานจะมีข้อมูลมากเพียงพอที่จะพิจารณาว่าควรจะเชื่อหรือส่งต่อข่าวนั้นหรือไม่ นอกจากนี้ยังมีเมนูใช้งานเพิ่มเติม คือ เมนูข่าวที่มีการพิสูจน์แล้วว่าเป็นข่าวปลอม ซึ่งได้รวบรวมข่าวที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นข่าวปลอมเพื่อให้ผู้ใช้สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ และยังมีเมนูข่าวที่ผู้ใช้งานตรวจสอบล่าสุดซึ่งจะแสดงประวัติการตรวจสอบข่าวที่ผู้ใช้งานตรวจสอบแล้วอีกด้วย
การใช้งานดังกล่าวจะสามารถกระตุ้นให้ประชาชนมีวิจารณญาณในการเปิดรับข่าวสารที่มีทั้งจริงและเท็จ ฉุกคิดเมื่อได้อ่านข่าว และหากสงสัยข่าวใดก็จะสามารถนำข้อความข่าวมาตรวจสอบได้ง่ายสะดวก เป็นการตรวจสอบข่าวก่อนจะส่งต่อ ซึ่งจะช่วยชะลอหรือลดการแพร่กระจายของข่าวปลอม ช่วยลดผลกระทบความเสียหายจากการแพร่กระจายและส่งต่อข่าวปลอมในวงกว้าง นอกจากนี้เครื่องมือตรวจสอบข่าว “ไทยดีไอแมชีน” ยังนำไปสู่การสร้างพฤติกรรมการตรวจสอบข่าวบนสื่อออนไลน์ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการแก้ปัญหาข่าวปลอม
รศ. ดร.พนม อธิบายเพิ่มเติมว่า “คณะวิจัยเริ่มต้นทำงานจากแนวคิดเบื้องต้นที่จะสร้างเครื่องมือตรวจสอบข่าวปลอมด้วยเทคโนโลยีการวิเคราะห์คำและลักษณะของข่าวปลอม การวิจัยจึงเริ่มจากการวิเคราะห์คำ ภาษา และลักษณะขอบข่าวปลอม และการสำรวจการตอบสนอบต่อข่าวปลอมของประชาชน นำมาพัฒนาเป็น “ไทยดีไอแมชีน” ซึ่งมีความสามารถวิเคราะห์ข่าวปลอมได้ในระดับที่นำมาใช้งานได้ อย่างไรก็ตามความแม่นยำจะเพิ่มมากขึ้นจากที่คณะวิจัยจะปรับกฎวิเคราะห์ให้แม่นยำขึ้น ประกอบกับจำนวนผู้ใช้งานตรวจสอบข่าวที่เพิ่มมากขึ้น จะส่งผลให้เครื่องได้เรียนรู้ด้วยตนเองมากขึ้นจนมีความฉลาดขึ้น ผลการตรวจสอบจะแม่นยำขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถขยายผลไปสู่การเป็นส่วนเพิ่มขยายสำหรับเว็บไซต์หรือโปรแกรมสืบค้นสารสนเทศอื่น ๆ ที่จะเพิ่มเติมคำแนะนำผลการสืบค้นที่น่าเชื่อถือ”
สำหรับทิศทางการพัฒนางานวิจัยต่อไป ในฐานะนักวิจัย รศ. ดร.พนม กล่าวว่า “การวิจัยต่อไปจะมุ่งพัฒนาให้เครื่องเรียนรู้ (Learn) จนมีความแม่นยำขึ้น ด้วยการพัฒนาระบบการตรวจสอบให้แม่นยำและก้าวทันกับการเปลี่ยนแปลงของข่าวปลอม และพัฒนาความสามารถขั้นต่อไปสู่เครื่องที่มีความเข้าใจ (Understanding) ข่าวปลอมมากขึ้น สามารถคิด วิเคราะห์ เข้าใจบริบทของข่าวปลอมได้เช่นเดียวกับผู้เชี่ยวชาญคนหนึ่ง”
“ไทยดีไอแมชีน” เป็นผลงานความร่วมมือด้านวิจัยของหน่วยปฏิบัติการวิจัยและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านความรอบรู้ทางดิจิทัลและการรู้เท่าทันสื่อ (DIRU) คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับนักวิจัยจากคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมดิจิทัล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ โดยการสนับสนุนเงินทุนวิจัยจากกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ตามยุทธศาสตร์การรับมือกับข่าวปลอม การสนับสนุนจากภาคีเครือข่ายด้านฐานข้อมูลและเครือข่ายด้านวิชาการ ได้แก่ สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์ คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อาจารย์และนิสิตสถาปัตย์ จุฬาฯ ร่วม Workshop กับอาจารย์และนักศึกษา Tokyo Metropolitan University ที่ญี่ปุ่น
อาจารย์และนิสิตภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วม Workshop กับอาจารย์และนักศึกษาจาก Faculty of Urban Environmental Sciences, Tokyo Metropolitan University ประเทศญี่ปุ่น (TMU)
จุฬาฯ ร่วมพิธีวางพวงมาลาถวายสักการะและจัดพิธีบำเพ็ญกุศลอุทิศถวายพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรเนื่องใน “วันนวมินทรมหาราช”
ละครนิเทศจุฬาฯ 2567 “ด้ายแดงเป็นเหตุ Unfortunate Love”
24 - 26 มกราคม 2568
ณ โรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศ ชั้น 7 อาคารสยามสแควร์
จุฬาฯ ต้อนรับคณะศึกษาดูงานด้านการบริหารความเสี่ยงจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แบ่งปันประสบการณ์การพัฒนาระบบบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัย
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ จัดอบรมเรื่อง “กัญชาทางการแพทย์: ความรู้ที่ต้องมีสำหรับเภสัชกรยุคใหม่”
11 ธ.ค. 67 เวลา 09.00 – 12.15 น.
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ และ Zoom
คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดอบรมโครงการ “Next-Gen Arts: พัฒนาศักยภาพครูศิลปะด้วย Soft Power”
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้