ข่าวสารจุฬาฯ

จุฬาฯ เปิดตัว “รถดมไว” ใช้สุนัขดมกลิ่นคัดกรองผู้ป่วยติดเชื้อ COVID-19

คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับบริษัทเชฟรอนประเทศไทย สํารวจและผลิต จํากัด และบริษัทพีคิวเอ แอสโซซิเอส จํากัด จัดงานเปิดตัว “รถดมไว เพื่อนําสุนัข ดมกลิ่นคัดกรอง COVID-19 ออกปฏิบัติงานภาคสนาม” เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 17 มิถุนายน 2564 ณ อาคาร 3 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ โดยมี ศ.น.สพ.ดร.รุ่งโรจน์ ธนาวงษ์นุเวช คณบดีคณะ สัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ศ.ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ศ.นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ศ.ดร.พลกฤษณ์ แสงวณิช คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมเป็นเกียรติในงาน


งานเปิดตัวในครั้งนี้เริ่มด้วยการชมการตรวจคัดกรองตัวอย่างเหงื่อมีการโดยสุนัขลาบราดอร์ รีทรีฟเวอร์ที่ได้รับการฝึกดมกลิ่นผู้ติดเชื้อ COVID-19 บน ”รถดมไว” ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการชีวนิรภัยเคลื่อนที่สำหรับการปฏิบัติงานของสุนัขคันแรกของประเทศไทย จากนั้นมีการรายงานผลการดำเนินงานของโครงการ ณ ห้องประชุม 213 อาคาร 3 คณะวิศวกรรมศาสตร์ โดยมี ศ.สพ.ญ.ดร.เกวลี ฉัตรดรงค์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม คณะสัตวแพทยศาสตร์ กล่าวรายงาน รศ.ดร.ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย รองอธิการบดี ด้านการวางแผนและกำหนดยุทธศาสตร์ นวัตกรรมและพันธกิจสากล กล่าวถึงยุทธศาสตร์จุฬาฯ ในการสร้างสรรค์งานนวัตกรรม คุณอาทิตย์ กริชพิพรรธ ผู้จัดการใหญ่ฝ่ายสนับสนุนธุรกิจ บริษัทเชฟรอนประเทศไทย สำรวจและผลิต จำกัด กล่าวถึงความพร้อมในการร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐในการนำสุนัขพร้อมด้วยรถดมไวไปใช้คัดกรองผู้ติดเชื้อในแหล่งชุมชน นพ.วิชาญ ปาวัน ผู้อำนวยการสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง กรมควบคุมโรค กล่าวถึงบทบาทของกรมควบคุมโรคในการรับมือกับวิกฤต COVID-19 จากนั้น ผศ.ดร.จุฑามาศ รัตนวราภรณ์ ประธานหลักสูตรวิศวกรรมชีวเวช คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ อธิบายคุณสมบัติของรถดมไว และกล่าวปิดงานโดย ศ.ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ


ศ.สพ.ญ.ดร.เกวลี ฉัตรดรงค์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เปิดเผยว่า โครงการสุนัขดมกลิ่นคัดกรองผู้ป่วยติดเชื้อ COVID-19 เริ่มขึ้นตั้งแต่เดือนกันยายน 2563 โดยมีบริษัท เชฟรอนฯ เป็นผู้สนับสนุนทุนวิจัย และบริษัท พีคิวเอ แอสโซซิเอท จำกัด เป็นที่ปรึกษาด้านการฝึกสุนัข สามารถดึงศักยภาพของสุนัขให้สามารถดมกลิ่นได้แม่นยำถึง 96% จึงมีการลงพื้นที่ เริ่มจากหน่วยงานเล็กๆ เพื่อปรับตัวและปรับวิธีการเก็บตัวอย่าง หลังจากนั้นคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้นำสุนัขดมกลิ่นให้บริการตรวจโควิด-19 แก่บุคลากรจุฬาฯ การพัฒนา “รถดมไว” ในครั้งนี้เป็นการตอบสนองความสำคัญของการตรวจคัดกรองเชิงรุก ซึ่งเหงื่อของผู้ติดเชื้อ COVID-19 จะส่งกลิ่นที่สุนัขสามารถรับรู้ได้ หากสุนัขดมกลิ่นเหงื่อแล้วพบว่าผลของตัวอย่างเป็นบวก สุนัขจะนั่งลง ขั้นตอนการตรวจจะเป็นไปอย่างรวดเร็ว สามารถตรวจได้มากถึงรอบละ 12 ตัวอย่าง ถือเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการตรวจคัดกรองผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในพื้นที่ต่างๆ


ผศ.ดร.จุฑามาศ รัตนวราภรณ์ ประธานหลักสูตรวิศวกรรมชีวเวช คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ผู้ออกแบบ”รถดมไว” เปิดเผยว่า การออกแบบรถคำนึงถึงความปลอดภัยทั้งกับสุนัขและผู้ปฏิบัติงาน ตามมาตรฐานแพทย์และมาตรฐานกรมควบคุมโรค มีแท่นตรวจคัดกรองที่สร้างในระดับที่พอดีกับสุนัข พื้นที่ในรถแบ่งออกเป็น 4 ห้อง เหมาะกับการใช้งาน


นพ.วิชาญ ปาวัน ผู้อํานวยการสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง กรมควบคุมโรค กล่าวขอบคุณจุฬาฯ ที่คิดค้นและพัฒนานวัตกรรมต่างๆ เพื่อช่วยเหลือสังคมและกรมควบคุมโรคเสมอมา รถดมไวเป็นนวัตกรรมที่สามารถนำมาช่วยตรวจคัดกรองผู้ติดเชื้อโควิด-19 ได้


คุณอาทิตย์ กริชพิพรรธ ผู้จัดการใหญ่ฝ่ายสนับสนุนธุรกิจ บริษัท เชฟรอนประเทศไทย สํารวจและผลิต จํากัด กล่าวถึงวิสัยทัศน์ของบริษัทเชฟรอนฯ ที่มีความพร้อมและความตั้งใจที่จะช่วยแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของ COVID-19 ความร่วมมือกับจุฬาฯ เป็นการตอบโจทย์และขยายผลการทำงานโดยให้สุนัขลงพื้นที่ปฏิบัติงาน


“รถดมไว” มีห้องปฏิบัติการเคลื่อนที่ อุปกรณ์การดมและอุปกรณ์ฆ่าเชื้อต่างๆ เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานร่วมกับกรมควบคุมโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีพื้นที่ใช้สอย 16.8 ตารางเมตร (7×2.4 เมตร) ภายในแบ่งเป็น 4 ห้อง ได้แก่ ห้องเอนกประสงค์ ห้องพักสุนัขสำหรับให้สุนัขพักในช่วงเวลาที่ไม่ได้ปฏิบัติงาน ห้องเตรียมตัวอย่างสำหรับรับตัวอย่างที่เก็บจากภายนอกเข้ามาเตรียมเปลี่ยนถ่ายภาชนะ ห้องปฏิบัติงานสำหรับให้สุนัขดมกลิ่นตรวจหาเชื้อโควิด-19 จากตัวอย่างที่วางบนแท่นวางตัวอย่าง จุดเด่นและความพิเศษของ “รถดมไว” ถูกออกแบบเพื่อการปฏิบัติงานที่ปลอดภัยและลงตัว มีเครื่องปรับอากาศให้ความเย็นแก่สุนัข นอกจากนี้ยังคำนึงถึงความปลอดภัยของทั้งเจ้าหน้าที่และสุนัขที่ปฏิบัติงานบนรถ

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า