ข่าวสารจุฬาฯ

จุฬาฯ จับมือเครือข่าย ฟู้ด ฟอร์ ไฟเตอร์ เปิด “ศูนย์ข้าวเพื่อหมอ” “รับจากส่วนที่เกิน – เติมเต็มและส่งต่อส่วนที่ขาด”

เมื่อวันศุกร์ที่ 7 พฤษภาคม 2564 สมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ (สนจ.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับมูลนิธิคุวานันท์ บริษัท เวิลด์ รีวอร์ด โซลูชั่น จำกัด และโครงการ ฟู้ด ฟอร์ ไฟเตอร์ เปิดตัว“ศูนย์ข้าวเพื่อหมอ” ที่สมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ เป็นศูนย์กลางรับบริจาคและกระจายวัตถุดิบ อาหารกล่อง และสิ่งของที่จำเป็น เพื่อช่วยเหลือโรงพยาบาลสนาม ชุมชนแออัด และกลุ่มพื้นที่เปราะบางในเขตกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่วันที่ 7 พฤษภาคมเป็นต้นไป เร่งระดมเครือข่าย สนจ. ผนึกกำลังเชื่อมต่อกระจายทรัพยากรอย่างรู้คุณค่าไปยังแพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ ตลอดจนผู้ที่เข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลสนาม และผู้ที่กักตัวในชุมชนแออัด ภายใต้แนวคิด “รับจากส่วนที่เกิน – เติมเต็มและส่งต่อส่วนที่ขาด”

คุณมกร พงษ์ธนพฤกษ์

คุณมกร พงษ์ธนพฤกษ์ เลขาธิการสมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ เปิดเผยว่า “การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในกรุงเทพฯ ทวีความรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่คลองเตยและชุมชนโดยรอบที่มีผู้อยู่อาศัยไม่น้อยกว่า 80,000-100,000 คน จุฬาฯ และ สนจ.ได้เฝ้าติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เมื่อได้รับการประสานจากเครือข่ายฟู้ด ฟอร์ ไฟเตอร์ ที่พร้อมระดมเครือข่ายพันธมิตรเข้ามาช่วยเหลือ จึงได้เปิด “ศูนย์ข้าวเพื่อหมอ” ขึ้นในพื้นที่ของสมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ เพื่อเป็นศูนย์กลางรับบริจาคสิ่งของและกระจายวัตถุดิบ อาหารกล่อง และสิ่งของที่จำเป็นเพื่อแบ่งเบาภาระของหมอ พยาบาล บุคลากรทางการแพทย์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และเร่งบรรเทาทุกข์ของพี่น้องคลองเตยที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 โดย สนจ.จะเร่งระดมสรรพกำลังจากเครือข่ายนิสิตเก่าจุฬาฯ เข้ามาร่วมกันกู้วิกฤตครั้งนี้อย่างเต็มความสามารถ”

ผศ.ดร.ปารีณา ศรีวนิชย์

ผศ.ดร.ปารีณา ศรีวนิชย์ คณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ เปิดเผยว่า ทางคณะมี“ศูนย์กฎหมายเพื่อประชาชน” ที่คอยช่วยเหลือผู้ที่ได้รับความไม่เป็นธรรมในสังคม เมื่อเกิดวิกฤตโควิด-19 เราจึงระดมนิสิตเก่าเปิดโครงการ LawChula เดินหน้าร่วมบรรเทาทุกข์ปัญหากฎหมาย ทำให้ได้เห็นปัญหาของคนไทยที่ต้องเผชิญอยู่รายล้อมรอบด้าน นอกจากต้องตกงาน ขาดรายได้แล้ว ยังกังวลเรื่องชีวิตความเป็นอยู่ ทั้งสถานที่แยกกักตัว และอาหารการกินเพื่อยังชีพ จึงได้ช่วยประสานงานกับผู้ก่อตั้งเครือข่ายฟู้ด ฟอร์ ไฟเตอร์ ซึ่งเป็นนิสิตเก่านิติศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับ สนจ. เพื่อต่อยอดการช่วยเหลือประชาชนต่อไป” การเปิด “ศูนย์ข้าวเพื่อหมอ” ที่ สนจ. วันแรก มีผู้มีจิตศรัทธาทยอยนำข้าวสาร อาหารแห้ง น้ำดื่ม นม อาหารกล่องปรุงสุกจากเครือข่ายฟู้ด ฟอร์ ไฟเตอร์ ตลอดจนกล่องใส่อาหาร และน้ำยาล้างมือมาบริจาคจำนวนมาก

คุณพันชนะ วัฒนเสถียร

คุณพันชนะ วัฒนเสถียร ผู้ก่อตั้งโครงการฟู้ด ฟอร์ ไฟเตอร์ กล่าวว่า “ตลอดปีที่ผ่านมา เรามีเครือข่ายอาสาสมัครของโครงการอยู่ในแต่ละจังหวัด พร้อมเป็นสื่อกลางรับอาหารและสิ่งของอุปโภค เพื่อนำมากระจายให้ทั่วถึงอย่างเป็นระบบ สามารถส่งต่อให้ถึงมือผู้ต้องการความช่วยเหลือทั้งโรงพยาบาล หน่วยงานภาครัฐ เอกชน องค์กรสาธารณกุศลในแต่ละท้องที่ได้อย่างรวดเร็ว เมื่อมีการตั้งโรงพยาบาลสนาม รวมทั้งมีการดูแลชุมชนแออัดหลายแห่ง เราจึงนำแนวคิดเดียวนี้มาใช้ที่ “ศูนย์ข้าวเพื่อหมอ” ณ สมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางรับบริจาค ขนถ่าย กระจายอาหารและสิ่งของที่จำเป็น เร่งกู้สถานการณ์ให้คลี่คลายเร็วที่สุด ซึ่งตลอดทั้งวันได้รับธารน้ำใจจากองค์กรภาคีเครือข่ายส่งวัตถุดิบเพื่อจัดทำอาหารกล่องและถุงยังชีพเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะทยอยลำเลียงส่งต่อไปยังหลายพื้นที่ อาทิ ชุมชนคลองเตย ชุมชนบ่อนไก่ ชุมชนสวนแก้ว (ทางรถไฟสายเก่า) เป็นต้น”

ผู้มีจิตศรัทธาสามารถนำสิ่งของมาบริจาคได้ที่สมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.00 – 17.00 น. เปิดรับบริจาคอุปกรณ์ทางการแพทย์แบบใช้สิ้นเปลือง เช่น หน้ากากอนามัย ชุด PPE แบบใช้ได้ 20 ครั้ง เจลแอลกอฮอล์ Face Shield อุปกรณ์ทางการแพทย์แบบใช้งานสำหรับโรงพยาบาลและบ้าน (สำหรับผู้ที่ต้องกักตัวหรือผู้ป่วยที่ต้องอยู่ที่บ้าน) เช่น เครื่องช่วยหายใจ เครื่องวัดความดัน ปรอทวัดไข้ ฯลฯ อาหารสดเพื่อนำมาปรุงอาหาร อาหารแห้ง บรรจุภัณฑ์สำหรับทำอาหารกล่อง รถขนส่งอาหารกล่อง นอกจากนี้ยังรับบริจาครถขนส่งสิ่งของ รถขนส่งผู้ป่วย ฯลฯ รวมทั้งยังสามารถบริจาคเงินสดเข้าบัญชีมูลนิธิคุวานันท์ ธนาคารไทยพาณิชย์ 729-233242-7 (ส่งสลิปมาที่ Call Center 02-016-9910 ใบเสร็จสามารถหักลดหย่อนภาษีได้)

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า