รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
4 เมษายน 2564
ข่าวเด่น, งานวิจัยและนวัตกรรม, ปฏิทินกิจกรรม
9 เม.ย 64 เวลา 10.00 – 12.00 น.
Facebook Live
กลุ่มภารกิจสังคมสัมพันธ์ ศูนย์สื่อสารองค์กร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอเชิญผู้สนใจ เข้าร่วมงานเสวนา CHULA the Impact ครั้งที่ 4 เรื่อง “นวัตกรรมอวัยวะเทียมระดับโลกฝีมือคนไทย” ร่วมพูดคุยในประเด็นเกี่ยวกับความสำคัญของการสร้างนวัตกรรมอวัยวะเทียมทั้งมิติด้านการแพทย์ สังคม และโอกาสทางธุรกิจ พร้อมติดตามความคืบหน้าของนวัตกรรมอวัยวะเทียมระดับโลกที่ดำเนินงานโดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บุคลากรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและเครือข่ายในปัจจุบัน
วิทยากรในการเสวนาประกอบด้วย
ผศ.ดร.เชษฐา พันธ์เครือบุตร จากภาควิชาวิศวกรรมโลหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท Meticuly ที่จะมาพูดถึงกระบวนการการผลิตกระดูกเทียมที่มีความแข็งแรง ออกแบบด้วยความแม่นยำสูง เพื่อให้เข้ากับความต้องการที่เฉพาะเจาะจงของคนไข้ อันช่วยยกระดับนวัตกรรมทางการแพทย์ของไทยให้สามารถแข่งขันกับนานาชาติได้อย่างทัดเทียม
ผศ.ดร.ไพรัช ตั้งพรประเสริฐ จากภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวถึงที่มาของนวัตกรรมเบ้าสะโพกเทียมที่ทางภาควิชาได้พัฒนาขึ้น ความน่าสนใจประโยชน์และคุณค่ากับสังคม และการพัฒนาต่อยอดในอนาคต
อ.นพ.ชินดนัย หงสประภาส จากภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กล่าวถึงนวัตกรรมชิ้นส่วนทดแทนกระดูก ที่มีความจำเป็นอย่างมากในการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งกระดูก ซึ่งทางภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้มีการนำมาใช้ในการรักษาผู้ป่วย และได้ผลเป็นที่น่าพึงพอใจ
ดำเนินรายการโดย อ.ดร.วีระพงษ์ ประสงค์จีน อาจารย์พิเศษ ศูนย์การศึกษาทั่วไป จุฬาฯ
CHULA the Impact ครั้งที่ 4 เรื่อง “นวัตกรรมอวัยวะเทียมระดับโลกฝีมือคนไทย” จะจัดขึ้นในรูปแบบออนไลน์ ผ่านทาง Facebook Live ที่ www.facebook.com/ChulalongkornUniversity วันศุกร์ที่ 9 เมษายน 2564 เวลา 10.00 – 12.00 น. ณ ห้อง 111 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์สื่อสารองค์กร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โทร. 0-2218-3364-5
คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับภาคีเครือข่ายจัดงาน “Laฬ Square มหกรรมกฎหมาย เครือข่ายนิติจุฬาฯ สู่สังคม” ยกกฎหมายมาไว้กลางสยาม ให้บริการวิชาการแก่สังคมและประชาชน
จุฬาฯ จับมือบริษัท ธิงค์ อาร์ เค จำกัด เปิดตัวโครงการ Chula X VendWeGo® นำเทคโนโลยีดิจิทัลครบวงจรผสานกับปัญญาประดิษฐ์ผ่านจอ VendWeGo® เชื่อมโยงพื้นที่สยามสแควร์ สามย่าน สวนหลวง พื้นที่ต้นแบบนวัตกรรมดิจิทัลสู่อนาคตเมืองอัจฉริยะ
พิธีเปิด-ปิดการแข่งขันกีฬาบุคลากรจุฬาฯ ครั้งที่ 45 ประจำปี 2568 ยิ่งใหญ่ ประทับใจ รวมพลังชาวจุฬาฯ ร่วมกิจกรรมกีฬาเพื่อสุขภาพ
นายกสภาจุฬาฯ เป็นประธานในพิธีจุดไฟฤกษ์ พิธีเปิด-ปิดกีฬาบุคลากรจุฬาฯ ครั้งที่ 45 ประจำปี 2568 ณ ลานพระบรมราชานุสาวรีย์สองรัชกาล
เชิญชวนชาวจุฬาฯ ร่วมพิธีเปิด-ปิดการแข่งขันกีฬาภายในของบุคลากรจุฬาฯ 14 มี.ค. 2568 ณ สนามกีฬาจุฬาฯ
14 มีนาคม 2568
ณ สนามกีฬาจุฬาฯ
รวมพลังสีชมพูจุฬาฯ กลับบ้านสู่ร่มจามจุรี ในงานคืนเหย้า “108 ปี จามจุรีประดับใจ”
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้