ข่าวสารจุฬาฯ

สมาคมพัฒนาสถานรับเลี้ยงเด็กไทยรับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ที่ศูนย์ให้บริการฉีดวัคซีน จุฬาฯ

สมาคมพัฒนาสถานรับเลี้ยงเด็กไทย นำเจ้าหน้าที่ของสมาคมฯ จำนวน 239 คนเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ที่ศูนย์
ให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ ชั้น 4 อาคารจามจุรีสแควร์ เมื่อวันศุกร์ที่ 21 พฤษภาคม 2564 เพื่อเตรียมพร้อมแก่บุคลากรที่ทำหน้าที่ดูแลเด็กช่วงวัย 0 – 6 ปีให้กลับมาสู่สภาพปกติ ลดผลกระทบต่อเด็กและครอบครัว ตลอดจนสร้างความมั่นใจให้ผู้ปกครองว่าลูกหลานจะได้รับการดูแลอย่างปลอดภัย

ศ.นพ.ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล รองอธิการบดีจุฬาฯ และประธานกรรมการอํานวยการศูนย์ให้บริการฉีด
วัคซีนป้องกันโควิด-19 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเปิดเผยว่า “สถานรับเลี้ยงเด็กเอกชน เป็นสถานที่ที่มีเด็กอายุตั้งแต่ 0 – 6
ปี โดยต้องอยู่รวมกลุ่มเพื่อเรียนรู้และทํากิจกรรมร่วมกัน ซึ่งเด็กกลุ่มนี้ยังไม่สามารถรับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ได้ ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยและลดความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโควิด-19 บุคลากรที่อยู่ในสถานรับเลี้ยงเด็กถือเป็นด่านหน้าที่มีความจําเป็นต้องเร่งฉีดวัคซีนโควิด-19
โดยเร็ว เพื่อลดการแพร่เชื้อที่อาจเกิดจากบุคลากรที่ปฏิบัติงาน

นายไพรัตน์ อุดมไพรพฤกษ์ นายกสมาคมพัฒนาสถานรับเลี้ยงเด็กไทย กล่าวว่า “ จากการติดตามข้อมูลที่ผ่านมาพบว่าในช่วงที่สถานรับเลี้ยงเด็กและโรงเรียนปิดทําให้เกิดการติดเชื้อในเด็กมีมากขึ้น การฉีดวัคซีน
ให้กับบุคลากรสถานรับเลี้ยงเด็กถือเป็นกลไกสําคัญที่จะเพิ่มความปลอดภัย และสร้างความสบายใจให้กับผู้ปกครองที่ต้องการฝากลูกหลานระหว่างที่ต้องทํางาน
ทำให้เด็กเกิดการพัฒนาทักษะและมีพัฒนาการที่สมวัย ตลอดจนช่วยลดความเสี่ยงและอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับเด็ก สมาคมฯขอขอบคุณจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาเป็นอย่างยิ่งที่เห็นความสําคัญของการป้องกันการติดเชื้อในสถานรับเลี้ยงเด็ก และให้ความอนุเคราะห์ในการฉีดวัคซีนโควิด-19 แก่บุคลากรของสมาคมฯ อย่างรวดเร็ว”

ศูนย์บริการฉีดวัคซีนของจุฬาฯ ให้บริการฉีดวัคซีนโดย ยึดหลักการสำคัญ “3 ป” คือ “ปลอดภัย ปูพรม ประสิทธิภาพ”
    ปูพรม – ฉีดวัคซีนให้มากที่สุด กลุ่มเป้าหมายผู้รับบริการเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อสูง ได้แก่ ครู อาจารย์ บุคลากรทางการศึกษาในเขตปทุมวัน สาทร บางรัก และกลุ่มผู้ให้บริการสาธารณะ เช่น พนักงาน ขสมก. ฯลฯ นอกจากนี้ยังให้บริการฉีดวัคซีนแก่คณาจารย์และบุคลากรจุฬาฯ 
    ปลอดภัย – ให้วัคซีนที่ได้มาตรฐาน ปลอดภัย ลดความเสี่ยง ดำเนินการโดยทีมแพทย์ พยาบาล เภสัชกรที่เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย มีการเตรียมระบบให้วัคซีนที่ปลอดภัย ครบถ้วนในทุกขั้นตอน จนถึงการดูแลและสังเกตอาการ
    ประสิทธิภาพ – กระบวนการรับวัคซีน มีการนำเทคโนโลยีจากนวัตกรรมของคนไทย เช่น แอปพลิเคชัน “เป็ดไทยสู้ภัย” และ QueQ เข้ามาใช้ในการจองคิวล่วงหน้า เพื่อเพิ่มความสะดวกรวดเร็ว มีประสิทธิภาพในการให้บริการ นอกจากนี้ยังมีการออกแบบระบบที่เชื่อมโยงข้อมูลกับระบบสาธารณสุขของประเทศผ่านกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข โดยมีระบบการลงทะเบียนเป็นกลุ่ม (Group Registration) เพิ่มศักยภาพในการฉีดวัคซีนได้เป็นจำนวนมาก และเข้าถึงประชาชนได้อย่างรวดเร็ว  

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า