รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
8 กรกฎาคม 2564
ข่าวเด่น, งานวิจัยและนวัตกรรม
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ที่ยังคงพุ่งสูงขึ้นต่อเนื่องจากคลัสเตอร์ใหม่ในพื้นที่สีแดงเข้มหลายแห่งในหลายจังหวัดทั่วประเทศ คณะนักวิจัยนำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.สัญชัย พยุงภร ภาควิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงเร่งพัฒนานวัตกรรมชุดตรวจคัดกรองโรคโควิด-19 “COVID-19 SCAN” ที่ใช้สะดวก รวดเร็ว ราคาไม่แพง ประสิทธิภาพความแม่นยำใกล้เคียงมาตรฐานกระทรวงสาธารณสุข (Real-time PCR)
“สำหรับคนที่กังวลว่าตนอาจเสี่ยงติดโควิด-19 ถ้าเข้าโรงพยาบาล และขอตรวจแล้วแต่เขาไม่รับตรวจเนื่องจากไม่เข้าข่ายผู้มีความเสี่ยงสูงและไม่มีอาการร่วม คนกลุ่มนี้อาจเลือกใช้ชุดตรวจ COVID-19 SCAN ซึ่งตรวจได้ครอบคลุมและรวดเร็ว ทีมวิจัยจุฬาฯ ตั้งใจสร้างชุดตรวจนี้ขึ้นเพื่อบริการประชาชนทั่วไปให้เข้าถึงการตรวจได้สะดวกที่สุด” รศ.ดร.สัญชัย กล่าว
คุณสมบัติเด่นของนวัตกรรมชุดตรวจคัดกรองโรคโควิด-19 COVID-19 SCAN เป็นการตรวจทางอณูชีววิทยา (Molecular Test) แบบเดียวกับ Real-time PCR ซึ่งใช้ตรวจได้ทั้งสิ่งส่งตรวจตัวอย่างจากระบบทางเดินหายใจ (Throat swab) และตัวอย่างน้ำลาย ซึ่งการใช้ตัวอย่างน้ำลายมีข้อดีคือเก็บตัวอย่างสะดวกและตรวจพบเชื้อได้สูงภายใน 11 วันแรกที่มีอาการ ทั้งยังไม่ระคายเคือง (จากการเก็บตัวอย่าง) กว่าการ Swab จึงทำให้ตรวจได้บ่อยเท่าที่ต้องการ ระยะเวลาการตรวจใช้เวลาราว 90 นาที – 2 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับปริมาณตัวอย่าง
ชุดตรวจคัดกรองโรคโควิด-19 COVID-19 SCAN จะตรวจโดยใช้กระบวนการสกัดสารพันธุกรรมและการเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมภายใต้อุณหภูมิเดียว จากนั้นจึงตรวจหาสารพันธุกรรมจำเพาะด้วยระบบ CRISPR-Cas12a หากพบสารพันธุกรรมของเชื้อโควิด-19 เป็นผลบวก จะเกิดการเรืองแสงขึ้นภายใต้เครื่องกำเนิดแสงสีฟ้า (Blue light transilluminator)
ประสิทธิภาพของ COVID-19 SCAN ในการวินิจฉัยทางคลินิกมีความจำเพาะ 100% ความไว 96.23% และความแม่นยำ 98.78% โดยใช้เครื่องมือไม่ซับซ้อนและใช้พื้นที่เก็บผลตรวจน้อย เหมาะกับโรงพยาบาลต่างจังหวัดและคลินิกทั่วไปที่ไม่มีเครื่อง Real-time PCR ราคาสูง ขณะที่ประสิทธิผลของชุดตรวจทั้งสองได้ผลถูกต้องแม่นยำใกล้เคียงกัน เพราะฉะนั้น ชุดตรวจ COVID-19 SCAN จึงเหมาะสำหรับการออกตรวจเพื่อคัดกรองเชิงรุกนอกสถานที่อย่างเช่นในนิคมอุตสาหกรรม
อย่างไรก็ดี ชุดตรวจดังกล่าวยังไม่อาจให้คนทั่วไปใช้งานได้เอง ยังคงต้องอาศัยบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญในการตรวจ โดยมีค่าใช้จ่ายในการตรวจต่ำกว่าการตรวจด้วย Real-time PCR ประมาณ 50%
COVID-19 SCAN จึงเหมาะกับภารกิจตะลุยตรวจหาผู้ติดเชื้อโควิด-19 รวมทั้งในหน่วยงานทางการแพทย์ที่ต้องตรวจหาผู้ติดเชื้อเป็นประจำ เช่น หน่วยโรคไต ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เพื่อตรวจคัดกรองบุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วยโรคไตก่อนเข้ารับการฟอกไต (hemodialysis) รวมทั้งศูนย์วิจัยโรคเอดส์และสภากาชาดไทยโดยใช้กับอาสาสมัครผู้ติดเชื้อ HIV ที่หน่วย HIV-NAT หลังได้รับวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 เพื่อประเมินประสิทธิผลของวัคซีนในผู้ป่วย นอกจากนี้ยังใช้ประจำที่กลุ่มงานทันตกรรมเช่นที่โรงพยาบาลสันป่าตอง จ.เชียงใหม่ เพื่อตรวจบุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วยก่อนเข้ารับการรักษาทันตกรรม
ชุดตรวจคัดกรองโรคโควิด-19 “COVID-19 SCAN” ประชาชนทั่วไปไม่สามารถนำไปใช้เองได้ โรงพยาบาล หน่วยงานทางการแพทย์ หรือบริษัทที่สนใจชุดตรวจคัดกรองโรคโควิด-19 “COVID-19 SCAN” โปรดสอบถามรายละเอียดได้ที่ http://www.covidscan.tech/ หรือติดต่อ บริษัท ไมโคร อินเจคชั่น จำกัด อีเมล covid19scan@bkf.co.th ผ่านคุณสมฤดี 092-247-0019 หรือคุณมณีรัตน์ 082-299-6333
อ.ดร.นพัต จันทรวิสูตร อ.ดร.พิริยะ วงศ์คงคาเทพ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ผู้ร่วมวิจัย
โครงการสัตวแพทย์ จุฬาฯ เพื่อสัตว์ยากไร้บนเกาะเสม็ด จ.ระยอง
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ จัดโครงการอบรมครู “การพัฒนาสมรรถนะหลักและสมรรถนะเฉพาะของนักเรียนในสถานศึกษา”
11 มิ.ย. 65 เวลา 09.00 น.
Zoom
การบรรยายวิธีการโอนย้ายข้อมูลจาก Google Drive มายัง OneDrive
7 มิถุนายน 2565 เวลา 14.00 – 16.00 น.
Microsoft Teams
การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับนิสิตและบุคลากร จุฬาฯ
จุฬาฯ กับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กฎหมาย PDPA ที่นิสิตควรรู้
ความภูมิใจของบัณฑิตจุฬาฯ ในวันรับปริญญาอันน่าภาคภูมิ
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย