ข่าวสารจุฬาฯ

จุฬาฯ ตอกย้ำขึ้น Top 100 ของโลกด้านชื่อเสียงทางวิชาการติดต่อกันเป็นปีที่ 2 จาก QS World University Rankings 2022

ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดของโลก QS World University Rankings 2022 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับยกย่องเป็น 1 ใน 100 มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงด้านวิชาการ (Academic Reputation) ติดต่อกันเป็นปีที่ 2 โดยอยู่ในอันดับที่ 96 ของโลกเช่นเดียวกับปีที่แล้ว  ซึ่งถือว่าเป็นอันดับที่ดีที่สุดของมหาวิทยาลัยในประเทศไทยอีกครั้งหนึ่ง นับเป็นความภาคภูมิใจของมหาวิทยาลัยไทยที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ ทั้งนี้จุฬาฯ ยังครองอันดับ 1 มหาวิทยาลัยไทยเป็นปีที่ 13 ติดต่อกัน (ตั้งแต่ปี 2009) และติดอันดับ 215 มหาวิทยาลัยระดับโลก

            QS World University Rankings 2022  จัดโดย QS Quacquarelli Symonds สถาบันจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ ซึ่งรายงานผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2564 ในปีนี้มีสถาบันอุดมศึกษาร่วมการจัดอันดับ 1,751 แห่งจากทั่วโลก เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วถึง 147 แห่ง

            ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยในปีนี้ จุฬาฯ ยังคงครองอันดับ 1 ของประเทศไทย ในด้านความมีชื่อเสียงด้านวิชาการ ซึ่งเป็นตัวชี้วัดที่มีค่าน้ำหนักการให้คะแนนมากที่สุด สะท้อนถึงความเชื่อมั่นที่มีต่อจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยผ่านการแสดงความคิดเห็นจากตัวแทนนักวิชาการ ผู้ประกอบการ และสถาบันการศึกษากว่า 100,000 คนทั่วโลก

            นอกจากนี้ ในด้านการเป็นที่ยอมรับจากนายจ้าง (Employer Reputation) จุฬาฯ อยู่ในอันดับ 101 ของโลก ซึ่งดีขึ้นจากปีที่แล้วที่อยู่ในอันดับ 125 เช่นเดียวกับในด้านสัดส่วนของอาจารย์       ต่อนิสิต (Faculty Student) และสัดส่วนของนิสิตชาวต่างชาติ (International Student) จุฬาฯ ได้คะแนนในปีนี้สูงขึ้นเช่นกัน

            ผลการจัดอันดับครั้งนี้สะท้อนภาพความสำเร็จของการพัฒนานวัตกรรมกรรมที่หลากหลายเพื่อดูแลสังคมของจุฬาฯ หรือ Innovations for Society ทำให้ได้รับการยอมรับอย่างยิ่งทั้งในแวดวงวิชาการและอุตสาหกรรมในระดับนานาชาติ

            การจัดอันดับ QS World University Rankings 2022 พิจารณาจากตัวชี้วัด 6 ด้านที่มีการคำนวณค่าน้ำหนักที่แตกต่างกัน ประกอบด้วยความมีชื่อเสียงด้านวิชาการ (40%) การเป็นที่ยอมรับจากนายจ้าง (10%) สัดส่วนของอาจารย์ต่อนิสิต (20%) ผลงานวิชาการต่ออาจารย์ (20%) สัดส่วนของอาจารย์ชาวต่างชาติ (5%) และสัดส่วนของนิสิตชาวต่างชาติ (5%)

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า